ทำความรู้จักสินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร? อ่านจบเริ่มลงทุนได้เลย!

Table of Contents
ทำความรู้จักสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

สินค้าโภคภัณฑ์ ถือเป็นกลุ่มสินค้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นตัวชี้วัดสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้ในระดับหนึ่งและนักลงทุนบางท่านก็เลือกที่จะลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง วันนี้พี่โบ้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักและไขข้อสงสัยว่า สินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร ? ทำไมจึงต้องลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะต้องเจอในการลงทุน

สินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร ?

สินค้าโภคภัณฑ์ คือ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าและบริการอื่น ๆ มีลักษณะที่สามารถจับต้องได้ โดยสินค้าโภคภัณฑ์จะมีการกำหนดมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก ทำให้มีคุณสมบัติในการซื้อขายและสามารถใช้ทดแทนกันได้

ประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์

ประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

Hard Commodities 

Hard Commodities 

Hard Commodities คือ สินค้าที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ทำให้สินค้าประเภทนี้จัดเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถทดแทนได้ เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมันดิบ เป็นต้น

Soft Commodities 

Soft Commodities

Soft Commodities คือ สินค้าที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นมาเองอาจจะมาจากการเพาะปลูกหรือดูแลก็ได้ สินค้าประเภทนี้จึงมักมีราคาที่ผันผวนได้ง่ายเนื่องจากปัจจัยภายนอกหลายประการและมีอายุการเก็บรักษาที่จำกัด เช่น ข้าวสาลี โกโก้ เนื้อสัตว์ เป็นต้น

*หมายเหตุ : สินค้าโภคภัณฑ์ยังสามารถแบ่งประเภทได้อีกหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานและหลักเกณฑ์อื่น ๆ 

สินค้าโภคภัณฑ์ 5 กลุ่มมีอะไรบ้าง ?

สินค้าโภคภัณฑ์สามารถแบ่งกลุ่มได้ 5 กลุ่มหลัก ๆ ตามกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้

กลุ่มตัวอย่าง
พลังงาน (Energy)สินค้าที่สามารถนำมาแปรรูปต่อให้เป็นสินค้าที่ให้พลังงานได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันดิบ พลังงานลม
โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals)โลหะที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ทองแดง ตะกั่ว เหล็ก
โลหะมีค่า (Precious Metals)โลหะที่มีมูลค่าสูงกว่าโลหะกลุ่มทั่วไปนิยมนำไปทำเครื่องประดับ เช่น ทอง เงิน แพลทินัม
สินค้าเกษตร (Agricultural)ผลผลิตที่ได้จากการเกษตร พืช สัตว์ เช่น ผลไม้ต่าง ๆ ถั่ว ข้าว
สินค้าปศุสัตว์ (Livestock)สัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเพื่อนำมาใช้เป็นอาหารหรือเพื่อแปรรูป เช่น ปลา หมู ไก่

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นสามารถผันผวนได้ง่ายและขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลายประการ 

1.อุปสงค์และอุปทาน

ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาดนั้น ๆ เช่น หากอุปสงค์เพิ่มขึ้นและอุปทานลดลงจะทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น แต่ในทางกลับกันหากอุปสงค์น้อยลงแต่อุปทานเพิ่มขึ้นราคาสินค้าจะลดลง

2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

 ภาวะเศรษฐกิจมักส่งผลกับความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ นโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

3.ปัจจัยทางสงคราม

สงครามและความขัดแย้งมีผลต่อการผลิตและการขนส่งของสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทได้ เช่น สงครามในรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมัน ธัญพืช และปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและประเทศที่เกิดสงครามด้วย

4.ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ

ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไรโดยการเข้าซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ของนักลงทุน ปริมาณการเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อราคาที่มากเกินกว่าปกติได้ครับ

ทำไมสินค้าโภคภัณฑ์ถึงน่าลงทุน

  • โอกาสในการทำกำไร 

ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานเมื่อปัจจัยเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่สินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

  • ป้องกันเงินเฟ้อ

เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงมูลค่าของเงินจะต่ำลง แต่สินค้าต่าง ๆ จะแพงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่นำมาใช้ผลิตสินค้านั้นก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย กล่าวคือสินค้าโภคภัณฑ์จะมีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้นไปในทิศทางเดียวกันกับเงินเฟ้อ

  • กระจายความเสี่ยง 

สินค้าโภคภัณฑ์มีความสัมพันธ์ที่ผกผันกันกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ ทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยงได้ดี อีกทั้ง ยังช่วยลดความเสี่ยงในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้ เช่น บางครั้งราคาหุ้นก็เคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกันกับสินค้าโภคภัณฑ์

ความเสี่ยงของการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง : สินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทมีสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำทำให้ยากต่อการซื้อขาย

ความเสี่ยงด้านความผันผวน : ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลายประการ ทำให้ราคาสามารถผันผวนได้อย่างรวดเร็ว

ความเสี่ยงด้านการจัดเก็บ : การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรงจะมีความเสี่ยงด้านการเก็บรักษาและการคงสภาพ แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเก็บรักษา หรือเลือกลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ทางอ้อมแทน

ความเสี่ยงจากนโยบายของรัฐบาล : การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลก็สามารถส่งผลต่อราคาและตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ได้ เช่น การเสียภาษีเพาะปลูก การกำหนดข้อจำกัดด้านการผลิต หรือแม้แต่ภาวะเศรษฐกิจและความผันผวนของค่าเงิน

วิธีลดความเสี่ยงในการลงทุนกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์

  • เลือกลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องสูง ง่ายต่อการซื้อขาย ราคาไม่ผันผวนมากจนเกินไป ขณะเดียวกันก็สามารถคงมูลค่าไว้ได้ในช่วงวิกฤต 
  • เลือกช่องทางการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง
  • วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคและแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา
  • วางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของตนเอง
  • ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์

การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์นั้นสามารถลงทุนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีความผันผวนที่ค่อนข้างสูงในระยะสั้น อีกทั้ง ราคายังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลายประการ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยต่าง ๆ และหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารให้ดี รวมถึงบริหารความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน และกำหนดจุด Take Profit / Stop Loss หรือตั้ง Risk Reward Ratio

3 ช่องทางการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์

ในปัจจุบันสินค้าโภคภัณฑ์สามารถแบ่งช่องทางการลงทุนได้ 3 ช่องทาง ดังต่อไปนี้

ลงทุนทางตรง 

ลงทุนทางตรง คือ การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ๆ โดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อมาเก็บไว้เองและทำกำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาในอนาคต เช่น ซื้อข้าวเปลือกมาเก็บไว้และทำการขายเมื่อราคาสูงขึ้น แต่การลงทุนในรูปแบบนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

📌 ข้อดี

นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่จับต้องได้

📌 ข้อเสีย

มีต้นทุนในการเก็บรักษาและความเสี่ยงในการคงสภาพสินค้า อีกทั้งต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการลงทุน และมีสภาพคล่องค่อนข้างน้อย

ลงทุนทางอ้อม 

ลงทุนทางอ้อม คือ การลงทุนในบริษัทที่ดำเนินกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งการลงทุนในหุ้น กองทุนรวม หรือแม้แต่ ETF ที่มีการลงทุนเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์เอง

📌 ข้อดี

สภาพคล่องสูง กระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าการลงทุนทางตรง ใช้เงินลงทุนน้อย มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลกองทุนให้ในกรณีที่ลงทุนใน ETF หรือกองทุน

📌 ข้อเสีย

มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายเพิ่มเติมแต่จะไม่สามารถจัดการพอร์ตได้ด้วยตัวเอง

ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Commodities Futures) 

ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Commodities Futures) คือ การลงทุนผ่านการถือครองตราสารอนุพันธ์หรือหน่วยลงทุนแบบ CFD การลงทุนประเภทนี้จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา

📌 ข้อดี

ป้องกันความเสี่ยงของการผันผวนของราคาได้และสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น – ขาลง ใช้เงินลงทุนน้อยมาก มีค่าธรรมเนียมไม่สูงมากและนักลงทุนรายย่อยเข้าถึงได้ง่าย

📌 ข้อเสีย

มีความเสี่ยงในเรื่องของการเลือกใช้ Leverage 

โบรกเกอร์ CFD ที่สามารถซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ได้

โบรกเกอร์ CFDHard CommoditySoft Commodityรีวิวโบรกเกอร์
IUXอ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม
IC Marketsอ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม
HFMอ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม
Pepperstoneอ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม
นักลงทุนโปรดศึกษาเงื่อนไข คุณสมบัติ ตลอดจนค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนใช้บริการ

📌*หมายเหตุ : การลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ นั้นจะเหมาะกับนักลงทุนที่มีเทคนิคการลงทุนแตกต่างกันไป ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายและแผนการลงทุนของตนเองก่อนเลือกตัดสินใจลงทุนครับ 📢

5 อันดับสินค้าโภคภัณฑ์ที่คนนิยมลงทุนในปัจจุบัน

น้ำมันดิบ (ฺCrude Oil)

น้ำมันดิบถือเป็นสินค้าที่ผู้คนต้องการอย่างมากและถือเป็นพลังงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ถูกใช้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง เป็นต้น

ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยตรงและถือเป็นอีกแหล่งพลังงานสำคัญที่มีความต้องการสูง

ทองคำ (Glod)

ทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนนิยมลงทุนในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจมีความผันผวน อีกทั้งทองคำยังมีสภาพคล่องที่สูงมากและสามารถรักษามูลค่าไว้ได้ในช่วงวิกฤต

เงิน (Silver)

เงินถือเป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกับทองคำและยังถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 

ทองแดง (Copper)

ทองแดงถือเป็นโลหะที่มีความต้องการในอุตสาหกรรมสูงมาก กล่าวคือเมื่ออุตสาหกรรมเติบโตขึ้นมากเท่าไหร่ ทองแดงก็จะเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

แนวโน้มการลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ปี 2567

แนวโน้มของการลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ในปี 2567 ยังมีความผันผวนในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยภายนอก แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรกร เช่น น้ำตาล ปาล์ม ถั่วเหลือง จึงมีแนวโน้มปรับตัวลง แต่ในส่วนราคาของข้าวสาลีและข้าวโพด คาดการณ์ว่าจะปรับราคาขึ้นเนื่องจากการผลิตที่ยังคงลดลงในรัสเซีย ในส่วนสินค้ากลุ่มโลหะคาดว่าจะมีการปรับราคาขึ้นภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซัน (High Season) ของภาคอุตสาหกรรมการส่งออกครับ

หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์แบ่งออกได้ตามประเภทของการดำเนินธุรกิจ ดังต่อไปนี้

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

หุ้นกลุ่มพลังงาน (Energy)

หุ้น PTT เป็นของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) – ประกอบกิจการ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจที่ลงทุนผ่านบริษัทย่อย

ข้อมูลสำคัญของหุ้น PTT

  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด : 971,141.87 ล้านบาท 
  • P/E : 8.67 
  • อัตราผลตอบแทน : 5.88 %
  • เงินปันผลล่าสุด : 1.20 บาท / หุ้น 
  • รายได้รวม : 3,185,256.08 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ : 112,023.88 ล้านบาท
  • อัตรากำไรสุทธิ : 4.87 %

บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

หุ้นกลุ่มโลหะ (Metals)

หุ้น TSTH เป็นของ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) – ประกอบกิจการ ผลิตและจำหน่ายสินค้าเหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กรูปพรรณขนาดเล็ก ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ข้อมูลสำคัญของหุ้น TSTH

  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด : 6,400.37 ล้านบาท 
  • P/E : 66.52 
  • อัตราผลตอบแทน : 5.88 %
  • เงินปันผลล่าสุด : 1.20 บาท / หุ้น 
  • รายได้รวม : 25,040.67 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ : 96.22 ล้านบาท
  • อัตรากำไรสุทธิ : 0.38 %

บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)

หุ้นกลุ่มสินค้าเกษตร (Agriculture)

หุ้น TWPC เป็นของ บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) – ประกอบกิจการ ผลิตและจําหน่ายผลิตภัณฑ์แป้งและที่เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

ข้อมูลสำคัญของหุ้น TWPC

  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด : 3,363.21 ล้านบาท 
  • P/E : 119.84
  • อัตราผลตอบแทน : 2.38 %
  • เงินปันผลล่าสุด : 0.09 บาท / หุ้น 
  • รายได้รวม : 2,665.98 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ : 65.89 ล้านบาท
  • อัตรากำไรสุทธิ : 2.69 %

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 

หุ้นกลุ่มปศุสัตว์ (Livestock)

หุ้น CPF เป็นของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) – ประกอบกิจการเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่จำแนกธุรกิจหลักตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ธุรกิจอาหารสัตว์  2. ธุรกิจเลี้ยงสัตว์-แปรรูป  3. ธุรกิจอาหาร

ข้อมูลสำคัญของหุ้น CPF

  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด : 185,098.51 ล้านบาท 
  • P/E : –
  • อัตราผลตอบแทน :  –
  • เงินปันผลล่าสุด : 0.35 บาท / หุ้น 
  • รายได้รวม : 141,102.21 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ : 1,152.03 ล้านบาท
  • อัตรากำไรสุทธิ : 1.10 %

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) 

หุ้นกลุ่มเคมี (Chemicals)

หุ้น IVL เป็นของ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) – ประกอบกิจการด้านการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ดำเนินธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีครบวงจรทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

ข้อมูลสำคัญของหุ้น IVL

  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด : 138,117.98 ล้านบาท 
  • P/E : –
  • อัตราผลตอบแทน : 3.76 %
  • เงินปันผลล่าสุด : 0.18 บาท / หุ้น 
  • รายได้รวม : 137,627.34 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ : 1,133.00 ล้านบาท
  • อัตรากำไรสุทธิ : 0.74 %

การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์สามารถทำได้กี่ช่องทาง ?

สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ การลงทุนทางตรง การลงทุนทางอ้อม และการลงทุนในสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า (Commodities Futures)

สินค้าโภคภัณฑ์สามารถป้องกันเงินเฟ้อได้ไหม ?

สามารถป้องกันได้ เนื่องจาก สินค้าโภคภัณฑ์จะมีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้นไปในทิศทางเดียวกันกับเงินเฟ้อ

การลงทุนในกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร ?

การลงทุนในกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ คือ การลงทุนในกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ

จากที่พี่โบ้กล่าวมาถึงแม้สินค้าโภคภัณฑ์จะสร้างผลตอบแทนที่สูงซึ่งถือเป็นข้อดี แต่ก็มีความผันผวนที่สูงมากเช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้อาจจะส่งผลให้เกิดการขาดทุนได้ง่ายภายในระยะเวลาอันสั้นครับ ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ได้มาจากแค่ปัจจัยภายนอกก่อนเริ่มลงทุน


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense