ย้อนรอย! วิกฤตหนี้ IMF คืออะไร? เมื่อยุคสมัยพรากชีวิตของวัยรุ่น 90’s

Table of Contents
IMF คือ

หากคุณขัดสนทางการเงินคงมองหา “สินเชื่อ” จากธนาคารสักแห่ง แต่ถ้าประเทศเกิดวิกฤตทางการเงิน ผู้นำประเทศต้องไปติดต่อ “IMF” เจ้าหนี้รายใหญ่ของโลก 😎

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อเสียงของ IMF กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนในแวดวงการลงทุนที่ต้องติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจทั่วโลก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของสินทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ตของคุณ ทำให้คุณมักจะต้องพบเจอกับรายงานเหล่านี้

“IMF คาดเศรษฐกิจโลกโตร้อยละ xxxx ต่อปี”

“IMF หั่น GDP โลกเหลือ xxxx ต่อปี”

“IMF เตือน xxxx อาจผิดนัดชำระหนี้ครั้งใหญ่”

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข่าวเหล่านี้ค่อนข้างมีผลต่อแนวโน้มการลงทุน เนื่องจากทั่วโลกต้องนำความคิดเห็นของ IMF เพื่อพิจารณาและประเมินสถานการณ์ของเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า IMF อยู่ในสถานะ “เจ้าหนี้” ของหลายประเทศ และแน่นอนว่า ประเทศไทยเราก็เคยหยิบยืม IMF มาไม่น้อยในช่วงวิกฤตทางการครั้งรุนแรงเมื่อปี 1997

. . . . . . . . . . . . . .

ยุคสมัยที่พรากชีวิตและความฝันของวัยรุ่น 90’s

. . . . . . . . . . . . . .

IMF คือใคร? เงินทุนมาจากไหน? ทำไมปล่อยกู้ให้กับประเทศได้?

บทความนี้ เราจะมาเปิดประวัติ IMF พร้อมเจาะลึกทุกประเด็นที่คุณต้องรู้ รวมถึงย้อนรอยวิกฤต IMF ครั้งรุนแรงที่ประชาชนถึงกับเอาทองมาช่วยประเทศจ่ายหนี้กันเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีประเด็นร้อนเกี่ยวกับข่าวลือ! ไทยผันตัวจาก “ลูกหนี้” มาเป็น “เจ้าหนี้” ของ IMF จริงเท็จแค่ไหน 😱

เปิดประเด็นร้อนแรง! รวมทุกเรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้ (สามารถเลือกคลิกไปยังหัวข้อที่คุณสนใจ แต่แนะนำว่า ให้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นจะเข้าใจมากกว่าครับ)

IMF คือใคร ทำไมปล่อยกู้ให้กับประเทศได้?

ในหัวข้อนี้ เราจะอธิบายก่อนว่า IMF คือใคร และมีบทบาทหน้าที่ทางเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง รวมถึงประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม IMF ในปัจจุบัน  >> Read More

ย้อนรอย! ประวัติความเป็นมา IMF กว่าจะเป็น “เจ้าหนี้ของโลก”

IMF ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1945 และเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาทางการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยเราได้สรุป Timeline สำคัญไว้ที่นี่  >> Read More

แหล่งเงินทุนใหญ่ของกองทุน IMF คือใคร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า IMF จะให้การช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่มีปัญหา แต่ในความเป็นจริง “ไม่มีของฟรีบนโลก” พร้อมเงื่อนไข IMF ที่หลายประเทศต้อง “ตกลง” >> Read More

ย้อนรอยเหตุการณ์! หนี้ IMF กับ ไทย ที่ติดตัวนานกว่า 23 ปี

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มาเป็นระยะเวลานาน โดยไทยถือเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 44 ของ IMF ซึ่งได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินถึง 5 ครั้ง  >> Read More

วิกฤต IMF คืออะไร? หนี้ครั้งรุนแรงในประวัติศาสตร์ (IMF Crisis)

แรงปะทุ! วิกฤต IMF มีเอี่ยวกับวิกฤตการเงินครั้งรุนแรงของไทย และส่งผลรุนแรงต่อประเทศเกาหลีใต้อย่างหนัก จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่กลายเป็นภาพจำของใครหลายคนมาจนถึงปัจจุบัน >> Read More

ลือสนั่น! ไทยเป็นเจ้าหนี้ IMF จริงไหม เท่าไหร่ เมื่อไหร่?

เหตุเกิดจากมีการแสดงความคิดเห็นมากมายใน Pantip เกี่ยวกับสถานะการเป็นเจ้าหนี้ของไทย และลูกหนี้อย่าง IMF >> Read More

สรุปเกี่ยวกับวิกฤต IMF และฉายา “เจ้าหนี้ของโลก”

บทสรุปของ IMF ที่จะทำให้คุณเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น >> Read More

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF คืออะไร?

รวมคำถามที่คุณอาจสงสัย และมีการค้นหาจำนวนมากใน Google >> Read More

*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น และการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาและศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

. . . . . . . . . . . . . .

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF คืออะไร?

IMF คือ

IMF ย่อมาจาก International Monetary Fund

IMF คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1945 จาก 44 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ณ ขณะนั้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากในช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression)

วัตถุประสงค์ IMF คืออะไร?

วัตถุประสงค์หลักของ IMF

✅ ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก

✅ สร้างความร่วมมือด้านการเงินระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก

✅ สร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

✅ ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่มีปัญหา

✅ ระงับนโยบายที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

✅ ลดภาวะยากจนทั่วโลก

📌Tip! หากคุณเข้ามาเป็นประเทศสมาชิกของ IMF จะต้องทำงานร่วมกัน และร่วมมือกับหน่วยงานสากล เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน

บทบาทหน้าที่ IMF คือหนึ่งในภาระอันหนักอึ้ง

บทบาทหน้าที่ IMF คือหนึ่งในภาระอันหนักอึ้ง

✅ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและการเงินของประเทศสมาชิก

✅ ให้การช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่มีปัญหาดุลการชำระเงิน

✅ เน้นทำงานกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ และลดความยากจนภายในประเทศ

บทบาทหน้าที่ IMF คือ

📌Tip! IMF จะเก็บข้อมูลการค้าระหว่างประเทศและภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์การเติบโตระดับประเทศ รวมถึงระดับโลก จากนั้นจะทำการเผยแพร่ออกมาในรูปแบบ World Economic Outlook โดยมีรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายงบประมาณ การเงิน และการค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงทางการเงิน

รายชื่อประเทศสมาชิก IMF มีประเทศอะไรบ้าง?

ปัจจุบันกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 190 ประเทศ ที่ทาง IMF ต้องส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน, การค้าระหว่างประเทศ, การจ้างงาน รวมถึงรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ตัวอย่างรายชื่อประเทศสมาชิก IMF

ประเทศ

วันที่มีผลบังคับของการเป็นสมาชิก

สหราชอาณาจักร

27 ธ.ค. 1945

สหรัฐฯ

27 ธ.ค. 1945

ไทย

3 พ.ค. 1949

ออสเตรเลีย

5 ส.ค. 1947

เกาหลีใต้

26 ส.ค. 1955

อิตาลี

27 มี.ค. 1947

ประเทศอื่น ๆ อีก 183 ประเทศ ดูเพิ่มเติม

📌Tip! ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1949 และเคยทำการกู้ยืมเงินจาก IMF ถึง 5 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4,431 ล้านบาท

. . . . . . . . . . . . . .

ย้อนรอย! ประวัติความเป็นมา IMF กว่าจะเป็น “เจ้าหนี้ของโลก”

สืบเนื่องมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเกิดวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ ประกอบกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ณ ช่วงเวลานั้น โดยสามารถสรุปไทม์ไลน์ได้ออกมาดังนี้

IMF คือ

สรุป Timeline ความเป็นมา IMF

ปี

เหตุการณ์

1940

▪ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

▪ ผู้นำพันธมิตรจาก 44 ประเทศรวมตัว เพื่อวางแผนเศรษฐกิจหลังสงคราม

▪ จัดตั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนยึดกับค่าเงินดอลลาร์เป็นหลัก

1950

▪ ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์อย่างโซเวียตและจีน ได้ถอนตัวออกจากระบบเศรษฐกิจของโลก

▪ เกิดสงครามเย็น (Cold War) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

▪ เกิดคำว่า “หนี้ IMF” ขึ้นมาครั้งแรกของโลก

1960

▪ สิ้นสุดยุคอาณานิคม

▪ IMF มีประเทศสมาชิกในแอฟริกาเพิ่ม 3 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ เอธิโอเปีย และแอฟริกาใต้ จากนั้นมีอีก 34 ประเทศเข้าร่วมภายหลัง

1970

▪ เกิดเหตุการณ์เงินเฟ้อครั้งใหญ่ (The Great Inflation) รวมถึงวิกฤตราคาน้ำมัน (Oil Shock) ในสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ ยกเลิกการผูกดอลลาร์ไว้กับทองคำ และมีการลดค่าเงินลง

▪ กลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง เช่น อาหรับ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากพวกเขารับรายได้จากการขายน้ำมันเป็นเงินดอลลาร์ ดังนั้น การลดค่าเงินดอลลาร์จึงทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป

1973

▪ เกิดสงคราม “Yom Kippur” ซึ่งเป็นสงครามระหว่างอิสราเอล และชาติอาหรับ แต่สหรัฐฯ เลือกอยู่ข้างอิสราเอล โดยให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธ ซึ่งทำให้อาหรับไม่พอใจเป็นอย่างมาก

▪ ณ เวลานั้นอาหรับเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ OPEC จึงร่วมมือกับซาอุ ตอบโต้สหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร โดยการหยุดส่งน้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า “Oil Embargo” ส่งผลให้วิกฤตน้ำมันแย่ลงไปกว่าเดิม

▪ IMF จึงเข้ามามีบทบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานในยามฉุกเฉิน ด้วยระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

*หมายเหตุ: ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) คือ ระบบที่เราใช้ในปัจจุบัน โดยการขึ้นลงของค่าเงินขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ของนักลงทุนในตลาดเงิน

1980

▪ เกิดวิกฤตหนี้แถบอเมริกาใต้ จากการใช้ Petrodollars ที่ได้จากกำไรของกลุ่มประเทศผลิตน้ำมันส่งออก เพื่อเพิ่มการกู้ยืมให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา

▪ IMF จึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาหนี้ในครั้งนี้อีกครั้ง

1990

▪ กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์จำนวน 20 ประเทศ กลับเข้ามาร่วม IMF อีกครั้ง

▪ ถือเป็นการขยายกลุ่มสมาชิกประเทศ IMF ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1960

▪ เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง (Tom Yam Kung Crisis) ที่ประเทศไทย 

1997

▪ วิกฤตต้มยำกุ้งส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่น จนลามให้เกิดวิกฤตการเงินในเอเชียครั้งใหญ่ (Asian Financial Crisis)

▪ เกาหลีใต้ คือ หนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด จนทำให้เกิด Korean Financial Crisis

▪ IMF เข้ามาช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินด้วยเงินกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์

*หมายเหตุ: เกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย เป็นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตครั้งนี้ จึงทำให้เกิดหนี้ IMF ครั้งใหญ่

2008

▪ เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Subprime Crisis) ซึ่งเป็นวิกฤตครั้งรุนแรงที่สุดในสหรัฐฯ จนทำให้ FED ตัดสินใจทำ QE ครั้งแรก

▪ IMF เข้าช่วยเหลือด้วยเงินกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ 90 ประเทศ

2010

▪ เกิดวิกฤตอาร์เจนตินา โดยหนี้สาธารณะของอาร์เจนตินาอยู่ที่ 4.9 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 44% ของ GDP

▪ IMF เข้ามาช่วยเหลือในการจัดการและจัดสรรเงินทุน

*หมายเหตุ: IMF ได้เพิ่มสกุลเงินหยวนเข้ามาในกองทุนเหมือนกับดอลลาร์ ยูโร เงินปอน และเงินเยน จึงถือเป็นการเติบโตของจีนที่มีต่อเศรษฐกิจโลก

2019

▪ เกิดการแพร่ระบาด Covid-19 ทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกต้องหยุดชะงัก โดย GDP โลกลดลงร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 

▪ IMF ได้เข้ามามีบทบาทและให้การช่วยเหลือประเทศสมาชิกอีกครั้ง

จากความเป็นมาของ IMF จะเห็นได้ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาท และให้ความช่วยเหลือกับทุกประเทศสมาชิกเมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์และหน้าที่หลักที่ IMF ก่อตั้งขึ้นมา ดังนั้น IMF จึงเป็นเหมือนหนึ่งในหมากตัวสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ทำให้คนในแวดวงการลงทุนค่อนข้างให้ความสนใจกับนโยบายหรือคำแนะนำ รวมถึงการคาดการณ์ต่าง ๆ จากกองทุน IMF ซึ่งมีผลต่อการวางแผนการดำเนินเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ

. . . . . . . . . . . . . .

แหล่งเงินทุนใหญ่ของกองทุน IMF คือใคร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า IMF จะให้การช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่มีปัญหา แต่ในความเป็นจริง “ไม่มีของฟรีบนโลก” โดยการที่จะได้เข้าเป็นหนึ่งในรายชื่อสมาชิก IMF จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเงินในส่วนนี้จะถูกเรียกว่า “ค่าโควตา” และมีหน่วยเป็น SDR (Special Drawing Rights) หรือแหล่งเงินทุนสำรองหลักของ IMF

ค่าโควตา IMF คืออะไร?

ค่าโควตา IMF คือ ค่าธรรมเนียมในการเข้าเป็นประเทศสมาชิกของ IMF เพื่อรับสิทธิ์ในการกู้ยืม หรือความช่วยเหลือจากกองทุน โดยแต่ละประเทศจะจ่ายค่าโควตาที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอำนาจและความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจ

SDR (Special Drawing Rights) คืออะไร?

SDR คือ สกุลเงินที่ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนหลักในการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์การถอนสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศ หรือสิทธิพิเศษถอนเงิน โดย “1 SDR = 41.7 บาท” มาจากการคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ 5 สกุลเงินหลัก ดังนี้

IMF คือ
  • เงินดอลลาร์ 41.7%
  • เงินยูโร 30.9%
  • เงินหยวน 10.9%
  • เงินเยน 8.3%
  • เงินปอนด์ 8.1%

*หมายเหตุ: สัดส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 5 ปี เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน

เปิด! 5 ประเทศที่มีค่าโควตา IMF สูงที่สุด

ประเทศ

สัดส่วน

สหรัฐฯ

17.5%

ญี่ปุ่น

6.5%

จีน

6.4%

เยอรมนี

5.6%

ฝรั่งเศส

4.2%

📌Tip! ประเทศไทยมีสัดส่วนค่าโควตา IMF อยู่ที่ 0.7% โดยสรุป IMF เก็บเงินค่าโควตาจากประเทศสมาชิกรวมทั้งหมดประมาณ 19.9 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ IMF สามารถกู้ยืมเพิ่มเติมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งได้จำนวนหนึ่งภายใต้ข้อตกลงฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow: NAB)

เงื่อนไขการกู้ยืม IMF คืออะไร?

หัวข้อนี้คือ สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน หรือมีคนพูดถึงค่อนข้างน้อย ปฏิเสธไม่ได้ว่า การกู้ยืม IMF ในแต่ละครั้งนั้นมีจำนวนเงินมหาศาล ดังนั้น ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงต้องกำหนดเงื่อนไข และนโยบายต่าง ๆ เพื่อความเสมอภาคของแต่ละประเทศ รวมถึงการพิจารณาเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้อีกด้วย โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

  • ค่าโควตาเก็บตามขนาดของประเทศ
  • ค่าโควตาที่สูงขึ้นตามมาด้วยคะแนนเสียงที่มากขึ้น

ค่าสมัครเป็นประเทศสมาชิก IMF เก็บตามอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

เนื่องจากเป็นการรวมกลุ่มหลายประเทศทั่วโลก และแต่ละประเทศมีอำนาจและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ได้ ดังนั้น ค่าสมัครสมาชิกหรือ “ค่าโควตา” จึงเก็บตามการเติบโตของแต่ละประเทศ โดยประเทศใหญ่จะต้องจ่ายค่าโควตาสูงกว่าประเทศเล็ก แต่ก็จะมีฐานคะแนนเสียงมากกว่าด้วยเช่นกัน

ค่าโควตา IMF ที่สูงขึ้นตามมาด้วยคะแนนเสียงที่มากขึ้น

สำหรับเงื่อนไข IMF ในการกู้ยืม ทุกประเทศสมาชิกจะมีคะแนนเสียงเท่ากัน 250 คะแนน แต่ค่าโควตาจะถูกบวกเพิ่ม 1 คะแนน ต่อ โควตา 100,000 SDR ดังนั้น ประเทศที่จ่ายค่าโควตาสูงจะได้โบนัสคะแนนเสียงที่มากขึ้นด้วย

📌Tip! การกำหนดนโยบายของ IMF มาจากความคิดเห็นของคณะกรรมการผู้ว่าการ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกต่าง ๆ เช่น รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง หรือกรรมการธนาคารกลาง โดยจะปีการประชุมหารือทุกปี

. . . . . . . . . . . . . .

ย้อนรอยเหตุการณ์! หนี้ IMF กับ ไทย ที่ติดตัวนานกว่า 23 ปี

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มาเป็นระยะเวลานาน โดยไทยถือเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 44 ของ IMF ซึ่งได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินถึง 5 ครั้ง ภายใต้โครงการ Stand-by Arrangement (SBA) โดยคิดเป็นจำนวนสิทธิพิเศษการถอนทั้งหมด 4,431 ล้าน SDR

เปิดจำนวนหนี้ IMF ไทย ล่าสุดปี 2566

ช่วงเวลา

จำนวนเงิน (SDR)

ครั้งที่ 1

(เดือนกรกฎาคม 1978)

กู้จำนวน 45.25 ล้าน SDR

ครั้งที่ 2

(เดือนมิถุนายน 1981)

กู้จำนวน 814.5 ล้าน SDR

เบิกจริงจำนวน 345 ล้าน SDR

ครั้งที่ 3

(เดือนพฤศจิกายน 1982)

กู้จำนวน 271.5 ล้าน SDR

ครั้งที่ 4

(เดือนมิถุนายน 1985)

กู้จำนวน 400 ล้าน SDR

เบิกจริงจำนวน 260 ล้าน SDR

ครั้งที่ 5

(เดือนสิงหาคม 1997)

กู้จำนวน 2,900 ล้าน SDR

เบิกจริงจำนวน 2,500 ล้าน SDR

📌Tip! ปัจจุบันไทยมีโควตาในการกู้เท่ากับ 3211.9 ล้าน SDR หรือคิดเป็น 0.68% ของโควตา ซึ่งเทียบเท่า 33,584 คะแนน บ่งบอกถึงบทบาทที่ไทยมีต่อ IMF เป็นอย่างมาก

*หมายเหตุ: ไทยชำระหนี้ IMF หมดแล้วเมื่อปี 2003 ซึ่งจ่ายก่อนครบกำหนดล่วงหน้าถึง 2 ปี 

. . . . . . . . . . . . . .

วิกฤต IMF คืออะไร? หนี้ครั้งรุนแรงในประวัติศาสตร์ (IMF Crisis)

วิกฤต IMF คือ

“เมื่อยุคสมัยพรากชีวิต…และความฝัน”

วิกฤต IMF คืออะไร?

วิกฤต IMF คือ วิกฤตการเงินที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจตลอดจนการดำเนินชีวิตของประชาชน ซึ่งประเทศที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุด คือ เกาหลีใต้ หรือที่รู้จักกันในนาม “Korean Financial Crisis” โดยมีสาเหตุมาจาก “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ของไทย

แรงปะทุ! วิกฤต IMF มีเอี่ยวกับวิกฤตการเงินครั้งรุนแรงของไทย

เหตุเกิดจากการที่ไทยเกิดวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ในปี 1997 หรือที่เรารู้จักกันในนาม “วิกฤตต้มยำกุ้ง” โดยค่าเงินบาทถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ณ ช่วงนั้นธุรกิจอสังหาได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้คนส่วนใหญ่หันไปกู้สินเชื่อเพื่อนำเงินมาลงทุน แต่ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ณ เวลานั้นเรียกได้ว่าเป็น “ยุคทอง”

วิกฤต IMF คือ

ทำให้ธนาคารหลายแห่งประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป และปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ไม่มีความสามารถมากพอในการชำระหนี้ ส่งผลให้มีลูกค้าจำนวนมากผิดนัดชำระหนี้ จากนั้นจึงเกิดผลกระทบเป็นระลอกคลื่น จนเกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ในที่สุด

นอกจากนี้ ถึงแม้ในช่วงปี 1987-1996 เศรษฐกิจไทยดูเหมือนจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์ จึงส่งผลกระทบมาถึงในช่วงปี 1997 ประกอบกับปัญหาหนี้ต่างประเทศจากการเปิดเสรีทางการเงิน ที่ไทยสามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้ง่ายขึ้น และไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินถูกกำหนดไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขยายตัวของระบบการเงินส่งผลต่อการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ขึ้นมาก ประกอบกับในปลายปี 1998 หนี้ต่างประเทศของไทยปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์ รวมถึงสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำ จากวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ไทยต้องขอกู้เงินจาก IMF กว่า 17,200 ล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้

📌Tip! จากข้อมูลข้างต้นจึงเป็นต้นเหตุให้ไทยเกิด “วิกฤต IMF” หรือที่คุณอาจรู้จักกันในนาม “วิกฤตต้มยำกุ้ง” และส่งผลกระทบลามไปทั่วเอเชีย โดยเฉพาะในเกาหลีใต้ ซึ่งมันได้พรากชีวิตและความฝันของวัยรุ่นยุค 90’s

วิกฤต IMF เกาหลีใต้ คือ การพรากชีวิตของหนุ่มสาวยุค 90’s

IMF คือ

จากการเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในไทยได้ส่งผลกระทบลามทั่วเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศเกาหลีใต้ โดยค่าเงินวอนอ่อนค่าลงกว่า 50% และถูกลดบทบาทสมาชิกกลุ่ม OECD จากประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 11 ของโลก มาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องกู้ยืมเงินจากกองทุนมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นตกลงมา 30% และอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นพุ่งสูงเป็นปีละ 40%

📌Tip! ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เข้าให้การช่วยเหลือประเทศเกาหลีใต้กว่า 58,800 ล้านดอลลาร์ เพื่อพยุงเศรษฐกิจเอาไว้

และในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ออนโยบายต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยหนึ่งในนโยบายที่ชาวเกาหลีใต้หลายคนยังคงจดจำเรื่องราวในช่วงเวลานั้นได้อย่างชัดเจน คือ “แคมเปญบริจาคทองคำ (Gold-collecting Campaign) จากทรัพย์สินส่วนตัว” เพื่อช่วยรัฐบาลใช้หนี้ IMF ซึ่งมีประชาชนกว่า 3.5 ล้านคน ให้การตอบรับเป็นอย่างดี ในขณะนั้นมีจำนวนทองคำที่ได้จากการบริจาคกว่า 227 ตัน

วิกฤต IMF เกาหลีใต้
รูปภาพจากซีรีส์เรื่อง Reborn Rich สะท้อนเรื่องราวในช่วงที่เกาหลีใต้เกิดวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนต้องเอาทองออกมาชั่งกิโล เพื่อบริจาคให้รัฐบาล

ความร่วมมือของประชาชน ณ ขณะนั้น ได้สร้างความประหลาดใจ แต่ตามมาด้วยการนับถือของสายตาคนทั่วโลก และในที่สุดเกาหลีใต้สามารถใช้หนี้ IMF ได้หมดภายใน 3 ปีต่อมา โดยได้ความร่วมมือกับการจัดการปัญหาของทางรัฐบาลด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ ทั้งภาคการเงินและภาครัฐอย่างจริงจัง

. . . . . . . . . . . . . .

ลือสนั่น! ไทยเป็นเจ้าหนี้ IMF จริงไหม เท่าไหร่ เมื่อไหร่?

ไทยเป็นเจ้าหนี้ IMF pantip

“เหตุเกิดจากมีการแสดงความคิดเห็นมากมายใน Pantip เกี่ยวกับสถานะการเป็นเจ้าหนี้ของไทย และลูกหนี้อย่าง IMF” 😱

ไทยเป็นเจ้าหนี้ IMF จริงไหม?

ไทยเป็นเจ้าหนี้ IMF จริงไหม

📌Tip! ประเทศไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้ให้กู้แก่ IMF ในลักษณะการกันวงเงิน หรือ Credit Line ผ่านการเป็นภาคีความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow) โดยมีวงเงินไม่เกิน 680 ล้าน SDR (909 ล้านดอลลาร์) และร่วมสมทบตามสัญญา Borrowing Agreement ในวงเงิน 1.72 พันล้านดอลลาร์ ในกรณีที่ IMF มีสภาพคล่องจากโควตาไม่เพียงพอกับการปล่อยกู้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศ (BOT)

. . . . . . . . . . . . . .

สรุปเกี่ยวกับวิกฤต IMF และฉายา “เจ้าหนี้ของโลก”

จากข่าวเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่คุณมักจะเห็นการรายงานของ IMF ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง โดย IMF ย่อมาจาก International Monetary Fund คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือทางด้านการเงินของประเทศสมาชิก รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโยบายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ปัจจุบัน IMF มีสมาชิกรวมกว่า 190 ประเทศทั่วโลก

IMF ข้อดี ข้อเสีย

📌Tip! กองทุน IMF ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับประเทศตลาดเสรี รวมถึงถูกแทรกแซงโดยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรมากจนเกินไป

ไม่มีของฟรีบนโลก เพราะทุกอย่างต้องแลก

เงื่อนไขการกู้ยืมจะดำเนินภายใต้ “ค่าโควตา” โดยแต่ละประเทศจะมีการจ่ายค่าโควตาตามขนาดเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศใหญ่มีโอกาสในการกู้ยืม IMF จำนวนที่สูงกว่าประเทศเล็ก หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า แล้ว IMF นำเงินทุนมาจากที่ใดถึงสามารถปล่อยกู้ได้มากขนาดนี้ ซึ่งเงินทุนหลักของ IMF มาจากค่าโควตาที่แต่ละประเทศต้องจ่าย เพื่อเข้าเป็นสมาชิกของ IMF รวมถึง IMF มีสิทธิ์ในการกู้ยืมจากประเทศที่มีการเงินมั่นคง เพื่อสมทบทุนในการช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาได้

ยุคสมัยที่พรากชีวิตและความฝันของใครหลายคน

หากพูดถึงวิกฤต IMF ที่เป็นที่จดจำ และกลายเป็นบาดแผลในใจของใครหลายคน คงนีไม่พ้น Asian Financial Crisis ที่ประทุมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งของไทย โดยไทยได้ทำการกู้ยืม IMF มาฟื้นฟูเศรษฐกิจจำนวนมาก จากนั้นผลกระทบได้ลามไปทั่วเอเชียเป็นโดมิโน่ และประเทศที่ได้รับความรุนแรงจากวิกฤตในครั้งนี้มากที่สุด คือ เกาหลีใต้ (Korean Financial Crisis) ทำให้ IMF ต้องเข้ามาช่วยเหลือด้านการเงินอีกครั้ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พรากความฝันและชีวิตของวัยรุ่นยุค 90’s ณ ช่วงเวลานั้น

หลายคนอาจเคยเห็นภาพเหตุการณ์ที่ถ่ายทอดผ่านตัวละคนในซีรีส์ โดยชาวเกาหลีใต้นำทองออกมาบริจาค เพื่อช่วยรัฐบาลเกาหลีใต้ในการใช้หนี้ IMF ประกอบกับการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทำให้ในที่สุดเกาหลีใต้สามารถรอดพ้นวิกฤตการเงินครั้งนั้น รวมถึงปลดหนี้ IMF ได้ภายใน 3 ปีต่อมา

IMF บทบาททางเศรษฐกิจ

หากคุณย้อนดูความเป็นมาของ IMF ที่เข้ามามีบทบาท และให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่กำลังเผชิญกับวิกฤตทางการเงิน คุณจะเข้าใจว่า ทำไมนักลงทุนถึงต้องให้ความสำคัญกับรายงานของ IMF และกองทุนการเงินระหว่างประเทศนี้ยิ่งใหญ่เพียงใด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน IMF ได้ปล่อยเงินกู้กว่า 2.8 ล้านล้านบาท ให้กับ 18 ประเทศที่ประสบปัญหาการเงิน

ซึ่งมีบางประเทศที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และดูเหมือนว่า ในอนาคตปัญหาหนี้จะลุกลาม รวมถึงมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าการกู้ยืมในอดีต อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เราคงต้องรอติดตามต่อไปว่า IMF จะมีนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการจำนวนเงินกู้ต่อไปอย่างไร เพราะไม่มีใครรู้ได้ว่า เงินทุนสำรองของ IMF จะหมดเมื่อไร

*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น และการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาและศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

. . . . . . . . . . . . . .

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF คืออะไร?

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF คืออะไร?

IMF คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่สนับสนุนการเติบโตและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก

IMF ประเทศสมาชิก มีประเทศอะไรบ้าง?

ปัจจุบันกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 190 ประเทศ เช่น ไทย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และอังกฤษ

IMF วัตถุประสงค์ คืออะไร?

ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก พร้อมสร้างความร่วมมือด้านการเงินระหว่างประเทศสมาชิก

IMF บทบาทหน้าที่ คืออะไร?

ช่วยเหลือด้านการเงินกับประเทศสมาชิก และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

IMF ชื่อเต็ม คืออะไร?

IMF ย่อมาจาก International Monetary Fund IMF คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1945

ไทยเป็นเจ้าหนี้ IMF จริงไหม?

จากข้อมูลของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยระบุว่า ประเทศไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้ให้กู้แก่ IMF ในลักษณะการกันวงเงิน หรือ Credit Line ผ่านการเป็นภาคีความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow) โดยมีวงเงินไม่เกิน 680 ล้าน SDR (909 ล้านดอลลาร์)

หนี้ IMF ไทย เหลือเท่าไร?

ไทยชำระหนี้ IMF หมดแล้วเมื่อปี 2003 ซึ่งจ่ายก่อนครบกำหนดล่วงหน้าถึง 2 ปี 

IMF ข้อดี ข้อเสีย

กองทุน IMF ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับประเทศตลาดเสรี รวมถึงถูกแทรกแซงโดยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรมากจนเกินไป


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter