ทำความรู้จัก Cosmos (Atom) อินเทอร์เน็ตของ Blockchain

Table of Contents
Cosmos (Atom)

Cosmos (Atom) อินเทอร์เน็ตของ Blockchain ที่กำลังจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดคริปโต

หลายคนคงสัมผัสได้ถึงความน่าเบื่อของตลาดคริปโตฯ ในช่วงนี้ ที่ดูเหมือนจะไม่คึกคักเช่นแต่ก่อน เนื่องจากได้ก้าวเข้าสู่ตลาดหมีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทราบไหมครับว่า “ช่วงนี้แหละเป็นช่วงกอบโกย” ดังนั้น เราจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดให้มากในช่วงนี้ และหนึ่งในตัวที่น่าสนใจ คือ Cosmos หรือเหรียญ Atom ที่กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ครับ

Cosmos

Cosmos หรือเหรียญ ATOM คืออะไร?

Cosmo อาจเป็นเหรียญที่หลายคนยังไม่รู้จัก แต่หากใครศึกษาตลาดคริปโตอย่างลึกซึ้งแล้วจะทราบว่า เหรียญนี้มีการถือครองค่อนข้างมาก แต่เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักพัฒนา แต่หากพูดตามความเป็นจริงในช่วงที่ผ่านมาราคาก็ไม่มีการเติบโตสักเท่าไหร่ครับ เนื่องจากยังไม่มี Business Model ที่ชัดเจน แต่ทราบกันไหมครับว่า เจ้าตัวนี้ได้ขึ้นชื่อว่า ‘The Internet of Blockchains’ โดยลงประกาศในเว็บไซต์ของตนเอง

ในด้านของเหรียญ ATOM ถือเป็นโทเค็นดั้งเดิมของเครือข่ายซึ่งช่วยในเรื่องของการจัดการข้อมูล และทำธุรกรรมให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วยวิธีการแบบ Proof of Work

ซึ่ง Cosmos ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ และการทำงานร่วมกันของแต่ละบล็อกเชนอย่างจริงจัง เราจะเห็นโปรเจกต์ดัง ๆ เช่น Terra ที่เข้ามาใช้งานบนระบบกันมากมาย และสิ่งเหล่านี้ทำให้ Cosmos พร้อมทั้งเหรียญ ATOM เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ราคาก็ยังหยุดอยู่กับที่เช่นเดิม

ล่าสุดเหมือนเหล่าสาวก Cosmos จะมีความหวังกันมากขึ้น เมื่อทีมบริหารชุดเก่าได้ลาออกไป จึงทำให้ต้องมีทีมบริหารชุดใหม่เข้ามา และดูเหมือนว่าจะใช้ความเป็น Business Model ลงไปในระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเด็นนี้ทำให้นักลงทุนเกิดความคาดหวังว่า เหรียญ ATOM จะสามารถ To the Moon ได้จริง

หลักการทำงานของ Cosmos หรือ เหรียญ ATOM

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Cosmos ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม ดังนั้น จึงมีการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) โดยแต่ละบล็อกเชนจะถูกเชื่อมต่อกันด้วย Byzantine Fault Tolerance หรือ BFT และถูกรันด้วยระบบฉันทามติแบบ Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นโซน โดยแต่ละโซนจะสามารถเชื่อมถึงกันได้ด้วย Cosmos Hub เป็นโปรโตคอลแบบ Proof of Ownership ที่อยู่เบื้องหลังเหรียญ ATOM หากพูดง่าย ๆ Cosmos ก็เป็นเหมือนการสร้างเครือข่ายย่อยในเครือข่ายใหญ่ โดยใช้บล็อกเชนเข้ามาช่วยเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่า ข้อมูลจะสามารถเชื่อมต่อกันได้จริงหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์และข้อมูลได้

อีกทั้ง Cosmos ยังมีฟีเจอร์ขั้นสูงและเทคโนโลยีอีกมากมาย ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เหรียญ ATOM ที่เป็นสกุลเงินดิจิทัลของระบบกลายเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าสนใจในตอนนี้อีกด้วย

นอกจากนี้ การประมวลผลและการทำงานที่รวดเร็วของ Cosmos ยังเป็นอีกอย่าางที่ทำให้ระบบกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมในหมู่นักพัฒนา อย่างเช่น Cosmos สามารถสร้างบล็อกเชนได้ภายในหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากระบบอื่นที่ต้องใช้เวลาดำเนินการอย่างต่ำ 2 สัปดาห์โดยประมาณ

ผู้ก่อตั้ง Cosmos หรือ เหรียญ ATOM

Cosmos
Source: Bitkub

ผู้ก่อตั้ง คือ Jae Kwon เป็นสถาปนิกซอฟต์แวร์บล็อกเชน และผู้ร่วมก่อตั้ง Tendermint อีกทั้งยังเป็นประธาน Interchain Foundation ซึ่งเขาเคยกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของ Cosmos ไว้ว่า “การให้อำนาจแก่ผู้คนในการสร้างชุมชนที่กระจายอำนาจทางดิจิทัลของตัวเอง โดยอิงจากบล็อกเชนของคุณเอง”

นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ Ethan Buchman โดยทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการด้านเทคนิค ซึ่ง Cosmos ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2014 ในขณะที่พวกเขากำลังพัฒนา Tendermint ด้วยซึ่งเป็นอัลกอริธึมฉันทามติที่จะขับเคลื่อน Cosmos 

ความเสี่ยงของ Cosmos ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ในปัจจุบันมีการพัฒนา Cross-chain Bridge ที่อาจส่งผลให้เกิดการลดมูลค่าของ Cosmos เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการทำงานระหว่างเชนเหมือนกัน อีกทั้งยังมีโปรเจกต์แบบเดียวกันที่จะก่อกำเนิดขึ้นอีกมากมาย เช่น Harmony (ONE)


อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมานั้นจะเห็นว่า Cosmos ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาที่คริปโตอาจต้องเจอบ่อยครั้ง เช่น การทำงานร่วมกัน (Interoperability), ขนาดของการทำธุรกรรมภายในเครือข่าย (Scalability) และความสะดวกในการใช้งาน เป็นต้น ทำให้ระบบและเหรียญ ATOM น่าสนใจอย่างมากในขณะนี้ นอกจากนี้ ทางด้าน CEO ยังหวังว่า Cosmos จะถูกพัฒนาเป็น “บล็อกเชน 3.0” เนื่องจากการใช้งานที่ง่าย และเอื้อต่อเครือข่ายอื่นอีกด้วย

Source: Zipmex

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter