Blockchain Trilemma คืออะไร ?

Table of Contents
Blockchain Trilemma

เทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้การส่งต่อมูลค่าผ่านอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง และยังเป็นพื้นฐานสำคัญของคริปโตฯ, DeFi รวมถึง NFT ซึ่งกำแพงสำคัญที่ผู้พัฒนาเครือข่ายบล็อกเชนต้องพิจารณาเสมอ คือ Blockchain Trilemma ซึ่งจะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่ การกระจายศูนย์ (Decentralization), ความปลอดภัย (Security) และความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) หากปราศจากคุณสมบัติทั้ง 3 ประการนี้แล้ว เป็นไปได้ยากมากที่บล็อกเชนจะก้าวเข้าสู่ขั้นถัดไป

Blockchain คืออะไร ?

บล็อกเชนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความนิยม หากอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ เปรียบเหมือนโซ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกระจายข้อมูลเก็บไว้ในชิ้นส่วนโซ่ที่ต่อกัน และข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เรียกว่า Blockchain ปัจจุบัน บล็อกเชนไม่ได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีวงการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้นำศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น

Blockchain Trilemma คืออะไร ?

Blockchain Trilemma

Blockchain Trilemma เป็นทฤษฎีที่ Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum ได้ระบุไว้ว่า เครือข่ายบล็อกเชนจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอยู่ 3 อย่าง เพื่อก้าวเข้าสู่ Mass Adoption หรือการใช้งานเป็นวงกว้างไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน รวมถึงนักเรียน ซึ่งเป็น 3 ปัญหาที่ทำให้ Blockchain ยังไม่สามารถใช้งานอย่างแพร่หลายได้ ณ ตอนนี้

องค์ประกอบหลัก

1. การกระจายศูนย์ (Decentralization)

บล็อกเชนสามารถที่จะดำเนินการต่าง ๆ ได้ โดยมีผู้ใช้งานในเครือข่ายนั้นเป็นผู้ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูล ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง เรียกได้ว่า เป็นคุณสมบัติหลักของบล็อกเชนในยุคปัจจุบัน

2. ความปลอดภัย (Security)

การที่บล็อกเชนต้องมีระบบที่ป้องกันภัยต่าง ๆ บนโลกดิจิทัล เนื่องจากบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่มีความโปร่งใส และทุกคนในเครือข่ายสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การโจมตีแบบ 51% (51% Attack หรือการโจมตีเพื่อเข้าไปข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ) ไปจนถึงบัค (Bug)

3. ความสามารถขยายเครือข่าย (Scalability)

ถ้าพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การรักษาความเร็วในการใช้งานไม่ว่าผู้ใช้งานจะมีจำนวนมากเท่าใด โดยถ้ามีคนใช้งานน้อย ความเร็วคงไม่ใช่ปัญหา แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการที่คนหลายคนใช้งานพร้อมกัน ทำให้บล็อกเชนเกิดอาการล่าช้า และค่าธุรกรรมสูงขึ้น


อย่างไรก็ตาม ไม่มีบล็อกเชนใดที่มี 3 คุณสมบัตินี้ได้ในตัวเดียว ดังนั้น แต่ละธุรกิจจึงต้องเลือกใช้บล็อกเชนให้เข้ากับแผนการดำเนิน ซึ่งหากธุรกิจใดที่เป็นผู้เล่นใหม่ในโลก Metaverse ควรเลือกบล็อกเชนที่มีความปลอดภัย สามารถทำธุรกรรมได้รวดเร็ว และมีค่าบริการที่ถูก แต่อาจต้องแลกมาด้วยคุณสมบัติด้านการกระจายศูนย์ เช่น Binance Smart Chain หรือหากต้องการบล็อกเชนที่มีการกระจายศูนย์ และรวดเร็ว แต่ต้องแลกมาด้วยความปลอดภัย เช่น Solana เนื่องจากใน 1 ปี มีการล่มมากว่า 2 ครั้ง แต่หากนึกถึงบล็อกเชนที่มีความปลอดภัย และกระจายศูนย์ได้ดี ก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานที่ค่อนข้างช้าอย่าง Ethereum 2.0

Source: Finnomena, Medium และ The secret sauce

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter