เจาะลึก! เหตุการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

Table of Contents
เงินเฟ้อ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เงินเฟ้อ ยังคงเป็นวิกฤตตัวฉกาจที่เป็นภัยต่อเศรษฐกิจ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่หลายครั้งในประวัติศาสตร์ และได้ส่งผลอย่างรุนแรงในด้านลบ สำหรับบทความนี้ เราจะย้อนรอยไปเมื่อยุคจักรวรรดิโรมัน ที่เกิดเงินเฟ้อครั้งแรกของโลก จนทำให้กรุงโรมที่เป็นมหาอำนาจในตอนนั้นถึงกลับล่มสลาย

จักรวรรดิโรมัน ‘จากอภิมหาอำนาจสู่สามัญชน’ เป็นดินแดนแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกว่า เกิดเหตุการณ์ ‘เงินเฟ้อ

จักรวรรดิโรมัน หรือกรุงโรม มีอายุมานานกว่า 2,000 ปี หลายคนอาจเคยได้ยินสำนวนที่ว่า “Rome wasn’t built in a day – กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว” เหมือนกับที่เราไม่สามารถเดินเที่ยวกรุงโรมภายในวันเดียวได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นอาณาจักรที่มีขนาดใหญ่มาก มีจำนวนประชากรคิดเป็น 20% ของโลก โดยกรุงโรมเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโรมัน ถือเป็นแหล่งอารยธรรม และสามารถส่งต่อบทเรียนต่าง ๆ ให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างมากมาย แต่ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่เกรียงไกรแค่ไหน ก็สะดุดขาตัวเองล้มได้เหมือนกัน!

เงินเฟ้อ

Source: Britannica

ในช่วงล่มสลายของกรุงโรม หลายคนพุ่งประเด็นว่าเป็นเพราะปัจจัยภายนอกจากการรุกรานของชนเผ่า Germanic เช่น Goths และ Vandals แต่แท้จริงแล้วศัตรูตัวฉกาจที่อันตรายที่สุด คือ การเกิด ‘เหตุการณ์เงินเฟ้อ’ อย่างรุนแรง เช่นเดียวกับที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

ย้อนกลับไปในอดีต กรุงโรมถือเป็นจุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจ โดยถนนทุกสายต้องสร้างให้วิ่งเข้าหากรุงโรม เนื่องจากเป็นเมืองแห่งการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างที่ทราบกันดีว่า ความมั่งคั่งของกรุงโรมส่วนใหญ่มาจากการทำสงคราม โดยสร้างกองทัพ และยึดครองพื้นที่อาณาจักรต่าง ๆ เพื่อขยายอาณาเขต รวมถึงการมีระบบการเงินที่ทันสมัย แต่ในช่วงปลายของจักรวรรดิ จากกรุงโรมที่เคยเป็นหนึ่งเดียวถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ได้แก่ ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก ส่งผลให้ความแข็งแกร่งนั้นสั่นคลอน และเป็นที่มาของสงครามการค้า

ณ จุดอิ่มตัว ภาวะจากสงครามเริ่มมีอัตราลดลง เปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ Slow Down กรุงโรมจึงหันมาทำสงครามการค้าแทน แต่ด้วยจำนวนของประชากรที่มาก และอาณาเขตที่กว้างใหญ่ ผลักดันให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาณาจักรภายนอกที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเลยเล็งเห็นช่องโหว่ และเริ่มส่งสินค้ามาตีตลาด หลังจากนั้นกรุงโรมจึงเสียเปรียบด้านการค้าอย่างเต็มตัว และมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้นจนเกิดการขาดดุล ส่งผลให้เศรษฐกิจแย่ลง รวมไปถึงการเกิดโรคระบาด และสภาวะทางการเงิน ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้กรุงโรมเกิด ‘เงินเฟ้อ’ ในที่สุด

เมื่อสองวิกฤตใหญ่แห่งโรม เกิดขึ้นในเวลาใกล้กัน…จุดจบจึงมาถึง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น นอกจากสงครามการค้าที่เป็นต้นตอของการเกิดเหตุการณ์เงินเฟ้อในกรุงโรมแล้ว ยังมีปัจจัยหนุนจากโรคระบาด ที่ทำให้ค่าเงินของกรุงโรมอ่อนค่าลงอีกด้วย จากความต้องการที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องสร้างสกุลเงินของตนเองขึ้นมา หรือ “Denarius” โดยยึดเหนี่ยวมูลค่าจากแร่เงิน ณ ตอนนั้น ทำให้คนในสมัยนั้นมีความคิดที่ว่า สามารถผลิตเงินออกมาเท่าไรก็ได้

เงินเฟ้อ

Source: Numisbids

จนมาถึงช่วงประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้ทรพิษ หรือที่เรียกกันว่า “The Antonine Plague” ซึ่งเป็นการระบาดครั้งใหญ่ไม่ต่างกับ Covid-19 ในปัจจุบัน ได้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก และทำให้เศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก ทางขุนนางจึงมีการเพิ่มค่าจ้างให้กับแรงงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นเท่าตัวหลังเกิดการระบาด หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แน่นอนว่าจะต้องแก้ปัญหาด้วยการลดปริมาณเงินในระบบ เพื่อที่จะให้คนใช้จ่ายได้น้อยลง และราคาสินค้าจะปรับตัวลงมาตามกลไกของมัน

แต่ด้วยความไม่เข้าใจต่อระบบการเงิน ชนชั้นขุนนาง และพ่อค้าที่เป็นคนควบคุมการผลิตเงิน ได้ตัดสินใจทำผิดพลาดครั้งใหญ่ โดยการผลิตเงินออกมาใช้เพิ่มอีก และลดปริมาณแร่เงินที่ใช้ผลิตเหรียญลง ซึ่งเป็นการลดมูลค่าเงินนั่นเอง ทำให้เงินในระบบมีปริมาณมาก จนทำให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง และที่ยิ่งแย่ไปกว่านั้น มีการผสมโลหะที่มูลค่าต่ำกว่าแร่เงินในเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากต้องผลิตเงินให้ได้ปริมาณที่คนต้องการ ทำให้มูลค่าของเงินลดลงจนประชาชนลดความเชื่อมั่นของเงินโรมันลงไปด้วย และเกิดการล่มสลายในที่สุด

จากบันทึกมีการคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในโรมันสูงถึงระดับ 15,000%

จะเห็นได้ว่า ‘เหตุการณ์เงินเฟ้อ’ อยู่กับเรามาทุกสมัย ซึ่งในปัจจุบันก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้กันทั่วโลก โดยสาเหตุเกิดมาจากสวัสดิการของรัฐที่อัดฉีดเงินเข้าระบบ และช่วยเหลือประชาชนในช่วงที่เกิดการระบาด Covid-19 ทำให้มีปริมาณเงินไหลเข้าเศรษฐกิจจำนวนมากเกินไป แต่ด้วยความที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ และการศึกษาต่าง ๆ ได้พัฒนาขึ้นมาก ทำให้เราเลือกแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ถูกต้อง “สุดท้ายแล้วหวังว่า เราจะไม่เจอจุดจบเหมือนในอดีต”


Source: Dailyhistory, Smithsonianmag และ Adaybulletin

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter
Picture of Traderbobo
Traderbobo

นักลงทุนในตลาด Forex และสินทรัพย์ทางการเงินด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย พร้อมแบ่งปันความรู้และกลยุทธ์การเทรด เพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในโลกการเงิน เหมาะสำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และมืออาชีพ

บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense
)?$/gm,"$1")],{type:"text/javascript"}))}catch(e){d="data:text/javascript;base64,"+btoa(t.replace(/^(?:)?$/gm,"$1"))}return d}-->