Stochastic คืออะไร? Oscillator Indicator “ลูกรัก” สายเทรดสั้น

Table of Contents
Stochastic

เทคนิคการเทรด Forex ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การเทรดสั้น เช่น Day Trade, Scalping และ Swing Trade เนื่องจากสามารถทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว และมีโอกาสทำกำไรหลายครั้งต่อวัน โดยตัวช่วยที่ดีที่สุดในการเทรดสั้น คือ Oscillator Indicator โดยเฉพาะ “Stochastic” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “STO”

“Stochastic ลูกรักสายเทรดสั้น มีระบบเทรดคล้ายกับ RSI แต่สามารถใช้งานได้ดีกว่าในตลาด Sideway”

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ และไม่ควรเชื่อในสัญญาณเทรดจากอินดิเคเตอร์เพียงตัวเดียว เพราะอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น คุณควรใช้เทคนิคการเทรดอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือวิเคราะห์ร่วมด้วย

. . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . .

Stochastic Oscillator คืออะไร?

Stochastic Oscillator คืออะไร

Stochastic (STO) คือ Indicator ประเภท Oscillator ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคา หรือทำนายทิศทางราคาสินทรัพย์ในอนาคต โดยสามารถใช้ได้ในทุกสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็น Stock, Commodity, Crypto และ Forex ซึ่ง Stochastic มีให้บริการในโปรแกรมเทรดทั้ง MT4 และ MT5 รวมถึง TradingView

*หมายเหตุ: Stochastic Oscillator ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกตลาดโดยเฉพาะการเทรดสั้น Forex เช่น Day Trading (Intraday Trading), Scalping Trading และ Swing Tranding

ผู้คิดค้น Stochastic Oscillator คือใคร?

ผู้คิดค้น Stochastic Oscillator คือใคร

จากข้อมูลหลายแห่งทำให้เชื่อว่า Stochastic Oscillator ถูกคิดค้นมาจาก George C. Lane เมื่อปลายปี 1950 แต่มีอีกสมมติฐานที่เป็นข้อถกเถียงว่า บริษัท Investor Educatur คือ ผู้คิดค้น Stochastic เนื่องจากบริษัทนี้ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Stochastic Process ซึ่งมีเนื้อหาเรื่อง Stochastic Indicator ร่วมด้วย

Stochastic RSI คืออะไร?

Stochastic และ RSI คือ Indicator ยอดนิยมของการเทรดสั้น โดยอินดิเคเตอร์ 2 ตัวนี้ มีองค์ประกอบที่ค่อนข้างคล้ายกัน จึงทำให้เทรดเดอร์หลายคนมักเรียกรวมกันว่า Stochastic RSI แต่มันมีการคำนวณที่แตกต่างกันนะครับ จึงทำให้ Stochastic ให้สัญญาณที่เร็วกว่า RSI มาก แต่คุณก็สามารถพบสัญญาณหลอกได้มากกว่าเช่นกัน (ตารางสรุปความแตกต่างของ Stochastic และ RSI)

Stochastic Oscillator บอกอะไรบ้าง?

  • ภาวะ Overbought และ Oversold
  • สัญญาณการกลับตัว (Breakout)
  • คอนเฟิร์มแนวโน้มในอนาคต
  • จุดเข้าซื้อขายด้วย Crossover
  • จุดเข้าซื้อขายด้วย Divergence

ข้อดี-ข้อเสียของ Stochastic

ข้อดี Stochastic

  • มีการใช้งานที่ง่าย
  • สามารถใช้หาจุดกลับตัวได้แม่นยำ
  • มีองค์ประกอบหลายส่วนที่นำมาวิเคราะห์แนวโน้มได้
  • ให้สัญญาณค่อนข้างเร็ว
  • สามารถใช้ได้ในทุกสภาวะตลาด

ข้อเสีย Stochastic

  • พบสัญญาณหลอกได้ง่าย
  • ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นเพื่อยืนยันสัญญาณ
  • ไม่เหมาะกับการเทรดยาว

RSI กับ Stochastic ต่างกันอย่างไร
  • STO บอกสัญญาณได้เร็วกว่า RSI
  • STO คำนวณด้วยราคาปัจจุบัน แต่ RSI คำนวณด้วยราคา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง
  • การใช้ STO จะได้เปรียบในการกำหนดจุดเข้าซื้อ-ขายมากกว่า RSI
  • STO ใช้ในช่วงที่ตลาดเป็น Sideway ได้ดีกว่า RSI
  • การใช้ STO มักพบสัญญาณหลอกได้บ่อยกว่า RSI

Stochastic RSI คืออะไร?

Stochastic และ RSI คือ Indicator ยอดนิยมของการเทรดสั้น โดยอินดิเคเตอร์ 2 ตัวนี้ มีองค์ประกอบที่ค่อนข้างคล้ายกัน จึงทำให้เทรดเดอร์หลายคนมักเรียกรวมกันว่า Stochastic RSI แต่มันมีการคำนวณที่แตกต่างกันนะครับ จึงทำให้ Stochastic ให้สัญญาณที่ค่อนข้างเร็วกว่า RSI มาก แต่คุณก็สามารถพบสัญญาณหลอกได้มากกว่าเช่นกัน

ตารางสรุปความแตกต่างของ RSI กับ Stochastic

RSIStochastic
สัญญาณใช้เส้นสัญญาณเส้นเดียวในการวัดความผันผวนด้วยค่าดัชนี 0-100 โดยระดับสำคัญอยู่ที่ 30 และ 70ใช้เส้นสัญญาณ 2 เส้นในการวัดความผันผวนด้วยค่าดัชนี 0-100 โดยระดับสำคัญอยู่ที่ 20 และ 80
ค่ามาตรฐานRSI = 14%K = 14
%D = 1 หรือ 3
Smooth = 3
แนวคิดวัดความเร็วและความผันผวนของราคาล่าสุดวัดความแข็งแกร่งของราคา
Overbought และ Oversold ในช่วงตลาดเป็น Sidewaysไม่ให้สัญญาณให้สัญญาณ
Crossoverสะท้อนทิศทางตลาดโดยรวมให้สัญญาณระยะสั้น
การใช้งานใช้หาสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มใช้ในแนวโน้มที่แข็งแกร่งสำหรับการเทรดระยะสั้น

📢 Stochastic สามารถบอกได้ทั้งภาวะ Overbought, Oversold และ Divergence รวมถึงการเกิด Crosscover ที่เหมือนกับ RSI แต่ให้ความแม่นยำมากกว่าโดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเป็น Sideway ดังนั้น Stochastic จึงเหมาะอย่างยิ่งในการเทรดสั้นจนขึ้นแท่นเป็น “อินดิเคเตอร์ลูกรัก”

ส่วนประกอบของ Stochastic Oscillator Indicator

  • เส้นสีฟ้า คือ %K (Fast Stochastic)
  • เส้นสีแดง คือ %D (Slow Stochastic)
  • ระดับ 80 คือ ค่า Stochastic Oscillator ที่ใช้ดูภาวะ Overbought
  • ระดับ 20 คือ ค่า Stochastic Oscillator ที่ใช้ดูภาวะ Oversold

สูตร Stochastic Oscillator คำนวณด้วยการเปรียบเทียบราคาปิดปัจจุบัน (Close) กับช่วง High และ Low ของราคาที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบว่า ราคาปัจจุบันอยู่ในช่วงการแกว่งตัวสูงหรือต่ำ และดูว่า แนวโน้มใดแข็งแกร่งกว่ากันในช่วงนั้น ซึ่งมีค่าสำคัญอยู่ 2 ค่า คือ %K และ %D โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. สูตร %K (Fast Stochastic)

%K = (Current Close – Lowest Low) / (Highest High – Lowest Low) * 100

ความหมายของตัวแปร

  • %K คือ ตัวแทนของราคาที่เป็นค่าหลักที่เราใช้พิจารณา
  • Current Close คือ ราคาปิด ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน หรือราคาปัจจุบัน
  • Lowest Low คือ ราคาต่ำสุด ณ ช่วงที่พิจารณา
  • Highest High คือ ราคาสูงสุด ณ ช่วงที่พิจารณา

2. สูตร %D (Slow Stochastic)

%D = 3-day SMA of %K

ความหมายของตัวแปร

  • %D คือ การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ SMA 3 วันของเส้น %K

*หมายเหตุ: ในกรณีที่ตลาดมีความผันผวนสูงจนทำให้ราคาวิ่งแรง เราจะดูเส้น %D ก่อนเส้น %K เนื่องจาก %K ตอบสนองต่อราคาเร็วกว่า จึงทำให้อาจอ่อนไหวไปตามความผันผวน แต่ %D จะไม่ค่อยขยับ ดังนั้น การทำเช่นนี้จะช่วยลดความไขว้เขวต่อความผันผวน

📢 เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ค่าเริ่มต้น คือ Stochastic Oscillator 5, 3, 3

จากสูตร Stochastic Oscillator ในหัวข้อก่อนหน้านี้ คุณจะเห็นว่า Stochastic คือ อินดิเคเตอร์ที่มีการนำราคาปัจจุบันเข้ามาคำนวณด้วย และนี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ Stochastic สามารถส่งสัญญาณได้ค่อนข้างเร็วกว่าอินดิเคเตอร์ตัวอื่น

ซึ่งจะแสดงผลออกมาเป็นดัชนี 0-100 โดยมีเส้นสัญญาณอยู่ 2 เส้นใน Indicator ได้แก่ %K (Fast Stochastic) และ %D (Slow Stochastic) ซึ่งจะมีค่าเริ่มต้นอยู่ที่ 5 และ 3 ตามลำดับ ดังรูป

วิธีการตั้งค่า Stochastic Oscillator

วิธีการตั้งค่า Stochastic Forex

คุณสามารถกำหนดค่า “Slowing” หรืออาจเรียกว่า “Smooth” ซึ่งเป็นหน่วยถ่วงน้ำหนักสำหรับ %K ได้ตามความต้องการของตนเอง โดยมีค่าเริ่มต้นอยู่ที่ 3 แต่คุณสามารถปรับเปลี่ยนค่าให้เป็น 1 ได้ เพื่อให้เส้น %K ตอบสนองต่อราคาที่เร็วขึ้น ดังนี้

  • (Slowing,Smooth) = 3 หมายความว่า “Slow Stochastic”
  • (Slowing,Smooth) = 1 หมายความว่า “Fast Stochastic”

*หมายเหตุ: ถึงแม้ Fast Stochastic จะให้การตอบสนองต่อราคาที่เร็วกว่า Slow Stochastic แต่ก็สามารถเกิดสัญญาณได้มากกว่าเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมตั้งค่า Slow Stochastic Oscillator มากกว่า

นอกจากนี้ ในช่อง “Method” คุณยังสามารถเลือกใช้เส้นต่าง ๆ ได้ โดยมีอยู่ 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีการคำนวณ และการให้สัญญาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดและกลยุทธ์การเทรดของแต่ละบุคคล แต่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ค่าดั้งเดิม คือ Simple

Stochastic Oscillator ค่ามาตรฐาน

  • Simple คือ การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) และแสดงออกมาเป็นเส้นเรียบแบบคลาสสิก
  • Exponential คือ การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (EMA) และแสดงออกมาเป็นเส้นเรียบ
  • Linear Weighted คือ การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักเชิงเส้น (LWMA)
  • Smoothed คือ การปรับเส้นให้เรียบเป็นสองเท่า เนื่องจากคุณสมบัติของการทำให้เรียบแบบ MA (Smoothed MA)

*หมายเหตุ : สำหรับค่า Slowing หรือ Smooth ส่วนใหญ่จะนิยมตั้งค่าที่ 1 และ 3 โดยค่า Fast Stochastic เป็นค่าดั้งเดิมของ Stochastic Oscillator แต่ค่า Slow Stochastic ถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นมา โดยใช้ Slowing หรือ Smooth เข้ามาถ่วงน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการเกิดสัญญาณหลอก

ค่ามาตรฐาน Stochastic Oscillator คือเท่าไร?

  • ค่ามาตรฐานของ Stochastic Oscillator อยู่ที่ 5, 3, 3

ค่าที่นิยมของ Stochastic Oscillator คือเท่าไร?

  • ค่าที่นิยมของ Stochastic Oscillator อยู่ที่ 14, 3, 3 และ 21, 5, 5

วิธีการใช้ Stochastic ทำกำไรในตลาด Forex

วิธีการใช้ Stochastic Oscillator เพื่อทำกำไรในตลาดต่าง ๆ มีหลักการเดียวกัน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 สัญญาณหลัก ได้แก่ Overbought/Oversold, Crossover และ Divergence ซึ่งสัญญาณทั้งหมดนี้สามารถใช้ดูประกอบร่วมกันได้ เพื่อยืนยันสัญญาณให้ชัดเจนขึ้น

วิธีการใช้ Stochastic ทำกำไรในตลาด Forex
  1. การดู Overbought และ Oversold
  2. การดู Crossover เพื่อหาแนวโน้มและจุดเข้าซื้อขาย
  3. การดู Divergence เพื่อหาแนวโน้มและจุดเข้าซื้อขาย

สำหรับการดูภาวะ Overbought และ Oversold ด้วย Stochastic Indicator มีค่าระดับสำคัญอยู่ที่ 80 และ 20 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

สัญญาณความหมาย
Stoch > 80▪ ณ ราคาเกิดภาวะ Overbought
▪ มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวลง
เปิดออเดอร์ Sell ได้เปรียบมากกว่า 
Stoch > 20▪ ณ ราคาเกิดภาวะ Oversold
▪ มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวขึ้น
เปิดออเดอร์ Buy ได้เปรียบมากกว่า 

วิธีดู Stochastic กรณี Overbought

Overbought คือ ภาวะที่เกิดการซื้อมากเกินไป จนทำให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง จากนั้นนักลงทุนเริ่มขายสินทรัพย์ออกเพื่อทำกำไร บ่งบอกถึง มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวลง แม้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

วิธีการใช้ Stochastic ดู Overbought

📢 จากตัวอย่าง คุณจะเห็นว่า Stochastic Oscillator อยู่สูงกว่าระดับ 80 หมายความว่า ราคากำลังเกิดภาวะ Overbought ซึ่งมีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวลง ดังนั้น การเปิดออเดอร์ Sell จึงได้เปรียบมากกว่า

วิธีดู Stochastic กรณี Oversold

Oversold คือ ภาวะที่เกิดการขายมากเกินไป จนทำให้ราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง จากนั้นสินทรัพย์มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดแก่นักลงทุน บ่งบอกถึง มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวขึ้น แม้อยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

วิธีการใช้ Stochastic ดู Oversold

📢 จากตัวอย่าง คุณจะเห็นว่า Stochastic Oscillator อยู่ต่ำกว่าระดับ 20 หมายความว่า ราคากำลังเกิดภาวะ Oversold ซึ่งมีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวขึ้น ดังนั้น การเปิดออเดอร์ Buy จึงได้เปรียบมากกว่า

*หมายเหตุ: หากเกิดการ Crossover ของเส้น %K และ %D ในโซน Overbought หรือ Oversold จะถือเป็นการยืนยันสัญญาณให้แม่นยำยิ่งขึ้น

สำหรับการดู Divergence ด้วย Stochastic Oscillator ถือว่า เป็นการให้สัญญาณที่ค่อนข้างมีความแม่นยำสูง สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคต และหาจุดเข้าซื้อขาย ซึ่งสัญญาณ Divergence ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาเป็นจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของรอบนั้น ๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

Stoch Divergenceสัญญาณความหมาย
Bullish Divergenceราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง
Stoch บอกทิศทางเป็นขาขึ้น
▪ Stoch < 20
▪ %K ตัด %D ขึ้นไป
▪ มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวเป็น แนวโน้มขาขึ้น
เปิดออเดอร์ Buy ได้เปรียบมากกว่า
Bearish Divergenceราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
Stoch บอกทิศทางเป็นขาลง
▪ Stoch > 80
▪ %K ตัด %D ลงมา
▪ มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวเป็น แนวโน้มขาลง
เปิดออเดอร์ Sell ได้เปรียบมากกว่า

ควรพิจารณาการเกิด Divergence ที่โซน Overbought และ Oversold เนื่องจากหากเกิด Divergence ที่โซนปกติจะถือเป็นสัญญาณระยะสั้น หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่ชั่วคราว

Stochastic Divergence คืออะไร?

📢 Divergence คือ การที่ราคาเคลื่อนในทิศทางที่สวนทางกับ Indicator ในที่นี้คือ STO โดยเมื่อราคาเกิด Divergence จะถือเป็นสัญญาณการกลับตัวที่สำคัญ และมักเกิดการ Crossover ควบคู่ไปด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ Bullish Divergence และ Bearish Divergence

วิธีดู Stochcastic Bullish Divergence

วิธีการใช้ Stochastic ดู Bullish Divergence

📢 Stochastic Bullish Divergence คือ Divergence ขาขึ้น เกิดขึ้นเมื่อราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง หรือลดลงเรื่อย ๆ (Lower High) แต่เส้น %K และ %D ปรับตัวขึ้น อยู่ในโซน Oversold ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น ดังนั้น การเปิดออเดอร์ Buy จึงได้เปรียบมากกว่า

*หมายเหตุ: ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิด Bullish Divergence ขึ้นจะต้องมีการ Crossover โดยเส้น %K ตัด %D ขึ้นไปในโซน Oversold จะถือเป็นการยืนยันสัญญาณให้แม่นยำยิ่งขึ้น

วิธีดู Stochcastic Bearish Divergence

วิธีการใช้ Stochastic ดู Bearish Divergence

📢 Stochastic Bearish Divergence คือ Divergence ขาลง เกิดขึ้นเมื่อราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หรือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (Higher High) แต่เส้น %K และ %D ปรับตัวลง อยู่ในโซน Overbought ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลง ดังนั้น การเปิดออเดอร์ Sell จึงได้เปรียบมากกว่า

*หมายเหตุ: ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิด Bearish Divergence ขึ้นจะต้องมีการ Crossover โดยเส้น %K ตัด %D ลงมาในโซน Overbought จะถือเป็นการยืนยันสัญญาณให้แม่นยำยิ่งขึ้น

สำหรับการดู Crossover ด้วย Stochastic Oscillator เพื่อหาจุดเข้าซื้อขายและคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคต เราจะให้ความสำคัญที่การตัดกันของเส้น %K และ %D โดยเมื่อไรที่เส้น %K ตัดกับเส้น %D จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Crossover” ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนในการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา แต่การดู Crossover ของ Stochastic มีข้อที่ต้องระวังมากกว่า RSI ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

สัญญาณความหมาย
%K ตัด %D ลงมาสัญญาณเตือนแนวโน้มขาลง
%K ตัด %D ขึ้นไปสัญญาณเตือนแนวโน้มขาขึ้น

การเกิด Crossover ของ Stoch จำเป็นต้องเกิดในโซน Overbought และ Oversold หรือมีการเกิด Divergence ร่วมด้วยเท่านั้น

วิธีดู Stochcastic Crossover ในโซน Overbought

วิธีการใช้ Stochastic ดู Crossover ในโซน Overbought

📢 จากตัวอย่าง เส้น %K ตัดเส้น %D ลงมา ส่งสัญญาณการเกิด Crossover ในโซน Overbought ซึ่งเป็นสัญญาณว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวลง ดังนั้น การเปิดออเดอร์ Sell จึงได้เปรียบมากกว่า

วิธีดู Stochcastic Crossover ในโซน Oversold

วิธีการใช้ Stochastic ดู Crossover ในโซน Oversold

📢 จากตัวอย่าง เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้นไป ส่งสัญญาณการเกิด Crossover ในโซน Oversold ซึ่งเป็นสัญญาณว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับตัวขึ้น ดังนั้น การเปิดออเดอร์ Buy จึงได้เปรียบมากกว่า

แชร์เทคนิค! การใช้ระบบเทรด Stochastic Oscillator (เทรดสั้น)

ในหัวข้อนี้ เราจะแบ่งการเทรดสั้นออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การเทรดแบบ Day Trading, Scalping และ Swing Trading โดยมีรายละเอียดดังนี้

รูปแบบการเทรดสั้นการตั้งค่า Stochastic
Day Trading15, 3, 3
Scalping13, 8, 8
Swing Trading6, 3, 3
ตั้งค่าระบบเทรด Stochastic Oscillator 15, 3, 3

เทคนิคสำหรับ Day Trading ของ Stochastic

  • เหมาะกับการใช้ Timeframe (TF) 1H
  • ใช้กับคู่สกุลเงินหลักได้ดี เช่น EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY และ USD/CHF รวมถึงการเทรดทอง
  • ใช้ Pivot Point เพื่อกำหนดจุด Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL)
  • ใช้อินดิเคเตอร์ Bollinger Bands (BB) เพื่อใช้ดูแนวโน้ม และยืนยันสัญญาณเข้าซื้อขาย

สัญญาณที่การเปิดออเดอร์ Buy ได้เปรียบ

  • กราฟแท่งเทียน “ปิดใต้” กรอบ BB
  • Stochastic Oscillator อยู่ต่ำกว่าระดับ 20 (Oversold)
  • Stochastic Oscillator ตัดเส้น 20 ขึ้นมา หรือตัด Oversold ขึ้นมา

สัญญาณที่การเปิดออเดอร์ Sell ได้เปรียบ

  • กราฟแท่งเทียน “ปิดเหนือ” กรอบ BB
  • Stochastic Oscillator อยู่เหนือกว่าระดับ 80 (Overbought)
  • Stochastic Oscillator ตัดเส้น 80 ขึ้นมา หรือตัด Overbought ขึ้นมา

ตั้งค่าระบบเทรด Stochastic Oscillator 13, 8, 8

เทคนิคสำหรับ Scalping Trading ของ Stochastic

  • ใช้ Pivot Point โดยตั้งค่าบน TF 1H เพื่อกำหนดจุด Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL)
  • ใช้ TF 30M เพื่อดูแนวโน้มภาพรวม
  • หลังจากนั้นใช้ TF 5M เพื่อหาจังหวะเข้าซื้อขาย
  • ใช้กับคู่สกุลเงินหลักได้ดี เช่น EUR/USD, GBP/USD, GBP/JPY, USD/JPY, AUD/USD, EUR/JPY และ USD/CHF

สัญญาณที่การเปิดออเดอร์ Buy ได้เปรียบ

  • ใช้ TF 30M เพื่อดูว่า Stochastic Oscillator เป็นแนวโน้มขาขึ้นหรือไม่
  • Stochastic Oscillator ต้องตัดเส้น 20 ขึ้นมา (Oversold) หรือเพิ่งผ่านระดับ 50 ขึ้นไป
  • จากนั้นใช้ TF 5M เพื่อหาจังหวะเข้าซื้อขาย

สัญญาณที่การเปิดออเดอร์ Sell ได้เปรียบ

  • ใช้ TF 30M เพื่อดูว่า Stochastic Oscillator เป็นแนวโน้มขาลงหรือไม่
  • Stochastic Oscillator ต้องตัดเส้น 80 ลงมา (Overbought) หรือเพิ่งหลุดระดับ 50 ลงไป
  • จากนั้นใช้ TF 5M เพื่อหาจังหวะเข้าซื้อขาย

ตั้งค่าระบบเทรด Stochastic Oscillator 6, 3, 3

เทคนิคสำหรับ Swing Trading ของ Stochastic

  • SMA (150)
  • RSI (3)
  • ใช้ Pivot Point โดยตั้งค่าบน TF 1MN

สัญญาณที่การเปิดออเดอร์ Buy ได้เปรียบ

  • ราคาต้องอยู่เหนือเส้น SMA (150)
  • ค่า RSI ต้องอยู่ต่ำกว่า 30
  • Stochastic Oscillator ต้องตัดระดับ 20 ขึ้นมา

สัญญาณที่การเปิดออเดอร์ Sell ได้เปรียบ

  • ราคาต้องอยู่ใต้เส้น SMA (150)
  • ค่า RSI ต้องอยู่สูงกว่า 70
  • Stochastic Oscillator ต้องตัดระดับ 80 ลงมา

เงื่อนไขการใช้ Stochastic Oscillator

⚠ Stochastic เป็นอินดิเคเตอร์ที่ให้สัญญาณค่อนข้างเร็ว ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการเทรดสั้น แต่ความเร็วในการให้สัญญาณต้องแลกมาด้วย “สัญญาณหลอก” ค่อนข้างมาก ดังนั้น การใช้งาน Stochastic ให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการยืนยันสัญญาณจากอินดิเคเตอร์ตัวอื่นทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเปิดออเดอร์

. . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . .

สรุประบบเทรด Stochastic Oscillator Indicator (STO)

Stochastic (STO, Stoch) คือ อินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคา หรือคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคต ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกโดยเฉพาะในการเทรดสั้น เนื่องจาก Stochastic Oscillator ให้สัญญาณที่เร็วกว่าอินดิเคเตอร์ตัวอื่น และสามารถใช้ประโยชน์จากการดูสัญญาณได้อย่างหลากหลาย

  • ใช้ดูภาวะ Overbought และ Oversold
  • ใช้ดูสัญญาณการกลับตัว (Breakout)
  • ใช้คอนเฟิร์มแนวโน้มในอนาคต
  • สามารถใช้ดูจุดเข้าซื้อขายด้วย Crossover
  • สามารถใช้ดูจุดเข้าซื้อขายด้วย Divergence

แต่ด้วยการให้สัญญาณที่รวดเร็ว ทำให้การใช้ Indicator ตัวนี้ในการเทรดค่อนข้างพบเจอกับสัญญาณหลอกได้ง่าย จึงจำเป็นมากที่ต้องดูสัญญาณยืนยันหลายอย่างประกอบกัน เพื่อลดโอกาสผิดพลาดในการเทรด

นอกจากนี้ Stochastic Oscillator ยังสามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ ได้ค่อนข้างดี ซึ่งในการวิเคราะห์กราฟราคา เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะนิยมใช้อินดิเคเตอร์ 2 ตัวขึ้นไป เพื่อคอนเฟิร์มสัญญาณการเข้าซื้อขายให้แน่ชัด และทำให้การเทรดมีประสิทธิภาพมากที่สุด

*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้ ไม่ใช่การแนะนำให้ลงทุนแต่อย่างใด และการลงทุนไม่ว่าจะในตลาดใดล้วนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้งครับ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Stochastis Oscillator

Stochastis Oscillator คืออะไร?

Stochastic Oscillator คือ อินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ที่นิยมใช้ในการเทรดสั้น เนื่องจากให้สัญญาณค่อนข้างเร็ว โดยบอกได้ทั้งสภาวะตลาดและกำหนดจุดเข้าซื้อ-ขาย โดยมีชื่อย่อว่า STO หรือ Stoch

Stochastic อ่านว่าอะไร?

Stochastic อ่านว่า สะ-โต-แคช-ติค

STO ย่อมาจากอะไร?

STO ย่อมาจาก Stochastic Oscillator หรือบางคนเรียกว่า Stoch

Stoch คืออะไร?

Stoch ย่อมาจาก Stochastic Oscillator ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งที่เราได้อธิบายไว้ในบทความข้างต้นแล้ว

ระบบเทรด Stochastic เหมาะกับการเทรดแบบไหน?

ระบบเทรด Stochastic เหมาะกับการเทรดสั้นเท่านั้น เนื่องจาก STO ให้สัญญาณค่อนข้างเร็ว แต่ก็สามารถพบสัญญาณหลอกได้ง่ายเช่นกัน

Stochastic บอกอะไรได้บ้าง?

  • ภาวะ Overbought และ Oversold
  • สัญญาณการกลับตัว (Breakout)
  • คอนเฟิร์มแนวโน้มในอนาคต
  • จุดเข้าซื้อขายด้วย Crossover
  • จุดเข้าซื้อขายด้วย Divergence

RSI กับ Stochastic ต่างกันอย่างไร?

RSI กับ Stochastic ต่างกันทั้งการให้สัญญาณ, ค่ามาตรฐาน, แนวคิด, Crossover และการใช้งาน ซึ่งคุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ค่ามาตรฐาน Stochastic Oscillator เท่าไร?

ค่ามาตรฐาน Stochastic Oscillator อยู่ที่ 5, 3, 3

การตั้งค่า Stochastic 9, 3, 3 คืออะไร?

การตั้งค่า Stochastic 9, 3, 3 คือ การตั้งค่าที่ใช้ในการเทรดสั้นแบบ Swing Trading

การตั้งค่า Stochastic 14, 3, 3 คืออะไร?

การตั้งค่า Stochastic 14, 3, 3 คือ ค่าที่นิยมของ Stochastic Oscillator


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
Picture of Traderbobo
Traderbobo

นักลงทุนในตลาด Forex และสินทรัพย์ทางการเงินด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย พร้อมแบ่งปันความรู้และกลยุทธ์การเทรด เพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในโลกการเงิน เหมาะสำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และมืออาชีพ

บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense