ทองคำ และมาตรการ QE เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

Table of Contents
QE

สืบเนื่องมาจากค่าเงินดอลลาร์และทองคำมีความผันผวนอย่างมาก เป็นผลมาจากมาตรการต่าง ๆ ของทางสหรัฐฯ และมาตรการที่ว่านี้ คือ QE หรือ Quantitative Easing เป็นการผ่อนคลายนโยบายการเงินเชิงปริมาณ โดยการที่ธนาคารกลางจะเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการทำเช่นนี้ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะส่งผลให้เงินดอลลาร์มีการอ่อนค่าลง และเป็นปัจจัยบวกต่อทองคำในรูปแบบของดอลลาร์ (Gold Spot) สังเกตได้จากราคาทองคำจะดีดตัวขึ้นเมื่อเงินสกุลดอลลาร์อ่อนค่าลง และจะถูกฉุดลงเมื่อเงินสกุลดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ในบทความนี้เราจะขอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัว ให้เข้าใจมากขึ้น เพื่อประกอบการตัดสินใจหากใครคิดจะลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ (สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับ QE และ QT ได้ที่นี่)

เหตุใด ทองคำ และ QE จึงมีความสัมพันธ์กัน ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การที่ทางรัฐบาลใช้มาตรการ QE นั้นจะทำให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนลง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำ เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้ทองคำน่าดึงดูด และราคาถูกลงสำหรับผู้ที่ถือเงินสกุลอื่น ๆ เนื่องจากใช้เงินสกุลตนเองไปแลกดอลลาร์ได้มากขึ้น และจะมีกำลังซื้อที่สูงขึ้นเช่นกัน

QE

ในทางกลับกัน หากดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งในส่วนนี้อาจเกิดจากการทำมาตรการ QT หรือ Quantitative Tightening เพื่อดึงปริมาณเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ จะทำให้ราคาทองคำในรูปแบบของดอลลาร์มีราคาสูงขึ้น เนื่องจากเราจำเป็นต้องใช้เงินในสกุลอื่นจำนวนมากขึ้นไปแลกเป็นดอลลาร์ และทำให้กำลังซื้อน้อยลง

มาตรการ QE มีผลอย่างไรกับ ทองคำ และดอลลาร์ ?

จากการที่ครั้งนั้น ธนาคารกลางสหรัฐไม่ได้จำกัดวงเงินในการทำ QE เนื่องจากว่าอาจจะเห็นว่าถ้ากำหนดวงเงินเหมือนรอบที่ผ่านมา อาจจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระยะยาว โดยเฉพาะงบดุลของรัฐบาลกลาง จึงส่งผลให้ Dollar Index ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้นักลงทุนหลายคนมองว่า ทองคำเป็น Safe Haven จากการป้องกันสภาวะเงินเฟ้อที่ถูกลดลงและถูกเทขาย จึงแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเงินดอลลาร์และทองคำมีทิศทางที่ตรงกันข้ามอย่างชัดเจน

ทำไมธนาคารกลางสหรัฐต้องทำ QE ?

ต้องบอกว่าก่อนว่าการทำ QE ของสหรัฐฯ ในช่วงวิกฤตซับไพร์ม สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนให้ราคาทองคำมีขาขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานถึง 3 ปี และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 180% นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 จนแตะระดับสูงสุดในช่วงเดือนมกราคม 2555 ที่ระดับ 1,925 ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงมาก แต่หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ทำการถอนมาตราการ QE ออกจากระบบ จึงทำให้ราคาทองคำอยู่ในช่วงตลอดเกือบ 5 ปี และได้ลดต่ำลงจนถึงจุด 45% ซึ่งการทำ QE นั้นจะทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงที่เกิดวิกฤตต่าง ๆ และเริ่มมีภาวะเงินฝืดเกิดขึ้น

แล้วโควิด-19 มีผลต่อราคาทองคำโดยตรงหรือไม่ ?

จากโรคระบาดโควิด-19 ได้มีการระบาดอย่างหนัก จึงทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการอัดฉีดสภาพคล่องด้วยการทำมาตราการ QE อีกครั้ง ทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไป 42% ทำให้เกิดเหตุการณ์ BLACK THURSDAY โดยการเกิดเหตุการณ์นี้ทำให้ราคาทองคำเกิด New High ที่สูงที่สุดอยู่ที่ 2,081 ดอลลาร์ แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานราคาทองคำ ก็ได้ปรับตัวเป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะนี้ก็ลดต่ำลงมาแล้วกว่า 20%

เงินสกุลอื่นมีผลต่อราคา ทองคำ หรือไม่ ? 

เนื่องจากทิศทางของดอลลาร์จะดูได้จาก Dollar Index ที่คำนวณถ่วงน้ำหนักเทียบกับเงิน 6 สกุล คือ Euro 57.6%, Yen 13.6%, Pound 11.9%, Canadian 9.1%, Swedish 4.2% และ Swiss franc 3.6% ดังนั้น เงินสกุลอื่นจะแปรผกผันกับเงินดอลลาร์ สรุุปง่าย ๆ คือ ราคาทองคำจะมีทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่น และเคลื่อนไหวคนละทิศทางกับเงินดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจกับมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ของธนาคารกลาง และความเป็นมาของค่าเงิน จะช่วยให้นักลงทุนวิเคราะห์แนวโน้มของราคาทองคำได้ดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการศึกษาข้อมูล และการฝึกฝนในการวิเคราะห์ เพื่อการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter