สรุป ครบ เข้าใจง่าย! การเทรด Option คืออะไร? มีลักษณะอย่างไร?

Table of Contents
Option คือ

การเทรด Options มีดีอะไร คุณถึงเข้ามาศึกษาบทความนี้!

✅ ใช้ต้นทุนต่ำ

✅ เทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

✅ เบื่อแล้วเป็น “ผู้ซื้อ” และ Options ทำให้คุณเก็งกำไรในฐานะ “ผู้ขาย” ได้

✅ อ้างอิงราคาจากดัชนี SET50 Index ที่มีมูลค่าสูง

✅ สุดยอดกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจาก Futures และ หุ้นรายตัว

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

. . . . . . . . . . . . . . .

การเทรดหุ้นยังคงเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมมาตลอดกาล เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อหุ้นมากกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การซื้อหุ้นรายตัวมีข้อจำกัดด้านการทำกำไร เนื่องจากคุณจำเป็นต้อง “ซื้อถูกขายแพง” เท่านั้น ผลตอบแทนจึงจะเกิดขึ้น ดังนั้น นักลงทุนจึงทำการมองหาการลงทุนประเภทใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ไม่ว่าจะเป็น Futures และ DW ที่สามารถเก็งกำไรจากหุ้นในช่วงตลาดขาลงได้ โดยคุณจะอยู่ในสถานะของผู้ซื้อ (Long)

จะดีกว่าไหม? หากคุณมีสิทธิ์เป็นได้ทั้ง “ผู้ซื้อ” และ “ผู้ขาย” อีกทั้งยังทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลงด้วย “เงินทุนที่ต่ำ” กว่าหุ้นรายตัวหลายเท่า แต่สามารถอ้างอิงราคาได้จากดัชนี SET50 Index ซึ่งเป็นหุ้น 50 ตัวแรกที่มีมูลค่าหลักทรัพย์สูงที่สุดในประเทศ โดยคุณจะได้รับสิทธิ์ทั้งหมดนี้จาก การเทรด Options อีกทั้งยังเป็นการลงทุนที่ป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตได้สูงที่สุด🔥

ในบทความนี้ เราจะอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับ การเทรด Options คืออะไร และคุณจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างในการลงทุน พร้อมยกตัวอย่างการซื้อขาย Options ที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ แต่อาจคิดว่า มันค่อนข้างยาก แต่แท้จริง Options ไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่คุณคิด และ Options ยังเป็นการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตได้เป็นอย่างดี แม้กระทั่ง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ยังใช้กลยุทธ์นี้

. . . . . . . . . . . . . . .

Step1 : สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเริ่มเทรด Option

Step2 : ปูพื้นฐาน! ทำความรู้จักกับการเทรด Options เบื้องต้น

Step3 : ตัวอย่างการเทรด Options ในสนามจริง

. . . . . . . . . . . . . . .

สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเริ่มเทรด Option

คำศัพท์

ความหมาย

คำอธิบายเพิ่มเติม

Spot Price

ราคาสินค้าอ้างอิง หรือราคาดัชนี SET50 Index

การเทรด Options ในประเทศไทย ณ ปัจจุบันยังรองรับแค่ราคาดัชนี SET50 Index

Strike Price

ราคาใช้สิทธิของ Options

อธิบายง่าย ๆ Strike Price คือ ราคาที่คุณเลือกว่าจะให้ราคาดัชนี SET50 Index ขึ้นหรือลงไปถึงราคาที่คุณเลือกไว้นั่นเอง

Symbol

สัญลักษณ์การซื้อขาย

ตัวอย่าง S50M21C975 คือ สัญญาออปชันที่อ้างอิงดัชนี SET50 หมดอายุ M21 (เดือนมิถุนายน ปี 2021) และมีราคาใช้สิทธิที่ 975

Long Options

(Long)

สถานะของผู้ซื้อสิทธิ

ในการเทรด Options คุณสามารถเลือกเปิดสัญญาได้ทั้งหมด 4 สถานะ ดังนี้

  ▪ Long Call Options

  ▪ Long Put Options

  ▪ Short Call Options

  ▪ Short Put Options

*หมายเหตุ: แต่ละสถานะจะมีวิธีการทำกำไรที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ คุณต้องทำการวิเคราะห์ตลาดก่อนจึงจะสามารถเลือกสถานะของสัญญา Options ได้

Short Options

(Short)

สถานะของผู้ขายสิทธิ

Call Options

(Call)

สิทธิในการซื้อสินค้าอ้างอิง

Put Options

(Put)

สิทธิในการขายสินค้าอ้างอิง

Delta

ค่าที่แสดงถึงมูลค่าการเปลี่ยนแปลงของ Options เมื่อดัชนี SET50 Index เปลี่ยนแปลงไป 1 จุด

▪ Call Options ค่า Delta จะเป็น "ค่าบวก" 
▪ Put Options ค่า Delta จะเป็น "ค่าลบ"

 
*หมายเหตุ: Options ที่มีค่า Delta สูง มักจะมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาดัชนี SET50 Index อย่างรวดเร็ว

Volatility

ค่าความผันผวน

ความผันผวนที่สูงขึ้นจะตามมาด้วยโอกาสที่ราคาดัชนีจะสามารถวิ่งขึ้นหรือลงไปถึงราคาใช้สิทธิของคุณ

Implied Volatility

ค่าความผันผวนที่นักลงทุนคาดหวัง

ใช้ดูว่า ณ ปัจจุบันราคามีความผันผวนเท่าไร ยิ่งความผันผวนสูง ราคา Options ยิ่งสูงขึ้น

Historical Volatility

 ค่าความผันผวนในอดีต

ใช้ดูว่า ดัชนีในอดีตเฉลี่ยผันผวนกี่จุดต่อวัน เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร

Margin

เงินวางประกัน

เงินหลักประกันที่นักลงทุนต้องวางไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนการซื้อขาย ในกรณีที่คุณเปิดสัญญา Short Options

Break Even

จุดคุ้มทุน

จุดที่เปลี่ยนจากกำไรเป็นขาดทุน หรือขาดทุนเป็นกำไร

Moneyness

สถานะทางการเงินของ Options

แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าอ้างอิง และราคา Option  โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  ▪ ITM (In The Money)
  ▪ ATM (At The Money)
  ▪ OTM (Out of The Money)

Time to Maturity (TTM)

เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุเวลาของ Options รุ่นนั้น ๆ

ยิ่งอายุของ Options เหลือน้อยมากเท่าไร มูลค่าของ Options จะลดลงมากเท่านั้น

Unwind Position

เปิดสัญญาในทิศทางตรงข้าม (Long/Short) โดยต้องเป็นสินค้าเดียวกัน เดือนส่งมอบเดือนเดียวกัน

. . . . . . . . . . . . . . .

⭐ ปูพื้นฐาน! ทำความรู้จักกับการเทรด Options เบื้องต้น ⭐

. . . . . . . . . . . . . . .

การเทรด Option คืออะไร? มีลักษณะอย่างไร?

Option

Option คืออะไร?

ออปชัน (Options) คือ สัญญาสิทธิที่เป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ โดยคุณสามารถเป็นได้ทั้ง “ผู้ซื้อ (Long) และ “ผู้ขาย (Short)” รวมทั้งมี “สิทธิซื้อ (Call)” และ “สิทธิขาย (Put)” แต่ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าพรีเมียม (Premium) เพื่อแลกกับการจองสิทธิ ณ ราคานั้น ๆ

ดังนั้น Options จึงสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งทำการซื้อขายผ่านตลาด TFEX ด้วยราคาที่มีความสัมพันธ์กับดัชนี SET50 Index หรือที่เรียกกันว่า SET50 Options แต่มีต้นทุนที่ถูกกว่าหุ้นรายตัวทั่วไป

หมายเหตุ: อนุพันธ์ (Derivatives) คือ สัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อให้สิทธิในการซื้อหรือขาย “สินค้าอ้างอิง” (Underlying Asset)

สินค้าอ้างอิงของ Options คืออะไร?

สินค้าอ้างอิงของ Options คือ ตัวบ่งบอกว่า Options ที่คุณทำการซื้อขายนั้นจะขึ้นหรือลงตามราคาของหุ้นตัวใด ซึ่งปัจจุบันการเทรด Options ในไทยจะถูกอ้างอิงตาม ดัชนี SET50 เท่านั้น ซึ่งนักลงทุนเรียกกันว่า SET50 Options

ข้อดีของการเทรดสัญญา Options คืออะไร?

เทรด Option ดียังไง?

    ▪ ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าหุ้นรายตัว

    ▪ เทรดได้ทั้งในสภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง

    ▪ สามารถเป็นได้ทั้ง "ผู้ซื้อ" และ "ผู้ขาย"

    ▪ ป้องกันความเสี่ยงจากการเทรดหุ้นรายตัวและ Futures

    ▪ เป็นเทคนิคที่สามารถเพิ่มผลตอบแทนของพอร์ตได้ดี

    ▪ จำกัดขาดทุนได้เมื่อเปิด Long Position

    ▪ ทำกำไรในช่วงตลาด Sideway ด้วย Short Position ได้ดีกว่าการเทรดแบบอื่น

    ▪ มีโอกาสได้รับ "ส่วนลด" ของต้นทุนการเทรดที่ไม่เหมือนใคร

    ▪ ไม่ต้องใช้การวิเคราะห์ทาง Technical เท่าสินทรัพย์อื่น ๆ

ความเสี่ยงของการเทรด Options คืออะไร?

ความเสี่ยงของการเทรด Options

▪ ความเสี่ยงด้านราคาดัชนีอ้างอิง (Market Risk)

▪ ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk)

▪ ความเสี่ยงด้านค่าความเสื่อมเวลา (Time Decay)

▪ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)

ความแตกต่างระหว่าง DW, Warrant กับ Options ต่างกันอย่างไร?

SET50 Option

DW

Warrant

ประเภทของสิทธิ

Call และ Put

Call และ Put

Call เท่านั้น

สถานะของผู้ใช้สิทธิ

Long และ Short

Long เท่านั้น

Long เท่านั้น

สินค้าอ้างอิง

SET50 Index

SET50 Index และหุ้นรายตัว

หุ้นรายตัว

ผู้กำหนดเงื่อนไขของสิทธิ

TFEX

กำหนดโดยผู้ออก

กำหนดโดยผู้ออก

การใช้สิทธิ

ใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียว (European)

ใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียว (European)

ใช้สิทธิได้หลายครั้งตามช่วงเวลา
ซึ่งกำหนดโดยผู้ออก (Bermuda)

ผลตอบแทนที่จะได้รับ

เงินสด

เงินสด

หุ้น

ลักษณะและข้อกำหนดของ SET50 Index Options

ลักษณะและข้อกำหนดของ SET50 Index Options

สินค้าอ้างอิง (Spot Price)

ดัชนี SET50 Index ที่คำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตัวคูณดัชนี (Lot Size)

200 บาท ต่อ 1 จุด 

หมายเหตุ: เมื่อคุณซื้อหรือขาย Options จำนวน 1 สัญญา ได้การคิดกำไรขาดทุนต้องทำการคูณด้วย 200 ทุกครั้ง

เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ

▪ H = ส่งมอบเดือน มี.ค.

▪ M = ส่งมอบเดือน มิ.ย.

▪ U = ส่งมอบเดือน ก.ย.

▪ Z = ส่งมอบเดือน ธ.ค.

*หมายเหตุ: ส่งมอบในวันทำการวันสุดท้ายของแต่ละเดือน และสัญญาจะสิ้นสุดเวลา 16.30 น.

ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)

เพิ่มขึ้นทีละ 25 จุด

ช่วงเวลาซื้อขายขั้นต่ำ

0.1 จุด

การเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุดแต่ละวัน

± 30% ของระดับที่ดัชนี SET50 Index ปิด ณ วันซื้อขายก่อนหน้า

สถานะทางการเงิน (Moneyness)

ในช่วงเริ่มต้นของทุกวันทำการจะมีการกำหนดรุ่นของ Options ดังนี้


▪ ATM จำนวน 1 รุ่น

▪ ITM และ OTM อย่างละไม่ต่ำกว่า 2 รุ่น

เวลาซื้อขาย

Pre Open 9.15 - 9.45 น.

Morning Session 9.45 - 12.30 น.

Pre Open 14.00 - 14.30 น.

Afternoon Session 14.30 - 16.55 น.

ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย

ไม่เกิน 10 บาทต่อสัญญา โดยเรียกเก็บทั้ง Long และ Short

. . . . . . . . . . . . . . .

สัญญาสิทธิ Option คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น คุณสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ “สิทธิซื้อ (Call)” หรือ “สิทธิขาย (Put)” ในสถานะ “ผู้ซื้อ (Long) และ “ผู้ขาย (Short)” ในตลาดแห่งนี้ ซึ่งการเลือกสถานะและสิทธิในสินค้าอ้างอิงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากคุณต้องเลือกสัญญาให้เข้ากับกลยุทธ์การเทรดที่คุณได้ทำการวิเคราะห์ไว้ นอกจากนี้ สิทธิและการทำกำไรในแต่ละ Position จะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป

  • Long Option (Long) คือ สถานะของผู้ซื้อสิทธิ
  • Short Option (Short) คือ สถานะของผู้ขายสิทธิ
  • Call Option (Call) คือ สิทธิในการซื้อสินค้าอ้างอิง
  • Put Option (Put) คือ สิทธิในการขายสินค้าอ้างอิง

📌 Tip! สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ แนะนำให้ลองเทรดจากสถานะ Long Option ก่อน เนื่องจากสามารถเข้าใจได้ง่าย และไม่มีเทคนิคมากมายเท่ากับ Short Option

Long Option vs Short Option คืออะไร?

Long Position

Short Position

ความหมาย

สถานะ "ผู้ซื้อสิทธิ" 

สถานะ "ผู้ขายสิทธิ"

โอกาสในการทำกำไร

ในช่วงตลาดเป็นเทรนด์

ในช่วงตลาดเป็น Sideway หรือเทรนด์เล็กน้อย

การเลือกใช้สิทธิ์

เลือกได้ว่าจะใช้สิทธิซื้อ, สิทธิขาย หรือไม่ใช้สิทธิ (รอจนกว่า Option จะหมดอายุของซีรีส์นั้น ๆ)

ต้องทำตามสัญญาเท่านั้น

Tip! Short Position มักถูกในช่วงที่ตลาดมีสภาวะ Sideway และใช้เป็นกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่เราจะอธิบายในหัวข้อ "ข้อได้เปรียบของ Short Options"

Call Option vs Put Option คืออะไร?

Call Option

Put Option

ความหมาย

สิทธิในการ "ซื้อ" สินค้าอ้างอิงในราคาและปริมาณที่กำหนดไว้ตามสัญญา

สิทธิในการ "ขาย" สินค้าอ้างอิงในราคาและปริมาณที่กำหนดไว้ตามสัญญา

การเคลื่อนไหวของราคา

ทางเดียวกับ SET50 Index

สวนทางกับ SET50 Index

โอกาสในการทำกำไร

▪ ตลาดเป็นเทรนด์ขาขึ้น (Long Call)

▪ ตลาดเป็น Sideway หรือขาลงเล็กน้อย (Short Call)

▪ ตลาดเป็นเทรนด์ขาลง (Short Call)

▪ ตลาดเป็น Sideway หรือขาขึ้นเล็กน้อย (Short Put)

การเลือกใช้สิทธิ

ผู้ถือสถานะ Long จะเป็นฝ่ายเลือกว่าจะใช้สิทธิหรือไม่

และทั้งหมดนี้คือ สถานะและสิทธิในสัญญา Option ที่คุณต้องทำความเข้าใจก่อนลงสนาม โดยในการเทรดจริงคุณจะต้องเลือกว่าจะทำสัญญา Long Call, Long Put, Short Call หรือ Short Put ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการเทรดของคุณ และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้สูงที่สุด โดยมีรายละเอียดดังนี้

Long Call Option คืออะไร?

Long Call option คือ

Long Call คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปซื้อสิทธิในการซื้อ SET50 Options

  • ทำกำไรในช่วงตลาดขาขึ้น (Uptrend)
  • กำไร = ไม่จำกัด
  • ขาดทุน = ค่า Premium

📌 ลุ้นให้ราคาปรับตัวขึ้นสูงกว่า Strike Price

Long Put Option คืออะไร?

long put option คือ

Long Put คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปซื้อสิทธิในการขาย SET50 Options

  • ทำกำไรในช่วงตลาดขาลง (Downtrend)
  • กำไร = ไม่จำกัด
  • ขาดทุน = ค่า Premium

📌 ลุ้นให้ราคาปรับตัวลงต่ำกว่า Strike Price

Short Call Option คืออะไร?

short call option คือ

Short Call คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปขายสิทธิในการซื้อ SET50 Options

  • ทำกำไรในช่วงตลาด Sideway หรือขาลงเล็กน้อย
  • กำไร = ค่า Premium
  • ขาดทุน = ไม่จำกัด

📌 ลุ้นให้ราคาปรับตัวขึ้น แต่ต้องขึ้นไม่ถึง Strike Price เพราะคุณอยู่ในสถานะขาย หมายความว่า คุณอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ Long Call

Short Put Option คืออะไร?

Short put option คือ

Short Put คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปขายสิทธิในการขาย SET50 Options

  • ทำกำไรในช่วงตลาด Sideway หรือขาขึ้นเล็กน้อย
  • กำไร = ค่า Premium
  • ขาดทุน = ไม่จำกัด

📌 ลุ้นให้ราคาปรับตัวลง แต่ต้องลงไม่ถึง Strike Price เพราะคุณอยู่ในสถานะขาย หมายความว่า คุณอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ Long Put

ตารางสรุปสัญญาสิทธิ Options ทั้งหมด

Call

Put

Long

▪ ใช้ทำกำไรในช่วงตลาดขาขึ้น

▪ กำไรไม่จำกัด

▪ ขาดทุนเท่าค่า Premium

▪ เหมาะกับมือใหม่

ลุ้นให้ขึ้นสูงกว่า Strike Price 

▪ ใช้ทำกำไรในช่วงตลาดขาลง

▪ กำไรไม่จำกัด

▪ ขาดทุนเท่าค่า Premium

▪ เหมาะกับมือใหม่

ลุ้นให้ลงต่ำกว่า Strike Price 

Short

▪ ใช้ทำกำไรในช่วงตลาด Sideway หรือขาลงเล็กน้อย

▪ กำไรเท่าค่า Premium

▪ ขาดทุนไม่จำกัด

ลุ้นให้ขึ้นแต่ต้องขึ้นไม่ถึง Strike Price 

▪ ใช้ทำกำไรในช่วงตลาด Sideway หรือขาขึ้นเล็กน้อย

▪ กำไรเท่าค่า Premium

▪ ขาดทุนไม่จำกัด

ลุ้นให้ลงแต่ต้องลงไม่ถึง Strike Price 

. . . . . . . . . . . . . . .

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา Option คืออะไร?

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นหรือลงของราคา Options สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ปัจจัยหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ราคาสินค้าอ้างอิง (Spot Price)
  • ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)
  • เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุ (Time to Maturity)
  • การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)
  • การเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลสินค้าอ้างอิง (Dividend)
  • ความผันผวนของสินค้าอ้างอิง (Volatility)

การเปลี่ยนแปลง

ราคา Call Option

ราคา Put Option

ราคาสินค้าอ้างอิง (Spot Price)

ขึ้น

สูงขึ้น

ต่ำลง

ลง

ต่ำลง

สูงขึ้น

ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)

ขึ้น

ต่ำลง

สูงขึ้น

ลง

สูงขึ้น

ต่ำลง

เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุ (Time to Maturity)

ระยะเวลามาก

สูงขึ้น

สูงขึ้น

ระยะเวลาน้อย

ต่ำลง

ต่ำลง

อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)

ขึ้น

สูงขึ้น

ต่ำลง

ลง

ต่ำลง

สูงขึ้น

เงินปันผลของสินค้าอ้างอิง (Dividend)

ขึ้น

ต่ำลง

สูงขึ้น

ลง

สูงขึ้น

ต่ำลง

ความผันผวนของสินค้าอ้างอิง (Volatility)

ขึ้น

สูงขึ้น

สูงขึ้น

ลง

ต่ำลง

ต่ำลง

. . . . . . . . . . . . . . .

สัญลักษณ์ที่ใช้ซื้อขาย Options

ในการเทรด Options จำเป็นต้องเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในการซื้อขาย เพื่อที่คุณจะได้เลือกลงทุนอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สัญลักษณ์ Option

โดยแต่ละตัวย่อมีความหมาย ดังนี้

สัญลักษณ์

ความหมาย

S50

สินค้าอ้างอิง คือ SET50 Index

U

รุ่นของ Option ซึ่งจะบ่งบอกถึงเดือนในการส่งมอบ (หมดอายุ) โดยแบ่งตามไตรมาสทุก 3 เดือน

     ▪ H = ส่งมอบเดือน มี.ค.

     ▪ M = ส่งมอบเดือน มิ.ย.

     ▪ U = ส่งมอบเดือน ก.ย.

     ▪ Z = ส่งมอบเดือน ธ.ค.

21

ปีที่ส่งมอบ (หมดอายุ) เช่น 21 = ปี 2021

C

ประเภทของสิทธิในการซื้อขาย DW

     ▪ C = Call DW

     ▪ P = Put DW

950

ราคาใช้สิทธิ เช่น ใช้สิทธิที่ 950 จุด

. . . . . . . . . . . . . . .

ATM, ITM, OTM ของ Option คืออะไร?

moneyness option คือ

Moneyness คืออะไร?

ATM, ITM, OTM ที่คุณอาจเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง เราเรียกกันว่า Moneyness คือ สถานะทางการเงินของ Options ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าอ้างอิง และราคา Options เพื่อใช้พิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ITM (In The Money)
  • ATM (At The Money)
  • OTM (Out of The Money)


Call Options

Put Options

In The Money

(ITM)

Strike Price < Spot Price

Strike Price > Spot Price

📌 ค่า Premium ณ ราคา ITM จะมีมูลค่าสูงที่สุด เนื่องจากมีโอกาสที่นักลงทุนจะใช้สิทธิและทำกำไรได้สูง

At The Money

(ATM)

Strike Price = Spot Price

📌 ในแต่ละรุ่นของ Option จะมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น

Out of the Money

(OTM)

Strike Price > Spot Price

Strike Price < Spot Price

📌 ค่า Premium ณ ราคา OTM จะมีมูลค่าต่ำที่สุด เนื่องจากราคาใช้สิทธิอยู่ห่างจากราคาดัชนีมาก ทำให้มีโอกาสที่นักลงทุนจะได้ใช้สิทธิและทำกำไรน้อย

📌 Tip! สถานะ ITM คือ สถานะที่มี Volume การซื้อขายสูงสุด ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่ำมากกว่าสถานะอื่น ๆ

. . . . . . . . . . . . . . .

⭐ ตัวอย่างการเทรด Options ในสนามจริง⭐

. . . . . . . . . . . . . . .

สำหรับตัวอย่างการเทรด เพื่อจำลองการลงสนามจริง เราจะแบ่งการอธิบายออกเป็น 6 หัวข้อหลัก เพื่อความเข้าใจง่าย และเป็นแนวทางในการเทรด Options ของคุณ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เลือกลงทุนใน Options ง่าย ๆ
  • การคิดต้นทุนของ Long Options และ Short Option
  • การคิดกำไรและขาดทุนในการเทรด Options
  • กลยุทธ์การเทรด Options
  • ลักษณะของ Options
  • ตัวอย่างการซื้อขาย Options

4 สเต็ป! การเลือกลงทุนใน Options ง่ายๆ

  1. เลือก Underlying หรือ ดัชนี SET50 Index ที่คุณสนใจ
  2. วิเคราะห์กราฟราคาดัชนี SET50 Index ว่า คุณควรเทรดไปในทิศทางใด
  3. เลือกรุ่นของ Options ซึ่งจะบ่งบอกว่า Options หมดอายุในวันใด และเดือนใด
  4. เลือก Strike Price (ราคาใช้สิทธิ) ที่คุณคาดการณ์ว่า ราคาดัชนี SET50 Index จะไปถึงตามที่คุณวิเคราะห์แนวทางการเทรดไว้

การคิดต้นทุนของ Long Options และ Short Options

Long Options

Short Options

ต้นทุนที่ต้องจ่าย

(Total Cost)

▪ ค่า Premium

▪ ค่าธรรมเนียมซื้อขาย

▪ ค่าภาษี

▪ ค่าธรรมเนียมซื้อขาย

▪ ค่าภาษี

▪ ต้องวางหลักประกันเท่าค่า Premium

หมายเหตุ: ระบบจะเตือนว่า คุณต้องวางหลักประกันเพิ่มเมื่อมีสภาวะขาดทุนสูง 

การวางหลักประกัน

(Margin)

▪ ไม่ต้องวางหลักประกัน

▪ ต้องวางหลักประกันเท่าค่า Premium

กำไรที่ได้รับ

 (Profit)

▪ รับกำไรเมื่อปิดสัญญา หรือสัญญาหมดอายุ

▪ รับกำไรเท่าค่า Premium

▪ รับ Margin ส่วนที่เหลือคืน เมื่อปิดสัญญา หรือสัญญาหมดอายุ แต่ยัง ITM

การคิดกำไรและขาดทุนในการเทรด Options

ในการคิดกำไรและขาดทุนจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ค่า Premium และ Strike Price โดยในแต่ละสัญญาจะมีกำไรขาดทุนสูงสุด รวมถึงจุดคุ้มทุนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กำไรและขาดทุนสูงสุดของแต่ละสัญญา Options
  • จุดคุ้มทุนของแต่ละสัญญา Options

กำไรและขาดทุนสูงสุดของแต่ละสัญญา Options

กำไรสูงสุด

ขาดทุนสูงสุด

Long Call

ไม่จำกัด

Premium

Short Call

ค่า Premium

ไม่จำกัด

Long Put

ไม่จำกัด

Premium

Short Put

ค่า Premium

ไม่จำกัด

จุดคุ้มทุนของแต่ละสัญญา Options

จุดคุ้มทุน

Long Call

Strike Price + Premium

Short Call

Strike Price + Premium

Long Put

Strike Price - Premium

Short Put

Strike Price - Premium

สูตรการคิดกำไรขาดทุนของสัญญา Options

กำไรขาดทุน

Long Call และ Long Put

Short Call และ Short Put

กรณีใช้สิทธิ

(Premium ล่าสุด - Premium ต้นทุน) x 200

(Premium ต้นทุน - Premium ล่าสุด) x 200

กรณีไม่ใช้สิทธิ

(รอให้ครบกำหนดสัญญา)

(Spot Price ล่าสุด - Spot Price ต้นทุน) x 200

*หมายเหตุ: Premium ต้นทุน จะต้องเป็น Premium ที่คุณเริ่มทำกำไรได้ เช่น ราคาใช้สิทธิ 1,000 จุด มีค่า Premium ที่ 10.2 แต่เมื่อคุณนำมาคิดกำไรขาดทุน คุณจะต้องใช้ค่า Premium ต้นทุนที่ 10.3 เนื่องจากหากคุณเปิด Long Call จุดที่จะได้รับกำไรอย่างแท้จริงจะอยู่ที่ 1,010.3

. . . . . . . . . . . . . . .

กลยุทธ์การเทรด Options

เทคนิคการเทรด Options เบื้องต้น

กรณีไม่ใช้สิทธิจนหมดอายุออปชัน

(Hold To Maturity)

กรณีใช้สิทธิก่อนหมดอายุออปชัน

(Trading)

ระยะเวลาการถือสัญญา

▪ 1 เดือนขึ้นไป

▪ 1 วัน, 2 วัน, 1 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 1 เดือน

วัตถุประสงค์

▪ บริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน หรือเก็งกำไรในระยะยาว

▪ เก็งกำไรระยะสั้น

การเตรียมตัวที่สำคัญ

▪ จำเป็นต้องเตรียมต้นทุนในจำนวนมากกรณีเปิดสถานะฝั่ง Short Options เนื่องจากต้องวางหลักประกันทันที ณ ตอนเปิดสัญญา

▪ จำเป็นต้องเตรียมต้นทุนในจำนวนมากกรณีเปิดสถานะฝั่ง Short Options เนื่องจากต้องวางหลักประกันทันที ณ ตอนเปิดสัญญา

▪ ใช้ความรู้ด้านการเทรดทาง Technical มากกว่า Hold To Maturity

ข้อได้เปรียบของสัญญา Short Options

จากข้อมูลต่าง ๆ ที่คุณได้ศึกษามานั้น ดูเหมือนว่า การเปิดสัญญา Short Options ค่อนข้างเสียเปรียบ Long Options เนื่องจากทำกำไรได้จำกัด แต่ขาดทุนไม่จำกัด ซึ่งในความเป็นจริง Short Options ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงครับ โดยนิยมใช้เมื่อตลาดเป็น Sideways ที่เราคาดการณ์ได้ยากว่าจะขึ้นหรือลง

ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดกำลังเป็น Sideway หากคุณมีความรู้ทาง Technical ไม่มาก แต่พอมองออกว่า สภาวะ Sideway อาจอยู่ไปอีก 1 สัปดาห์ในภาพรวม จากนั้นเพียงแค่คุณเปิดสัญญา Shorts Options แล้วถือจนครบอายุสัญญาก็สามารถทำกำไรเทียบเท่าค่า Premium แล้ว

อีกหนึ่งกรณี หากคุณทำการเทรด Futures ในหุ้นรายตัวของ SET50 และตลาดเข้าสู่ช่วงสภาวะ Sideway คุณอาจต้องสูญเสียกำไรอย่างหนักจากความผันผวนเพียงเล็กน้อยที่อาจเข้าไปสะกิดจุด Stop Loss ของคุณ ดังนั้น คุณสามารถเปิดสัญญา Short Options เพื่อนำกำไรไปชดเชยกับการขาดทุนที่คุณต้องเสียไปในการเทรด Futures ได้ รวมถึงค่า Premium และ Time Decay ยังมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ เมื่อทิศทางของสินค้าอ้างอิงเป็นไปตามที่คาดการณ์อีกด้วย

ลักษณะของ Option

หากคุณอ่านมาจนถึงตรงนี้ คงเข้าใจรูปแบบการเทรด Options ระดับหนึ่งแล้ว โดยหน้าตาเมื่อคุณเข้าไปในโปรแกรมเทรดจะมีลักษณะดังรูปข้างล่าง ซึ่งจะแสดงส่วนสำคัญอยู่ 3 อย่าง ดังนี้

  • ค่า Premium ฝั่ง Call จะถูกใช้เป็นราคา Bid
  • ค่า Premium ฝั่ง Put จะถูกใช้เป็นราคา Offer
  • Spot Price คือ ราคาดัชนี SET50 Index ณ ปัจจุบัน

option คือ

ตัวอย่างการซื้อขาย Options

สมมติ ราคาดัชนี SET50 Index ณ วันที่ 10 ก.ย. 2565 อยู่ที่ 966.93 จุด ซึ่งเราได้ทำการวิเคราะห์กราฟ และคาดการณ์ว่า ราคาดัชนี SET50 Index มีโอกาสสูงที่จะเพิ่มขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ เราจึงเลือกใช้สิทธิ Long Call ใน Option รุ่น U ณ ราคาใช้สิทธิที่ 1,000 จุด ซึ่งมีค่า Premium อยู่ที่ 13.5

*หมายเหตุ: เนื่องจาก U เป็นรุ่นของ Option ที่จะครบกำหนดอายุภายในสิ้นเดือน ก.ย. ดังนั้น ค่า Premium จะถูกกว่าซีรีส์ที่มีเวลาคงเหลือมากกว่า ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการเลือกรุ่นของ Option

ต้นทุนที่คุณต้องจ่าย

สูตร (Premium x Lot Size)

13.5 x 200 = 2,700 บาท

(ยังไม่ Vat และค่าธรรมเนียม)

หมายความว่า คุณต้องจ่ายเงินจำนวน 2,700 บาท เพื่อแลกกับการซื้อสิทธิในการซื้อดัชนี SET50 Index ณ 1,000 จุด ซึ่งคุณจะได้รับกำไรเมื่อดัชนี SET50 Index ขึ้นไปสูงกว่า 1,013.5 จุด (ต้นทุน + Premium)

. . . . . . . . . . . . . . .

กรณีใช้สิทธิ Option ก่อนวันครบกำหนดอายุ (ได้รับกำไร)

สมมติ เมื่อเวลาผ่านไป 3 วัน ราคาดัชนี SET50 Index เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 975 จุด โดยมีค่า Premium อยู่ที่ 15.7 คุณจึงทำการตัดสินใจว่าจะทำกำไรทันที ไม่รอให้ดัชนีขึ้นถึง 1,000 จุด

กำไรที่คุณจะได้รับ

สูตร (Premium ล่าสุด - Premium ต้นทุน) x 200

(15.7 - 13.6) x 200 = 420 บาท

(ยังไม่รวม Vat และค่าธรรมเนียม)

หมายความว่า หากคุณตัดสินใจทำกำไรก่อนที่ดัชนี SET50 Index จะขึ้นไปถึงราคาใช้สิทธิที่คุณทำสัญญาไว้ (1,000 จุด) คุณจะได้รับกำไร 420 บาท

*หมายเหตุ: Premium ต้นทุน ต้องเป็น Premium ที่คุณเริ่มทำกำไรได้

. . . . . . . . . . . . . . .

กรณีไม่ใช้สิทธิ Option จนวันครบกำหนดอายุ (ได้รับกำไร)

สมมติ เมื่อเวลาผ่านไป 8 วัน ราคาดัชนี SET50 Index เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,100 จุด (สูงกว่าราคาใช้สิทธิ) คุณจึงตัดสินใจทำกำไร ณ จุดนี้ เพราะคาดว่า ราคาดัชนีอาจไม่ขึ้นสูงกว่านี้แล้ว

กำไรที่คุณจะได้รับ

สูตร (Spot Price ล่าสุด - Spot Price ต้นทุน) x 200

(1,100 - 1,000) x 200 = 20,000 บาท

(ยังไม่รวม Vat และค่าธรรมเนียม)

หมายความว่า หากคุณไม่ใช้สิทธิและรอให้ดัชนี SET50 Index ขึ้นสูงกว่าราคาใช้สิทธิ คุณจะได้รับกำไร 20,000 บาท

. . . . . . . . . . . . . . .

กรณีไม่ใช้สิทธิ Option จนวันครบกำหนดอายุ (ขาดทุน)

สมมติ เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงวันสุดท้ายของการซื้อขาย Option รุ่น U แต่ราคาดัชนี SET50 Index ไม่เพิ่มขึ้นจนถึงราคาใช้สิทธิของคุณตามที่คุณวิเคราะห์ไว้ หมายความว่า คุณจะขาดทุนสูงสุดเท่ากับค่า Premium ที่คุณจ่ายไปเท่านั้น คือ 2,700 บาท (ยังไม่รวม Vat และค่าธรรมเนียม) เนื่องจากคุณทำสัญญา Long Call

. . . . . . . . . . . . . . .

สรุป Option คืออะไร มีลักษณะอย่างไร

โดยทั่วไปเรามักจะทำการเทรดหุ้นรายตัว ซึ่งสามารถทำกำไรได้ในสภาวะตลาดขาขึ้น และมีโอกาสเก็งกำไรได้ในสถานะผู้ซื้อเท่านั้น แต่ Options เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้ค่อนข้างดี โดยออปชัน (Options) คือ สัญญาสิทธิที่เป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ โดยคุณสามารถเป็นได้ทั้ง “ผู้ซื้อ (Long) และ “ผู้ขาย (Short)” รวมทั้งมี “สิทธิซื้อ (Call)” และ “สิทธิขาย (Put)” แต่ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าพรีเมียม (Premium) เพื่อแลกกับการจองสิทธิ ณ ราคานั้น ๆ

และมีการซื้อขายผ่านตลาด TFEX ด้วยราคาที่มีความสัมพันธ์กับดัชนี SET50 Index หรือที่เรียกกันว่า SET50 Options แต่มีต้นทุนที่ถูกกว่ามากจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่อาจยังไม่พร้อมแบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ เช่น Forex และ Cryptocurrency

นอกจากนี้ หลายคนอาจมองว่า หากต้องการทำกำไรในสภาวะตลาดขาลงก็สามารถเทรด Futures ได้ แต่ทราบไหมครับว่า? การเทรด Futures มีความผันผวนที่สูงกว่า Options มาก ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ Options เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก Futures โดยเฉพาะในช่วงตลาด Sideway ด้วยการเปิดสัญญา Short Options

อย่างไรก็ตาม การเทรด Options สำหรับมือใหม่ค่อนข้างซับซ้อน และมีปัจจัยสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจสูง หากใครอยากลองเทรด Options อาจเริ่มจากการเล่นหุ้น DW ก็ได้ครับ มีวิธีการที่ค่อนข้างง่ายกว่า แต่ใช้หลักการเดียวกับการเทรด Options ทั้งนี้ การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

หากใครสนใจศึกษาหุ้น DW สามารถอ่านเพิ่มเติมที่นี่ 👈

. . . . . . . . . . . . . . .

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Option คืออะไร มีลักษณอย่างไร

การเทรด Option คืออะไร มีลักษณะอย่างไร

ออปชัน (Options) คือ สัญญาสิทธิที่เป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ โดยคุณสามารถเป็นได้ทั้ง “ผู้ซื้อ (Long) และ “ผู้ขาย (Short)” รวมทั้งมี “สิทธิซื้อ (Call)” และ “สิทธิขาย (Put)” แต่ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าพรีเมียม (Premium) เพื่อแลกกับการจองสิทธิ ณ ราคานั้น ๆ

Futures กับ Option ต่างกันอย่างไร

– Futures คือ สัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงจะซื้อขายสินค้า โดยกำหนดราคาตั้งแต่วันนี้ แต่ส่งมอบและชำระเงินในอนาคต
– Options คือ สัญญาที่ผู้ซื้อได้รับ “สิทธิซื้อ” หรือ “สิทธิขาย” สินทรัพย์อ้างอิงตามราคา จำนวน และระยะเวลาที่ระบุไว้จากผู้ขาย

เทรด Option โบรกไหนดี

คุณควรเลือกโบรกในการเทรด Option ที่มีความน่าเชื่อถือ

Call Option คืออะไร

Call Options คือ สิทธิในการ “ซื้อ” สินค้าอ้างอิงในราคาและปริมาณที่กำหนดไว้ตามสัญญา

Put Option คืออะไร

Put Options คือ สิทธิในการ “ขาย” สินค้าอ้างอิงในราคาและปริมาณที่กำหนดไว้ตามสัญญา

Long Call Option คืออะไร

Long Call Options คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปซื้อสิทธิในการซื้อ SET50 Options

Short Call Option คืออะไร

Short Call Options คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปขายสิทธิในการซื้อ SET50 Options

Long Put Option คืออะไร

Long Put Options คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปซื้อสิทธิในการขาย SET50 Options

Short Put Option คืออะไร

Short Call Options คือ การทำสัญญาที่คุณเข้าไปขายสิทธิในการซื้อ SET50 Options

สถานภาพของ Put Options คืออะไร

คุณสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิในสถานะ “ผู้ซื้อ (Long)” หรือ “ผู้ขาย (Short)” ในสัญญา Put Options

Strike Price คืออะไร

Strike Price คือ ราคาใช้สิทธิของ Options

European Option คืออะไร

ตราสารสิทธิแบบยุโรป (European option) คือ ตราสารที่สามารถใช้สิทธิได้เมื่อถึงวันสิ้นสิทธิ

ตราสารอนุพันธ์ คืออะไร

ตราสารอนุพันธ์ คือ สัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อให้สิทธิในการซื้อหรือขาย “สินค้าอ้างอิง” (Underlying Asset)

Set50 Option เล่นยังไง

คุณสามารถศึกษารายละเอียดทั้งหมดได้ในบทความนี้ โดยเราทำการสรุปให้เข้าใจง่าย เพื่อตอบโจทย์สำหรับมือใหม่

Set50 Option หลักประกัน คืออะไร

Set50 Option หลักประกัน หรือ Margin คือ เงินประกันที่นักลงทุนต้องจ่ายให้กับโบรกเกอร์ก่อนทำสัญญาซื้อขายในกรณีเปิด Short Options

เปิดสัญญา Option ได้กี่สัญญา

นักลงทุนสามารถถือ SET50 Index Futures และ SET50 Index Options รวมกันไม่เกิน 20,000 สัญญา


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter