
EPS หรือกำไรต่อหุ้น หนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนใช้ในการวัดศักยภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้น! 📈✨
ตลาดหุ้นเป็นหนึ่งในตลาดการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับอย่างสูงในกลุ่มนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหุ้นคุณค่า (Value Stock) ที่มักให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างมั่นคงและมีเสถียรภาพสูง ซึ่งในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของบริษัทอย่างรอบคอบควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ตัวชี้วัดทางการเงินที่สำคัญ เช่น EPS หรือกำไรต่อหุ้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประเมินความคุ้มค่าและศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนของหุ้นนั้น ๆ
บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกว่า EPS คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และวิธีการคำนวณ EPS พร้อมตัวอย่างประกอบอย่างละเอียด เพื่อให้คุณเข้าใจและสามารถนำตัวชี้วัดนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
*หมายเหตุ : บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาเชิญชวนให้ลงทุนแต่อย่างใด เป็นเพียงการให้ความรู้เกี่ยวกับ EPS หรือกำไรต่อหุ้น เท่านั้น! นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจความเสี่ยงอย่างรอบคอบก่อนลงทุนทุกครั้งครับ
—————— 🐶 ——————
EPS คืออะไร?
EPS คือ อัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ (Net Profit) และ จำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว (Outstanding Shares) จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “EPS หุ้น” หรือ “กำไรต่อหุ้น”
EPS ย่อมาจากอะไร?
EPS ย่อมาจาก Earnings Per Share คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนคำนวณกำไรเฉลี่ยที่จะได้รับจากการถือหุ้น 1 หุ้น และประเมินโอกาสในการทำกำไรเท่านั้น
สูตรหากำไรต่อหุ้น หรือ EPS คืออะไร?

ความหมายของตัวแปรในสูตรหา EPS
- กำไรสุทธิ คือ รายได้ของบริษัทหลังจากหักค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ย และภาษี
- จำนวนหุ้นของบริษัทที่ชำระแล้ว คือ จำนวนหุ้นที่บริษัทออกจำหน่ายในตลาดทุนและอยู่ในมือผู้ถือหุ้นแล้ว
วิธีดูค่า EPS (Earnings Per Share) คืออะไร?
EPS | ความหมาย |
EPS > 0 | บริษัทมีกำไรต่อหุ้น แสดงว่า นักลงทุน “ได้รับผลตอบแทน” จากการถือหุ้น |
EPS < 0 | บริษัทไม่มีกำไรต่อหุ้น แสดงว่า นักลงทุน “ไม่ได้รับผลตอบแทน” จากการถือหุ้น |
*หมายเหตุ: ค่า EPS ยิ่งสูงยิ่งดี และนักลงทุนจะใช้การเปรียบเทียบ EPS ในแต่ละปีของแต่ละบริษัทเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นได้
EPS หรือกำไรต่อหุ้นดูตรงไหน?
เนื่องจากกำไรต่อหุ้นหรือ EPS คือ การนำกำไรสุทธิไปหารด้วยจำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าจะหาข้อมูลทั้งสองอย่างนี้ได้จากที่ใด โดยส่วนใหญ่ข้อมูลเหล่านี้จะมีการทำสรุปออกมาเป็นรายไตรมาส ดังนั้น คุณสามารถเข้าไปดูได้จาก www.set.or.th จากนั้นพิมพ์ชื่อหลักทรัพย์ที่ต้องการค้นหาในช่อง Get Quote และเลือก “สรุปข้อสนเทศ บจ. (Factsheet)” ซึ่งจะแสดงข้อมูลสำคัญ เช่น งบการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด อัตราส่วนทางการเงิน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้น เป็นต้น
- เข้าไปที่เว็บไซต์ SET
- พิมพ์ชื่อหลักทรัพย์ที่ต้องการค้นหา
- เลือก “สรุปข้อสนเทศ บจ. (Factsheet)”
ตัวอย่างการหาข้อมูลเพื่อนำมาคำนวณ EPS


ตัวอย่างการคำนวณกำไรต่อหุ้น (EPS)
สำหรับการหา EPS หุ้น จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ การคำนวณ EPS เพื่อหากำไรต่อหุ้น 1 หุ้น และการคำนวณ EPS เพื่อดูโอกาสในการทำกำไรจากการถือหุ้น โดยมีรายละเอียดดังต่ไปนี้
- คำนวณสูตร EPS เพื่อหากำไรต่อหุ้น 1 หุ้น จากการถือของนักลงทุน
- คำนวณสูตร EPS เพื่อดูโอกาสในการทำกำไรจากการถือหุ้นของนักลงทุน
การคำนวณสูตร EPS หุ้น เพื่อหากำไรต่อหุ้น
ข้อมูลบริษัท AAA ในปี 2024 และปี 2025
ปี | กำไรสุทธิ | จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว (ล้าน) |
2024 | 1,000,000 | 500,000 |
2025 | 1,200,000 | 500,000 |
เมื่อคำนวณสูตรกำไรต่อหุ้น หรือ EPS จะได้ดังนี้
ปี 2024: EPS คือ 1,000,000 / 500,000 = 2
ปี 2025: EPS คือ 1,200,000 / 500,000 = 2.4
จากการคำนวณสูตรกำไรต่อหุ้นสามารถสรุปได้ ดังนี้
- ในปี 2024 บริษัท AAA มี EPS = 2 หมายความว่า นักลงทุนจะได้รับกำไรจากการถือหุ้นจำนวน 2 บาทต่อหุ้น
- ในปี 2025 บริษัท AAA มี EPS = 2.4 หมายความว่า นักลงทุนจะได้รับกำไรจากการถือหุ้นจำนวน 2.4 บาทต่อหุ้น
คำนวณสูตร EPS เพื่อดูโอกาสในการทำกำไรจากการถือหุ้น
จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อเข้าสูตรการคำนวณแล้วพบว่า บริษัท AAA มีกำไรต่อหุ้นสุทธิในปี 2024 และปี 2025 อยู่ที่ 2 บาทต่อหุ้น และ 2.4 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ จึงสามารถสรุปโอกาสได้การทำกำไรได้ ดังนี้
- EPS > 0 แสดงว่า นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการถือหุ้นของบริษัท AAA ในปี 2024 และปี 2025
⚠ หากบริษัทใดมีการเพิ่มทุนด้วยการเพิ่มจำนวนหุ้นจะทำให้ค่า EPS หุ้น มีค่าน้อยลง ดังนั้น ค่า EPS ไม่ได้บ่งบอกว่า หุ้นตัวใดน่าลงทุน แต่เป็นเพียงการประเมินความสามารถในการสร้างผลกำไรเท่านั้น นอกจากนี้ นักลงทุนยังนิยมใช้ EPS เพื่อคำนวณหาอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น โดยเทียบข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งจะมี Period เข้ามาเกี่ยวข้องในสูตรคำนวณที่เรากำลังจะอธิบายในหัวข้อถัดไป เรียกกันว่า “EPS Growth Rate”
. . . . . . . . . . . . . . .
ลักษณะของ EPS ที่ดีดูยังไง?
1. ค่า EPS เป็นบวกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
ค่า EPS ที่มากกว่า 0 แสดงว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ และหาก EPS เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี จะสะท้อนถึงศักยภาพการเติบโตและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท
2. ค่า EPS สูงเมื่อเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
การเปรียบเทียบ EPS กับคู่แข่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันช่วยให้นักลงทุนเห็นว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการสร้างกำไรดีกว่าหรือด้อยกว่าเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม
3. สอดคล้องกับอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ เช่น P/E Ratio
EPS ที่ดีควรสัมพันธ์กับอัตราส่วน P/E ที่เหมาะสม โดยค่า P/E ที่สูงอาจสะท้อนความคาดหวังการเติบโตในอนาคต ในขณะที่ P/E ต่ำอาจบ่งชี้ว่าหุ้นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับกำไร
4. ต้องพิจารณาปัจจัยเฉพาะของอุตสาหกรรมและบริษัท
EPS ที่เหมาะสมแตกต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจ ขนาดบริษัท และช่วงการเติบโต เช่น บริษัทสตาร์ทอัพอาจมี EPS ต่ำเนื่องจากลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจมั่นคงจะมี EPS สูงกว่า
—————— 🐶 ——————
การใช้ค่า EPS สำหรับนักลงทุน
นักลงทุนสามารถใช้ค่า EPS เพื่อประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
รายละเอียด | ผลลัพธ์ที่ได้รับ | |
---|---|---|
เปรียบเทียบค่า EPS | เปรียบเทียบค่า EPS ของบริษัทกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบกับค่า EPS ของบริษัทในอดีต | ช่วยประเมินศักยภาพ ความสามารถในการแข่งขัน และความมั่นคงทางการเงินของบริษัท |
วิเคราะห์แนวโน้มของ EPS | ติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่า EPS ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงในช่วงเวลาต่าง ๆ | มองเห็นภาพรวมของผลประกอบการและความสามารถในการสร้างกำไรในระยะยาว |
ตรวจสอบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง EPS | วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่า EPS เปลี่ยนแปลง เช่น การเพิ่มขึ้นของกำไร การลดลงของต้นทุน หรือการปรับโครงสร้างทางการเงิน | ประเมินความยั่งยืนของผลกำไร และระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกบริษัท |
คำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) | นำค่า EPS มาประกอบกับราคาหุ้นเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน | ช่วยเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนระหว่างหุ้นแต่ละตัวอย่างมีข้อมูลรองรับ |
ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน | นำค่า EPS มาใช้ร่วมกับตัวชี้วัดทางการเงินอื่น ๆ เช่น P/E Ratio งบการเงิน และปัจจัยภายนอก | สนับสนุนการวิเคราะห์หุ้นอย่างรอบคอบ แม่นยำ และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาข้อมูลเพียงด้านเดียว |
EPS Growth Rate คืออะไร?
EPS Growth Rate คือ อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น เพื่อเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาว่า บริษัทมีอัตราผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น 1 หุ้น เพิ่มขึ้นหรือน้อยลง และ EPS Growth Rate ยังสามารถสะท้อนการเติบโตของกำไรได้อีกด้วย
สูตร EPS Growth Rate คืออะไร?

ความหมายของตัวแปร EPS Growth Rate
- T คือ ช่วงเวลาที่สนใจ
- T-1 คือ ช่วงเวลาก่อนหน้า 1 ช่วงเวลา นิยมใช้เป็นรายไตรมาสหรือรายปี
วิธีดูค่า EPS Growth Rate คืออะไร?
EPS Growth Rate | ความหมาย |
EPS Growth Rate > 0 | บริษัทมีกำไรต่อหุ้นมากขึ้นเมื่อเทียบกับ Period ก่อน แสดงว่า อัตราผลตอบแทนของนักลงทุนจากการถือหุ้น 1 หุ้น “มากขึ้น” |
EPS Growth Rate < 0 | บริษัทมีกำไรต่อหุ้นลดลงเมื่อเทียบกับ Period ก่อน แสดงว่า อัตราผลตอบแทนของนักลงทุนจากการถือหุ้น 1 หุ้น “ลดลง” |
ตัวอย่างการคำนวณ EPS Growth Rate
จากตัวอย่างเดิม การคำนวณ EPS ของบริษัท AAA มีรายละเอียด ดังนี้
ปี | EPS (บาท/หุ้น) |
2024 | 2 |
2025 | 2.4 |
เมื่อคำนวณสูตร EPS Growth Rate เปรียบเทียบในปี 2024 และ 2025 จะได้ดังนี้
EPS Growth Rate คือ (2.4-2)/2 * 100% = 20%
จากการคำนวณสูตรกำไรต่อหุ้นสามารถสรุปได้ว่า บริษัท AAA อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นจากปี 2024 – 2025 อยู่ที่ 20%
—————— 🐶 ——————
สรุป EPS คือ สูตรคำนวณกำไรต่อหุ้น
EPS ย่อมาจาก Earnings Per Share คือ อัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ (Net Profit) และ จำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว (Outstanding Shares) เพื่อหากำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนจะได้รับจากการถือหุ้น 1 หุ้น และยังสามารถประเมินความสามารถในการทำกำไรของบริษัทได้อีกด้วย
- EPS > 0 หมายความว่า บริษัทมีกำไรต่อหุ้น และนักลงทุน “ได้รับผลตอบแทน” จากการถือหุ้น
- EPS < 0 หมายความว่า บริษัทไม่มีกำไรต่อหุ้น และนักลงทุน “ไม่ได้รับผลตอบแทน” จากการถือหุ้น
ดังนั้น หากค่า EPS ออกมายิ่งสูงยิ่งดี และไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นได้ นอกจากนี้ EPS ยังสามารถนำไปคำนวณหาอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นด้วย EPS Growth Rate โดยเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาว่า บริษัทมีอัตราผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น 1 หุ้น เพิ่มขึ้นหรือน้อยลง
- EPS Growth Rate > 0 หมายความว่า บริษัทมีกำไรต่อหุ้นมากขึ้นเมื่อเทียบกับ Period ก่อน แสดงว่า อัตราผลตอบแทนของนักลงทุนจากการถือหุ้น 1 หุ้น “มากขึ้น”
- EPS Growth Rate < 0 หมายความว่า บริษัทมีกำไรต่อหุ้นลดลงเมื่อเทียบกับ Period ก่อน แสดงว่า อัตราผลตอบแทนของนักลงทุนจากการถือหุ้น 1 หุ้น “ลดลง”
อย่างไรก็ตาม Earnings Per Share คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนคำนวณกำไรเฉลี่ยที่จะได้รับจากการถือหุ้น และประเมินโอกาสในการทำกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่สามารถนำไปตัดสินได้ว่า หุ้นตัวนี้น่าลงทุนหรือไม่ ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง จำเป็นต้องดูข้อมูลพื้นฐานและงบการเงินของบริษัท รวมถึงอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ เข้ามาพิจาณาร่วมด้วย เช่น P/E Ratio ที่นักลงทุนมักนำมาเปรียบเทียบคู่กับ EPS
. . . . . . . . . . . . . .
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ EPS คืออะไร?
EPS คืออะไร?
EPS คือ อัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ (Net Profit) และ จำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว (Outstanding Shares) จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “EPS หุ้น” หรือ “กำไรต่อหุ้น”
EPS หุ้น คืออะไร?
EPS หุ้น คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนคำนวณกำไรเฉลี่ยที่จะได้รับจากการถือหุ้น 1 หุ้น และประเมินโอกาสในการทำกำไรเท่านั้น
EPS ย่อมาจากอะไร?
EPS ย่อมาจาก Earnings Per Share
กำไรต่อหุ้น สูตร
กำไรต่อหุ้น (EPS) = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นของบริษัทที่ชำระแล้ว
กำไรต่อหุ้น คืออะไร?
กำไรต่อหุ้น คือ กำไรเฉลี่ยที่จะนักลงทุนจะได้รับจากการถือหุ้น 1 หุ้น เพื่อประเมินโอกาสในการทำกำไร
GPS Growth คำนวณอย่างไร?
[(EPS ช่วงเวลาที่สนใจ – EPS ช่วงเวลาก่อนหน้า 1 ช่วงเวลา นิยมใช้เป็นรายไตรมาสหรือรายปี) / EPS ช่วงเวลาก่อนหน้า 1 ช่วงเวลา] x 100
EPS ดูตรงไหน?
- เข้าไปที่เว็บไซต์ SET
- พิมพ์ชื่อหลักทรัพย์ที่ต้องการค้นหา
- เลือก “สรุปข้อสนเทศ บจ. (Factsheet)”
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม: สาระน่ารู้
พูดคุยและติดตาม Real Time: Facebook Page