ตลาดหุ้น ‘อินโดนีเซีย’ เสือตัวใหม่แห่งอาเซียน ดีอย่างไร ?

Table of Contents
ตลาดหุ้น

สืบเนื่องมาจากในปี 2022 ตลาดหุ้น อาเซียนค่อนข้างจะมีผลงานที่ดี ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ตลาดที่มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาโดยตรง อีกทั้งยังเกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ โดยปีนี้เป็นปีที่อาเซียนได้รับผลประโยชน์จากการเปิดประเทศอีกครั้งอย่างแท้จริง ท่ามกลางปัจจัยลบต่าง ๆ เช่น เงินเฟ้อ โดยตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทน และมีแนวโน้มการลงทุนดีที่สุด คือ อินโดนีเซีย ซึ่งบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ ตลาดหุ้น อินโดนีเซีย กลายเป็นเสือตัวใหม่แห่งอาเซียน

ตลาดหุ้น เกิดความผันผวน แต่ อินโดนีเซีย คือ “โอกาส”

ปัญหาเงินเฟ้อในตอนนี้ ถือเป็นปัญหาที่นักลงทุนกังวลมากที่สุด แต่หากดูภาพรวมของเงินเฟ้อทั่วโลกจะเห็นว่า มีการชะลอตัวลงอยู่บ้าง เช่น สหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ตัวเลขเงินเฟ้อออกมาอยู่ในระดับสูงถึง 9.1% ก็ได้ย่อลงมาอยู่ที่ 8.3% ในส่วนของยุโรปอาจมีปัจจัยลบอย่างต่อเนื่องอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยทางยุโรปกำลังขาดแคลนพลังงานที่ปกติแล้วต้องนำเข้าจากรัสเซีย พร้อมทัั้งในตอนนี้กำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ดังนั้น การที่ต้องหาพลังงานทดแทนมาอย่างเร่งด่วนจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อทางฝั่งยุโรปเร่งขึ้นมาจาก 8.9% ไปที่ 9.1% นอกจากนี้ ทางฝั่งของจีนและญี่ปุ่นก็กำลังหาทางสกัดเงินเฟ้ออย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น ในภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อดูเหมือนจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ทางการของประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องฉีดยารุนแรงด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ตลาดการลงทุนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก

แต่หากมองกลับมาในตลาดบ้านเรา นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะสามารถเติบโตอยู่ที่ 5.3% ในขณะที่ตลาดทางฝั่งประเทศพัฒนาแล้วสามารถเติบโตได้เพียง 2.5% จะเห็นได้ชัดว่า ภาพการเติบโตในกลุ่มประเทศอาเซียนถือว่าอยู่ในระดับที่ดี อีกทั้ง อาเซียนยังมีตลาดแรงงานที่น่าสนใจ โดยใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากจีนและอินเดีย ซึ่งจุดเด่นที่ดึงดูดนักลงทุนได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ ค่าแรงที่ถูก โดยประเทศที่ดูเหมือนจะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของอาเซียน ยังมีผลตอบแทนของตลาดหุ้นที่เพิ่มขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งถึง 9% นับตั้งแต่ต้นปีนั้น ก็คือ ‘อินโดนีเซีย’

ตลาดหุ้น ‘อินโดนีเซีย’ น่าลงทุนอย่างไร ?

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า อาเซียนเป็นตลาดที่มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาโดยตรง ซึ่งอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีเม็ดเงินเข้ามามากที่สุด นอกจากนี้ หากดูจาก Index Composition จะมีหุ้นกลุ่มธนาคารถึง 30% และมีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีประมาณ 10% ด้วยความที่มีหุ้นเทคโนโลยีน้อย สิ่งที่ตามมาคือ เกิดการเทขายที่น้อยตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นข้อดีสำหรับสถานการณ์ในตอนนี้

เศรษฐกิจมีการเติบโตสูง

ประเด็นแรก คือ ด้านเศรษฐกิจ IMF คาดการณ์ GDP Growth ของอินโดนีเซียไว้สูงถึงระดับ 5.4% และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอีก 6% ในปี 2566 เนื่องจากอินโดนีเซียมีจำนวนประชากร 272 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยประชากรมากกว่า 60% ยังอยู่ในวัยทำงาน ทำให้แนวโน้มระดับรายได้ต่อหัวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับอัตราการเข้าถึงสินค้าบริการต่าง ๆ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ตลาดหุ้น

อินโดนีเซีย เป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลก

ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งออก หากใครยังไม่ทราบว่า อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นนิกเกิล ถ่านหิน และดีบุก แต่ ณ ปัจจุบันรัฐบาลต้องการลดการพึ่งพิงการส่งออกให้น้อยลง และหันมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากขึ้น

ตลาดหุ้น

ตลาดหุ้น สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว

และอีกหนึ่งประเด็นที่ขาดไม่ได้เลย คือ อินโดนีเซียมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และมีโอกาสกลายเป็นมหาอำนาจของเศรษฐกิจโลกในอนาคต รวมถึงมูลค่าและผลตอบแทนของตลาดหุ้นอยู่ในระดับโดดเด่น บ่งชี้ให้เห็นว่า ตลาดหุ้น อินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจ และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว

ตลาดหุ้น


อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลข้างต้น ตลาดหุ้นอินโดนีเซียถือเป็นอีกนึ่งตลาดที่น่าลงทุน อีกทั้ง IMF ยังได้คาดการณ์อีกว่า อินโดนีเซียอาจกลายเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจภายในปี 2593 โดยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกรองจาก จีน สหรัฐฯ และอินเดีย แต่การคาดการณ์ครั้งใหญ่นี้ คงต้องแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล

Source: ทีมงาน Traderbobo

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense