E-Currency คืออะไร ?

Table of Contents
E-Currency คืออะไร

E-Currency หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ หลายคนคงอาจจะเคยได้ยินหรือไม่เคยได้ยินคำนี้ เนื่องจากเป็นคำที่ใหม่สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษาการเทรด Forex ในโลกออนไลน์ แต่คำว่า E-Currency ในปัจจุบันก็เริ่มมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เราไปดูกันดีกว่าว่าความหมายที่แท้จริงของคำนี้คืออะไร

E-Currency คืออะไร ?  

คำนี้ย่อมาจาก Electric Currency จะมีความคล้ายกับคำว่า E-Money Electronic Cash, Electronic Currency, Digital Money, Digital Cash หรือ Digital Currency หมายความว่า เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เราสามารถใช้จ่ายได้เหมือนเงินจริง โดยมีเงินสำรองเป็นเงินจริง หรืออาจจะเป็นทองคำ โดยเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นสกุลเงินที่ใช้สำหรับทำธุรกรรมการเงินทางอินเทอร์เน็ตโดยตรง

E-Currency แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. ระบบ Direct Payment

เป็นการที่เราทำการผูกบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตไว้กับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนเงินจากบัญชีธนาคารของเราให้เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง หรือในทางกลับกันเราก็สามารถเปลี่ยนเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนเงินเข้าบัญชีของเราได้โดยตรงเช่นกัน โดยเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถถอนเงินเข้าสู่บัญชีได้โดยตรง ได้แก่ Moneybookers, Paypal, Clikandbuy, Alertpay, Neteller และ Webmoney

2. ระบบ Third Party

เป็นการที่เราซื้อขายเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านตัวแทน เพื่อเปลี่ยนเงินจากบัญชีของเราให้เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์บางชนิดที่ต้องมีตัวแทนในการซื้อขาย ซึ่งแต่ละตัวแทนนั้นก็จะมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่แตกต่างกันออกไป เช่น Webmoney, Pecunix, E-Gold, C- Gold, E-Dinar, Pecunix และ Liberty Reserve

3. ระบบ Voucher Card

โดยมีเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติที่สามารถใช้ได้ทั้งสามระบบ เช่น Webmoney และ CashU ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศของผู้ใช้งานว่า สามารถนำระบบไหนมาใช้ได้ หรือมีเงื่อนไขอย่างไร

รูปแบบนี้จะคล้ายกับบัตรเติมเงิน เราต้องนำเงินสดซื้อบัตร หรือสลิปจากตัวแทนจำหน่าย โดยระบบนี้จะแพร่หลายในโซนยุโรป ทำให้หาซื้อได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นตามตู้อัตโนมัติ หรือตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งในสลิปหรือการ์ดแต่ละใบนั้นจะประกอบไปด้วยมูลค่าเงินที่เราซื้อ และรหัสสำหรับการนำมากรอกในบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยเงินอิเล็กทรอนิกส์ระบบนี้ ได้แก่ Webmoney , Ukash และ Paysafecard CashU

มูลค่าของ E-Currency อะไรบ้างที่ขึ้นหรือไม่ขึ้นกับทอง

มูลค่าขึ้นกับราคาทองคำ

  • E-Gold
  • C-Gold
  • E-Bullion
  • Pecunix
  • E-Dinar

มูลค่าไม่ขึ้นกับราคาทองคำ

  • Webmoney
  • Perfectmoney
  • Okplaypaypal
  • Neteller
  • Krill (Moneybookers)
  • Payza
  • Paysbuy
  • Cashu

ซึ่งการที่เงินอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นกับราคาทองคำนั้น หมายความว่า ถ้ามูลค่าทองในตลาดโลกมีเพิ่มขึ้น ค่าเงินในเงินอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้นก็จะมีมูลค่ามากขึ้นตามเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน ถ้ามูลค่าทองในตลาดโลกลดลง ค่าเงินที่เรามีอยู่ก็จะลดลงเช่นกัน แต่ยังมีเงินอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด เช่น E-bullion สามารถเลือกใช้ได้ทั้งมูลค่าที่ขึ้นกับราคาทองคำ หรือไม่ขึ้นกับราคาทองคำก็ได้

E-Currency เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Forex ?

เงินอิเล็กทรอนิกส์ใน Forex คือ ค่าเงินสกุลออนไลน์ที่มีการเทรดตามตลาดต่าง ๆ โดยสกุลเงินนั้นไม่ได้มีเงื่อนไขตายตัว อาจเป็นสกุลเงินที่ไม่คุ้นเคย และไม่ได้รับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารของประเทศอื่น ๆ แต่มีมูลค่าในโลกออนไลน์ และมีการซิ้อขายกันจริง ซึ่งตัวอย่างเงินเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันมากที่สุด เช่น Bitcoin (BTC) หรือ Litecoin (LTC) เป็นต้น

จุดเด่นของการเทรด E-Currency

1. มีสกุลเงินให้ทำการซื้อขายที่หลากหลาย

เงินอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่มากมายสกุลเงิน อีกทั้งยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดเงินอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นที่ที่คุณสามารถเลือกทำการซื้อขายได้อย่างหลากหลาย

2. สามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เงินอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่มีวันหยุด ทำให้สะดวกต่อการเทรดไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือเวลาใดก็ตาม

3. ง่ายต่อการปั่นตลาด

เราสามารถปั่นราคาของเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างมูลค่าให้เพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นก็สามารถสร้างกำไรจากผู้ที่เข้ามาเล่นใหม่ ๆ ได้ (แต่ไม่แนะนำครับ)

อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงความหมายพื้นฐานของคำว่า เงินอิเล็กทรอนิกส์ เท่านั้น และมันก็มีอยู่รอบตัวเรา เช่น Bitcoin ที่เป็นสกุลเงินดิจิทัลยอดนิยมอยู่ในขณะนี้ครับ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเงินอิเล็กทรอนิกส์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับพวกเรามากขึ้น ซึ่งในอนาคตเราก็ต้องติดตามกันดูต่อไปว่า เงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะถูกพัฒนาให้เราได้ใช้เหมือนกับสกุลเงิน


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense