Active Fund เเละ Passive Fund เเตกต่างกันอย่างไร ?

Table of Contents
Active Fund เเละ Passive Fund

Active Fund VS Passive Fund เหมือนหรือต่าง ?

สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้พี่โบ้จะมาพูดถึง Active Fund เเละ Passive Fund ซึ่งหากเพื่อน ๆ เป็นคนที่สนใจเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม หรือหุ้น ก็คงจะเคยได้ยิน 2 คำนี้ผ่านหูกันมาบ้างเเล้วใช่ไหมล่ะครับ แต่ก็อาจจะมีเพื่อน ๆ บางคนที่อาจจะไม่เคยรู้จัก 2 คำนี้เลย เพราะฉะนั้น วันนี้พี่โบ้จะมาสรุปเเบบสั้น ๆ เข้าใจง่าย ๆ ให้ทุกคนฟังกันครับว่า กองทุนแบบ Active เเละกองทุนเเบบ Passive จริง ๆ แล้วมันคืออะไร เเตกต่างกันอย่างไร เเละมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ตามพี่โบ้มาเลยครับ

Active Fund หรือ กองทุนรวมเชิงรุก

จุดประสงค์ของกองทุน

กองทุนประเภทนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเอาชนะตลาด หรือดัชนีชี้วัด (Benchmark) ด้วยการหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด หรือมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงให้ต่ำกว่าตลาดครับ พูดง่าย ๆ ก็อย่างเช่น เราจะเล่นหุ้นอย่างไรให้ได้ผลตอบเเทนที่มากกว่าดัชนี Set 50 หรือ Set 100 นั่นแหละครับ ซึ่งหากยิ่งได้ผลตอบเเทนมากกว่าเท่าไร ก็จะหมายความว่าเป็นกองทุนเเบบ Active ที่ดีมากเท่านั้นนั่นเอง

ข้อดี

ข้อดีของกองทุนรวมประเภทนี้คือ เป็นกองทุนรวมที่มีการคัดเลือกหุ้นในการลงทุนด้วยโมเดลเฉพาะตัวของแต่ละกองทุน โดยปกติจะเน้นลงทุนในหุ้นที่ดีที่สุดไม่กี่ตัว เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีที่สุดครับ

ข้อเสีย

ถึงแม้จะมีข้อดี แต่หุ้นกองทุนรวมประเภทนี้ก็มีข้อเสียเช่นกันครับ ซึ่งข้อเสียก็คือ หากผู้บริหารกองทุนเลือกหุ้นผิดพลาด ผู้ที่่ขาดทุนคือ เรา ไม่ใช่กองทุน เนื่องจากกองทุนเเบบ Active จะเรียกเก็บค่าบริหารกองทุน หรือค่าธรรมเนียมกับเราค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียวครับ ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีค่าธรรมเนียมรายปีอีก เพราะต้องใช้ความสามารถของทีมผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น เพื่อทำผลตอบแทนให้ชนะตลาด 

ดังนั้น พี่โบ้ว่า กองทุนประเภทนี้เหมาะกับเพื่อน ๆ ที่สามารถยอมรับความเสี่ยง เเละความผันผวนของหุ้นเเต่ละตัวได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกลยุทธิ์ของผู้บริหารกองทุนด้วยครับ เหมือนเพื่อน ๆ ต้องฝากชีวิตไว้ที่เขา



Passive Fund หรือ กองทุนรวมเชิงรับ

จุดประสงค์ของกองทุน

มาต่อกันที่กองทุนรวมเชิงรับกันครับ กองทุนประเภทนี้ จะสร้างผลตอบแทนให้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) โดยที่ผู้บริหารกองทุนไม่ต้องทำอะไรเลยครับ เพียงเเค่ลงทุนตาม Benchmark หรือเเค่ใช้งานโปรเเกรม Robot นั่นเเหละครับ ซึ่งกองทุนประเภทนี้จะมุ่งผลตอบเเทนให้เทียบเท่าลาดมากที่สุด

ข้อดี

ข้อดีของกองทุนรวมประเภทนี้ก็คือ มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ หรือเเทบไม่คิดค่าธรรมเนียมเลยครับ ซึ่งไม่เหมือนกับกองทุนรวมเชิงรุก เนื่องจากไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรมากครับ เพียงเเค่ลงทุนในหุ้นตามตลาด มากไปกว่านั้นคือ เรายังสามารถติดตามว่า ผู้บริหารกองทุนลงทุนกับหุ้นตัวใดโดยตัวดัชนีอีกด้วยครับ

ข้อเสีย

ข้อเสียของกองทุนรวมประเภทนี้ก็คือ ค่อนข้างมีข้อจำกัดในการลงทุน เพราะกองทุนถูกออกเเบบมาให้ลงทุนลอกเลียนเเบบจากตลาดเท่านั้น ดังนั้น จะไม่มีการลงทุนในหุ้นตัวอื่นที่นอกเหนือจากนั้นครับ เเละหากในสภาวะที่ดัชนีไม่วิ่ง เราจะไม่สามารถทำกำไรจากกองทุนแบบนี้ได้เลยครับ

ดังนั้น สำหรับกองทุนประเภทนี้ พี่โบ้มองว่า เหมาะกับการลงทุนเป็นกองทุนหลักนะครับ ถึงกำไรจะไม่เทียบเท่ากับกองทุนรวมเชิงรุก เเต่อย่างน้อย เพื่อน ๆ ก็สามารถได้กำไรเทียบเท่ากับตลาด ซึ่งเป็นการเซฟตัวเองไปในตัวนั่นเองครับ


เป็นอย่างไรกันบ้างครับเพื่อน ๆ พอจะรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะครับว่าทั้ง 2 กองทุนนี้ต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ตาม พี่โบ้ขอเพิ่มเติมความรู้ให้เพื่อน ๆ อีกสักนิดนะครับ โดยทั่วไปแล้ว ในต่างประเทศ คนมักจะนิยมลงทุนในกองทุนรวมแบบ Passive มากกว่าครับ เนื่องจาก ตลาดหุ้นในต่างประเทศนั้น มีขนาดใหญ่มาก เเละมีหุ้นให้เล่นหลายตัว การลงทุนเเบบลอกเลียนแบบ ทำให้สามารถทำผลตอบเเทนในระยะยาวได้มากกว่าครับ เเต่สำหรับประเทศเรานั้น ยังถือว่าตลาดหุ้นยไม่ได้ใหญ่มาก ดังนั้น เพื่อน ๆ คงต้องลองไปตัดสินใจกันเอาเองเเล้วล่ะครับว่า จะลงทุนในกองทุนรวมแบบไหนดี แต่ถ้าให้พี่โบ้เเนะนำ พี่โบ้ว่า ลงทุนทั้ง 2 เเบบไปเลยครับ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงนั่นเองครับ


Source: SCB

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่: Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter