ภาษีคริปโต เก็บทำไมและเก็บอย่างไร ?

Table of Contents
ภาษีคริปโต

หลายคนคงได้ยินข่าวผ่านหูผ่านตากันมามากแล้ว สำหรับกฎหมายใหม่ที่ออกมากำกับเกี่ยวกับการเก็บ ภาษีคริปโต หรือการเก็บภาษีจากรายได้ในการเทรดคริปโต ซึ่งมีกระแสตอบรับออกมามากมาย โดยส่วนใหญ่คงเป็นด้านลบ และแสดงความไม่พอใจอย่างที่เรารรู้กัน ซึ่งบทความนี้จะรวบรวมข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

ทราบหรือไม่ว่า? กรมสรรพากรเรียกเราว่า “ผู้มีเงินได้” หมายถึง ใครก็ตามที่มีเงินได้หรือกำไร จากการเทรดคริปโต ต้องนำรายได้ตรงนั้นกรอกลงแบบฟอร์มยื่นภาษี และแจ้งตอนยื่นคิดภาษีด้วย ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าแล้วจะคิดรายได้จากการเทรดอย่างไร เนื่องจากเรามีการเทรดหลายครั้ง

“เราจะต้องจ่ายภาษีตัวนี้ก็ต่อเมื่อเราเทรดแล้วได้กำไรเท่านั้น”

สรุปข้อสงสัยเกี่ยวกับ ภาษีคริปโต

การเก็บ ภาษีคริปโต มีมาตั้งแต่เมื่อไร และอยู่ในมาตรตราใด?

กฎหมายการเก็บภาษีจากกำไรที่ได้จากการเทรดคริปโตมีมาตั้งแต่ปี 2561 โดยกำไรจากคริปโต คือ เงินได้อื่น ๆ นอกจากงานประจำ ซึ่งอยู่ในมาตราที่ 40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตราสารหนี้ ตราสารทุน ฯลฯ

ทันที่ที่มีการขาย จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% คืออะไร?

เป็นเหมือนเครดิตภาษีของนักลงทุน เมื่อถึงปลายปีมีการรวมยอดกำไรที่ได้ ก็นำเครดิตภาษีไปหักออกจากยอดทั้งหมด และนำยอดที่เหลือคิดภาษีตามปกติ และยังมีคำถามต่อว่า 15% นี้หักจากที่ใด หรือระบบอะไร นอกจากนี้ ทางด้านกระดานซื้อขายเขามีภาระภาษีด้วยหรือไม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องรอสรรพากรออกมาชี้แจงในแง่ของหลักปฏิบัติ

กรณีมีการนำคริปโตไปชำระค่าสินค้าและบริการต้องทำอย่างไรในในการเก็บภาษี?

สำหรับข้อนี้โบ้ขอยกตัวอย่าง สมมติเราซื้อ BTC ในราคา $100 เมื่อเวลาผ่านมา BTC ขึ้นเป็น $150 แล้วเรานำเหรียญไปซื้อสินค้าหรือบริการเป็นจำนวน $140 นั่นคือ เราต้องจ่ายภาษีแล้วครับ เพราะต้นทุนที่เราไ้ด้เหรียญมานั้นต่ำกว่าราคาสินค้าหรือบริการที่เราจ่ายออกไป และเช่นเดียวกันต้องมีการหักภาษี 15% ณ ที่จ่ายเหมือนกับการซื้อขายเหรียญทั่วไป

กรณีโอนคริปโตโดยไม่มีของแลกเปลี่ยน เช่น ให้ด้วยความเสน่หา เช่น พ่อแม่ให้ลูก หรือชิงโชคได้ ต้องเสียภาษีหรือไม่?

กรณีนี้อยู่ในมาตรา 40 [8] ผู้ได้รับ “ไม่ต้องเสียภาษี” หากมูลค่าของคริปโตที่ได้รับไม่เกิน 20 ล้านบาทในปีภาษีนั้น แต่จะต้องนำราคาของคริปโตไปยื่นแสดงในรายการเสียภาษีเช่นเคย

ทั้งนี้ หากผู้ที่มีกำไรจากเทรดคริปโตไม่ยื่นภาษี โฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า “เรื่องนี้มีข้อมูลอยู่แล้ว และสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ซึ่งก็ต้องดูความผิดปกติของแต่ละราย ขึ้นอยู่กับสรรพากรในแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการตรวจสอบอย่างไร”

ที่ผ่านมาการยื่นภาษี ในมาตรา 40 [4] มีรายละเอียดย่อยค่อนข้างมาก ประชาชนอาจยังไม่ทราบทั้งหมดว่า ต้องยื่นรายได้ในส่วนนี้ พอมีข่าวออกมาอาจจะทำให้เกิดความตื่นตัว ซึ่งทางกรมสรรพากรพยายามประชาสัมพันธ์ให้ทราบ เพื่อให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่ต้องมีภาระย้อนหลัง หากถูกตรวจสอบว่า ไม่ได้ยื่น


อย่างไรก็ตาม การคำนวณภาษีจากกำไรทำได้ยากมากในทางปฏิบัติ อีกทั้งยังเกิดช่องว่างบางประการ เช่น กรณีซื้อเหรียญมาจากกระดานในต่างประเทศ จากนั้นโอนมีที่กระดานในไทย แล้วถอนเป็นสกุลเงินบาท จะหักภาษี 15% ณ ที่จ่ายได้อย่างไร เพราะไม่ทราบว่าต้นทุนการซื้อที่แท้จริงเท่าไร รวมถึงผู้ที่ขุดเหรียญจะหักค่าใช้จ่ายจากต้นทุน การซื้อเครื่องขุด และค่าไฟฟ้าไม่ได้เลย หรือนักลงทุนบางคนโอนย้ายเงินไปอยู่ในบัตรเครดิตที่แปลงคริปโตหรือโทเค็นดิจิทัลมาใช้จ่ายเลย เช่น บัตร Bit Pay ก็น่าจะหลุดรอดจากเกณฑ์ตรงนี้ไปด้วยเช่นกัน เนื่องจากไม่ใช้ผู้ให้บริการในไทย ดังนั้นในเชิงปฏิบัติจำเป็นต้องรอให้กรมสรรพากรออกมาชี้แจงให้ชัดเจนอีกครั้ง

Sourceทีมงาน Traderbobo

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter