
Slippage Forex คือ ความคลาดเคลื่อนของราคาในการเปิดและปิดออเดอร์ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการเทรด แต่บทความนี้จะช่วยแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงให้กับคุณ 😎
. . . . . . . . . . . . . . . .
Slippage Forex คืออะไร?
Slippage Forex คือ การคลาดเคลื่อนระหว่างราคาร้องขอ (Requested Price) และราคาที่ดำเนินการจริง (Executed Price) เช่น คุณตั้งใจจะ Buy ที่ 1.2000 แต่ระหว่างดำเนินการ ราคาที่คุณเปิดออเดอร์ได้ อาจเปลี่ยนเป็น 1.2030 ซึ่งมักเกิดขึ้นในตลาดที่มีความผันผวนสูงหรือในช่วงที่มีสภาพคล่องต่ำ ส่งผลให้คุณไม่สามารถเปิดออเดอร์ในราคาที่ต้องการได้ และอาจกระทบต่อผลกำไรหรือขาดทุนของคุณ
ทั้งนี้ Slippage มีทั้งผลกระทบในเชิงบวกและลบ และไม่ได้เป็นเรื่องแย่เสมอไปครับ เพราะในบางครั้งคุณอาจได้รับราคาที่ดีกว่าที่คุณเลือกไว้ก็ได้
Slippage เกิดจากอะไร? ในตลาด Forex
สาเหตุของ Slippage สามารถแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ตลาดมีความผันผวนสูง, ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ, การเลือกใช้คำสั่งที่ไม่เหมาะกับสภาวะตลาด และความล่าช้าของเซิร์ฟเวอร์โบรกเกอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ตลาดมีความผันผวนสูง
- มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีข่าวสำคัญ เช่น ข่าว Non-Farm หรือการประกาศดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
- คำสั่งอาจถูกดำเนินการ ณ ราคาที่ไม่ตรงกับราคาที่คุณต้องการ
2. ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ
- หากคุณเทรดคู่เงินที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น USD/THB หรือ EUR/TRY คุณอาจพบว่า ออเดอร์ถูกเปิดในราคาที่ต่างจากที่ตั้งใจไว้
- หากตลาดมีปริมาณซื้อขายต่ำ เช่น ในช่วงเปิดตลาดวันจันทร์หรือตลาดปิดในวันหยุด ราคาที่คุณต้องการอาจไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายที่พร้อมทำธุรกรรม
3. การเลือกใช้คำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะกับสภาวะตลาด
- Slippage มักเกิดกับคำสั่ง Market Instant เพราะเป็นคำสั่งเปิดออเดอร์ทันที ส่งผลให้ราคาที่คุณต้องการอาจเปลี่ยนแปลงระหว่างดำเนินการ
- โบรกเกอร์ส่วนใหญ่มักดำเนินการด้วยคำสั่ง Market Instant เนื่องจากเปิดออเดอร์ได้เร็วกว่า Market Order ประเภทอื่น
➡️ คำสั่งซื้อขาย Forex คืออะไร? มีอะไรบ้าง?
4. ความล่าช้าของเซิร์ฟเวอร์โบรกเกอร์
- โบรกเกอร์ที่มีระบบช้า อาจทำให้คำสั่งซื้อขายถูกดำเนินการล่าช้า และส่งผลให้ราคาเปลี่ยนแปลง
- การเลือกโบรกเกอร์เป็นสิ่งสำคัญมากในการเทรด
*หมายเหตุ: Slippage สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากการตั้งคำสั่งจากตัวคุณเอง, สภาวะตลาด หรือแม้แต่ระบบของโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้
ประเภทของ Slippage มีอะไรบ้าง?
Slippage แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Positive Slippage และ Negative Slippage โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. Positive Slippage (Slippage เชิงบวก)
- คำสั่งถูกดำเนินการในราคาที่ดีกว่าที่คาดหวัง
- เช่น ตั้ง Buy ที่ 1.20000 แต่ได้ที่ 1.99990
2. Negative Slippage (Slippage เชิงลบ)
- คำสั่งถูกดำเนินการในราคาที่แย่กว่าที่คาดหวัง
- เช่น ตั้ง Sell ที่ 1.20000 แต่ได้ที่ 1.19950
วิธีหลีกเลี่ยง Slippage ในการเทรด
- เลือกโบรกเกอร์ที่มีระบบการประมวลผลรวดเร็ว
- ใช้บัญชีที่มีสเปรดต่ำและไม่มี Requote
- หลีกเลี่ยงการซื้อขายในช่วงตลาดเปิดและปิด รวมถึงในช่วงที่มีข่าว
- ฝึกใช้คำสั่ง Pending Orders โดยเฉพาะ Limit Orders ซึ่งเป็นการกำหนดราคาที่ต้องการซื้อขายได้อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อลดโอกาสเกิด Slippage
- ตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ต และเซิร์ฟเวอร์ของโบรกเกอร์
แนะนำโบรกเกอร์ที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิด Slippage
IUX มีค่า Spread เริ่มต้นที่ต่ำกว่าโบรกอื่น และจากการทดลองใช้ ไม่พบปัญหาเกี่ยวกับการเกิด Slippage ครับ นอกจากนี้ยังเหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ เนื่องจากมีเงินฝากเริ่มต้นเพียง $10 และยัง Free Swap ทุกประเภทบัญชีอีกด้วยครับ
ตัวอย่างการเปิดออเดอร์แล้วไม่พบ Slippage
สเปรดต่ำ เริ่มต้น 0.2 Pips คงที่ แม้ช่วงตลาดผันผวน ทำให้เทรดได้มั่นใจทุกครั้ง อีกทั้งยังไม่มีค่า Swap ทุกบัญชี!
. . . . . . . . . . . . . . . .
สรุป Slippage ในตลาด Forex
สำหรับเทรดเดอร์ฟอเร็กซ์นั้น Slippage อาจเป็น “ความโชคร้าย” แต่สามารถหลีกเลี่ยงหรือจัดการได้ครับ โดยการเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดที่เหมาะสม และเลือกช่วงเวลาที่ตลาดมีสภาพคล่องสูง ทั้งนี้ Slippage สามารถเกิดผลกระทบได้ทั้งเชิงบวกและลบ
นอกจากนี้ หากคุณเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ที่ดี จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยง Slippage ได้มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร รวมถึงลดความเสี่ยงจากการขาดทุนโดยไม่จำเป็นได้อีกด้วยครับ
📢 Traderbobo แนะนำ
นอกจาก Slippage แล้วยังมีคำศัพท์อื่น ๆ อีกมาก ที่คุณต้องพบเจอในตลาดแห่งนี้ Traderbobo ขอแนะนำบทความ รวม 80 คำศัพท์ Forex ที่ควรรู้ เพื่อช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่ตลาดแห่งนี้ได้อย่างมั่นใจ🥰
*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง และการเทรดฟอเร็กซ์ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดต่าง ๆ อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม: สาระน่ารู้
พูดคุยและติดตาม Real Time: Facebook Page