คุณใช้เกณฑ์ใดในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ต?
✅ กำไรย้อนหลังที่สม่ำเสมอ
✅ ผลประกอบการที่ดี
✅ ค่า ROE ที่มีกำไรสุทธิเข้ามาคำนวณ
✅ ค่า P/E ที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้นเข้ามาคำนวณ
✅ ค่า EPS ที่มีกำไรสุทธิเข้ามาคำนวณ
จากคำตอบดูเหมือนว่า กำไรของบริษัทจะค่อนข้างสำคัญในการเลือกหุ้น เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาหุ้นโดยตรง และเปรียบเสมือนเส้นใยที่เชื่อมโยงเข้ากับปัจจัยสำคัญหลายตัว ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกหุ้นที่ดีที่สุด
. . . . . . . . . . . . . .
รู้หรือไม่? กำไรบางตัวที่สะท้อนอยู่ในงบการเงิน “ไม่ใช่กำไรที่แท้จริง” แต่เป็นกำไรที่บริษัทนำเสนอต่อสาธารณชนโดยยังไม่หักค่าใช้จ่ายสำคัญ ทำให้เกิดข้อถกเถียงในวงการหุ้นว่า สามารถใช้กำไรเหล่านี้ประเมินความสามารถของบริษัทได้จริงหรือ ซึ่งผู้ต้องสงสัยดังกล่าวมีนามว่า “EBITDA”🔥
ในบทความนี้ Traderbobo จะพาคุณไปพิสูจน์ความจริงว่า คำกล่าวหานี้เป็นจริงหรือไม่? โดยมีประเด็นสำคัญที่คุณควรรู้ ดังนี้
- ตารางคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ EBITDA คืออะไร?
- ถอดรหัสลำดับการคิดกำไร EBITDA ของบริษัท
- ทำความรู้จัก EBITDA คืออะไร?
- ทำไมต้องดู EBITDA บอกอะไรบ้าง?
- EBITDA Margin คืออะไร?
- ค่า EBITDA เท่าไหร่ดี
- ความแตกต่างของ EBIT กับ EBITDA ต่างกันอย่างไร?
- EBITDA อยู่ตรงไหนของงบการเงิน
- เจาะสาเหตุ! ทำไม วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ชอบ “EBITDA”
- นักลงทุนควรใช้ EBITDA หรือไม่?
- EBITDA กับ Net Profit ควรใช้อะไร?
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ EBITDA, EBITDA Margin, EBIT และ EBIT Margin
*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง และการเลือกลงทุนในหุ้นไม่ว่าจะตัวใด ควรพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างให้รอบคอบ
. . . . . . . . . . . . . .
ตารางคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ EBITDA คืออะไร?
Traderbobo ได้ทำการรวบรวมคำศัพท์สำคัญที่คุณจะต้องพบเจอในการศึกษาเกี่ยวกับ EBITDA ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน
คำศัพท์ | ความหมาย |
Gross Profit | ▪ กำไรขั้นต้น หรือรายได้ทั้งหมดของบริษัทที่ถูกหักด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายในขั้นแรก |
Gross Profit Margin | ▪ อัตรากำไรขั้นต้น เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง “กำไรขั้นต้น (Gross Profit)” กับ “ยอดขาย (Sales)” |
Operating Cash Flow | ▪ กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน |
Interest | ▪ อัตราดอกเบี้ย |
Tax | ▪ ภาษี |
Depreciation | ▪ ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น เครื่องจักร อาหาร และที่ดิน |
Amortization | ▪ ค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ และสิทธิการเช่า |
. . . . . . . . . . . . . .
ถอดรหัสลำดับการคิดกำไร EBITDA ของบริษัท
ในหัวข้อนี้เป็นเหมือนการปูพื้นฐาน เพื่อให้คุณสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดลำดับกำไรของบริษัทได้ง่ายมากขึ้น โดยทั่วไปเรารู้กันอยู่แล้วว่า “กำไร = รายได้-รายจ่าย” ซึ่งรายละเอียดของรายจ่ายต่าง ๆ นี่แหละ เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดประเภทของกำไรออกมา ซึ่งกำไรของบริษัทจะแบ่งออกเป็น 4 ตัวหลัก ดังนี้
EBITDA : กำไร (A) |
EBITDA = รายได้ - ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (ไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษี ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย) |
EBIT : กำไร (B) |
EBIT = A - ค่าเสื่อมและค่าจัดจำหน่าย |
EBT : กำไร (C) |
EBT = B - ดอกเบี้ยเงินกู้ |
Net Income : กำไร (D) |
Net Income = C - ภาษี |
EBITDA คืออะไร?
- EBITDA คือ กำไรก่อนหักค่าดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย
EBIT คืออะไร?
- EBIT คือ กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยและภาษี)
EBT คืออะไร?
- EBT คือ กำไรก่อนหักค่าภาษีของบริษัท
Net Income คืออะไร?
- Net Income คือ กำไรสุทธิที่อยู่ท้ายสุดของงบกำไรขาดทุน โดยเป็นกำไรที่บริษัทได้รับจริง ๆ หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างออกไปแล้ว
. . . . . . . . . . . . . .
ทำความรู้จัก EBITDA คืออะไร?
คุณคงพอเข้าใจคร่าว ๆ แล้วว่า EBITDA เป็นหนึ่งในประเภทของกำไรบริษัทที่จะถูกแสดงในงบกำไรขาดทุนทั่วไป ดังนั้น ในหัวข้อนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า EBITDA คืออะไร และทำไมนักลงทุนบางกลุ่มให้ความสำคัญ ในทางกลับกัน มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสิน EBITDA ว่า “ไม่ใช่กำไรที่ต้องสนใจ”
EBITDA คืออะไร?
EBITDA คือ กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ดังนั้น EBITDA จึงบ่งบอกถึงกำไรในส่วนที่เป็นเงินสดจริง ๆ ของบริษัทได้
EBITDA ย่อมาจากอะไร?
EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization ซึ่งเป็นตัวอักษรแรกของรายจ่ายทั้งหมดที่ไม่ถูกนำมาหักออก ดังนี้
- E = Earning (กำไร)
- B = Before (ก่อน)
- I = Interest (ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม)
- T = Tax (ภาษี)
- D = Depreciation (ค่าเสื่อมราคา)
- A = Amortization (ค่าตัดจำหน่าย)
ทำไมต้องดู EBITDA บอกอะไรบ้าง?
ทำไม? นักลงทุนต้องดู EBITDA |
✅ ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในการดูกำไรที่เป็นเงินสดจริง ๆ ของบริษัท |
✅ สามารถใช้คาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัท |
✅ บ่งบอกถึงความสามารถในการดำเนินงาน และจัดการค่าใช้จ่ายวันต่อวันของบริษัท โดยไม่มีผลกระทบจากขั้นตอนการทำบัญชี |
✅ นิยมใช้เปรียบเทียบความสามารถของบริษัทในอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรจำนวนมากผ่าน EBITDA Margin |
สูตร EBITDA คำนวณอย่างไร?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization ดังนั้น การคำนวณ EBITDA จึงต้องนำค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเข้ามารวมด้วย เนื่องจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นเพียงขั้นตอนในการทำบัญชีเท่านั้น หรือบริษัทอาจยังไม่ได้จ่ายเงินออกไปจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น บริษัทซื้อเครื่องจักรราคา 500,000 บาท ซึ่งคาดว่าเครื่องจักรนี้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี ดังนั้น เครื่องจักรนี้จะถูกคิดค่าเสื่อมราคาปีละ 500,000/3 = 166,666 บาท ซึ่งจำนวนเงินตรงนี้บริษัทยังไม่ได้ถูกจ่ายออกไปอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงแค่ขั้นตอนในการทำบัญชีเท่านั้น
สูตร EBITDA คืออะไร?
ความหมายของตัวแปร EBITDA คืออะไร?
- EBIT คือ กำไรก่อนหักภาษีที่บริษัทต้องจ่าย (แสดงในงบกำไรขาดทุน)
- ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่หักจากการเสื่อมลงของสินทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะเวลานาน เช่น เครื่องจักร ตึก และโรงงาน
- ค่าตัดจำหน่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่หักจากการเสื่อมลงของสินค้าที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ และสิทธิ์การเช่าซื้อ
ตัวอย่างการคำนวณ EBITDA จากงบการเงิน
สมมติบริษัท XX ได้ดำเนินกิจการจนมีผลตอบแทนทั้งหมด 100 ล้านดอลลาร์ โดยมีรายการ ดังนี้
รายการการดำเนินกิจการ | ค่าใช้จ่าย |
รายได้จากการดำเนินธุรกิจ | 80 ล้านดอลลาร์ |
รายได้อื่น ๆ | 20 ล้านดอลลาร์ |
รายได้รวม | 100 ล้านดอลลาร์ |
ต้นทุน | 20 ล้านดอลลาร์ |
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ | 10 ล้านดอลลาร์ |
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย | 30 ล้านดอลลาร์ |
ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย | 1 ล้านดอลลาร์ |
ดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่าย | 8 แสนดอลลาร์ |
ภาษีที่บริษัทต้องจ่าย (10%) | 10 ล้านดอลลาร์ |
รายได้ก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) | 29 ล้านดอลลาร์ |
รายได้ก่อนหักภาษี (EBT) | 28.2 ล้านดอลลาร์ |
กำไรสุทธิ | 58.2 ล้านดอลลาร์ |
จากสูตร EBITDA = ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย
EBITDA = 29 + 1 = 30 ล้านดอลลาร์
ดังนั้น EBITDA ของบริษัท XX จะเท่ากับ 30 ล้านดอลลาร์ แต่มีกำไรสุทธิ 58.2 ล้านดอลลาร์
📌 Tip! บริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตและยังอยู่ในช่วงที่ลงทุนสูงนิยมใช้กำไร EBITDA ในรายงานผลประกอบการ เนื่องจากมีค่าเสื่อมและดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งส่งผลให้กำไรสุทธิลดลง นอกจากนี้ นักลงทุนจะไม่ใช้ EBITDA ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง และเปรียบเทียบความสามารถกับบริษัทอื่น แต่จะใช้ EBITDA Margin แทน โดยเราจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป
*หมายเหตุ: ปัจจุบันในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จของแต่ละบริษัท มักมีการคำนวณ EBITDA มาให้เรียบร้อยแล้ว แต่หากบริษัทที่คุณสนใจไม่มีข้อมูล EBITDA ในรายงาน จะมี EBIT และ EBT แทน ซึ่งคุณสามารถนำมาคำนวณเองต่อได้
. . . . . . . . . . . . . .
EBITDA Margin คืออะไร?
EBITDA Margin คืออะไร?
EBITDA Margin คือ การนำ EBITDA มาคำนวณเป็น % เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง และเปรียบเทียบความสามารถกับบริษัทอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบจากขั้นตอนการทำบัญชี
สูตร EBITDA Margin คืออะไร? คำนวณอย่างไร?
ความหมายของตัวแปร EBITDA Margin คืออะไร?
- EBITDA คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
- รายได้ทั้งหมด คือ รายได้ทั้งหมดของบริษัทโดยยังไม่หักค่าใช้จ่ายสักประเภท
EBITDA Margin ใช้ดูอะไร?
EBITDA Margin คือ การคำนวณ EBITDA เป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง และเปรียบเทียบความสามารถกับบริษัทอื่นเท่านั้น
. . . . . . . . . . . . . .
ค่า EBITDA เท่าไหร่ดี
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น นักลงทุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้ค่า EBITDA Margin ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง และเปรียบเทียบความสามารถกับบริษัทอื่นเท่านั้น โดยค่า EBITDA Margin เปรียบเสมือน “กำไร” ตัวหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น ค่ายิ่งสูงยิ่งดี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- EBITDA Margin (+) มากกว่า 0
- EBITDA Margin (-) น้อยกว่า 0
ค่า EBITDA Margin | ความหมาย |
EBITDA Margin > 0 | บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน |
EBITDA Margin < 0 | บริษัทขาดทุน |
📌 Tip! ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลกำไรที่มากย่อมเป็นผลดีต่อบริษัทและหุ้น แต่คุณควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่บริษัทจะต้องจ่ายในอนาคตด้วย ซึ่งจะสะท้อนออกมาในค่า EBIT margin และ Net Profit Margin ดังนั้น การที่บริษัทมี EBIT เป็นลบ แต่ EBITDA เป็นบวกติดกันหลายปี อาจบ่งบอกว่า บริษัทไม่สามารถบริหารค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่ายได้
. . . . . . . . . . . . . .
ความแตกต่างของ EBIT กับ EBITDA ต่างกันอย่างไร?
EBIT | EBITDA | |
ย่อมาจาก | ▪ Earnings Before Interest and Tax | ▪ Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization |
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ถูกหักออก | ▪ ดอกเบี้ยเงินกู้ ▪ ภาษี | ▪ ดอกเบี้ยเงินกู้ ▪ ภาษี ▪ ค่าเสื่อมราคา ▪ ค่าตัดจำหน่าย |
นักลงทุนใช้ดูอะไร | ▪ กำไรทางบัญชีที่บริษัททำได้ | ▪ กำไรในรูปแบบของเงินสดที่บริษัททำได้ |
ตัวแปรที่ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน | ▪ EBIT Margin | ▪ EBITDA Margin |
⚠ โปรดระวัง! บริษัทที่มี EBIT Margin เป็นบวก และ EBITDA Margin เป็นลบ ติดต่อกันหลายปี อาจบ่งบอกได้ว่า บริษัทไม่มีความสามารถมากพอในการบริหารค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทจะต้องจ่ายในอนาคต และอาจเกิดปัญหาภายหลังตามมา |
. . . . . . . . . . . . . .
EBITDA อยู่ตรงไหนของงบการเงิน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น EBITDA คือ กำไรประเภทหนึ่งที่ถูกแสดงในงบการเงิน และหลายคนอาจจะยังเกิดความสงสัยว่า คุณจะสามารถดู EBITDA ได้จากตรงไหน และงบการเงินของบริษัทดูตรงไหน ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะนิยมเข้าไปดูงบการเงินของบริษัทต่าง ๆ ทาง www.set.or.th จากนั้นพิมพ์ชื่อบริษัทที่คุณสนใจลงในช่อง Get Quote และเลือก “สรุปข้อสนเทศ บจ. (Factsheet)” ซึ่งจะแสดงข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ของบริษัท ดังอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างการดู EBITDA อยู่ตรงไหน
1. เข้าไปที่ www.set.or.th จากนั้นพิมพ์ชื่อบริษัทที่คุณสนใจลงในช่อง Get Quote ซึ่งเราขอยกตัวอย่างเป็นบริษัท PTT
2. คลิกที่ “สรุปข้อสนเทศ บจ. (Factsheet)”
3. จากนั้นระบบจะพาคุณไปที่หน้าสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน และงบการเงินทั้งหมดของบริษัท ให้คุณเลื่อนหน้าจอลงที่หัวข้อ “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” และคุณจะพบกับค่า “EBITDA” ที่ถูกคำนวณมาไว้เรียบร้อย ซึ่งหากคุณต้องการนำไปเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน คุณจำเป็นต้องคำนวณ EBITDA Margin ออกมาเอง ซึ่งเราได้บอกวิธีการคำนวณไว้ ที่นี่
. . . . . . . . . . . . . .
เจาะสาเหตุ! ทำไมวอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ชอบ “EBITDA”
“EBITDA เป็นค่าใช้จ่ายแท้จริงของบริษัทต้องหักออกจากกำไร” วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าว…
ความคิดเห็นจาก “บัฟเฟตต์” สู่ “EBITDA”
จากที่กล่าวไปข้างต้น การคิดกำไร EBITDA จะถูกรวมค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเข้าไปด้วย ซึ่งในความเป็นจริงการที่บริษัทมีรายได้จำนวนมากก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย แสดงว่า กำไรส่วนนั้นไม่ใช่กำไรที่แท้จริงของบริษัท เนื่องจากคุณไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ บัฟเฟตต์มีความคิดเช่นนั้น
นอกจากนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังมองว่า ในการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทในแต่ละครั้งของเขา เขาไม่เคยให้ความสำคัญกับ EBITDA เนื่องจากมันเป็นกำไรที่บริษัทไม่ได้เปิดเผยความจริงอย่างครบถ้วน อีกทั้ง ค่าเสื่อมราคาเกิดจากการที่บริษัทซื้อเครื่องจักรมาใช้งานจริง ๆ เพียงแค่นำมาตัดออกจากรายได้เป็นงวดตามเกณฑ์การทำบัญชีเท่านั้น
ดังนั้น บัฟเฟตต์จึงเชื่อว่า ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องสูญเสียเงินสดออกไป โดยที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอย่างเต็มที่ (ค่าเสื่อมราคาจะถูกประเมินออกเป็นรายปี และทำการหักไว้ในบัญชีล่วงหน้า) อีกทั้งยังเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องจ่ายเงินสดเป็นก้อนเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอนาคต หากนักลงทุนรวมมันเข้าไปในกำไรของบริษัทคง “ไม่ใช่ความคิดที่ดี”
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นหนึ่งในนักลงทุนระดับโลก ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีความสามารถในการสร้างเงินสดทันที และเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนน้อย ซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมราคามีจำนวนลดลงตามไปด้วย เพราะธุรกิจเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถอย่างแท้จริงของผู้บริหาร ด้วยการทำให้ธุรกิจมีอัตราเติบโตสูงในขณะที่ใช้เงินลงทุนต่ำ จึงทำให้ EBITDA ไม่ใช่หนึ่งในปัจจัยที่เขานำมาพิจารณาในการเลือกลงทุน
นักลงทุนควรใช้ EBITDA หรือไม่?
ปัจจุบันข้อโต้แย้งนี้ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้น การใช้ EBITDA เข้ามาประเมินมูลค่าของบริษัทคงพูดไม่ได้ว่า เป็นเรื่องที่ผิดหรือถูก เนื่องจากหลักการพิจารณาอาจขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบุคคล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า คำเตือนจากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จแล้ว เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณต้องพึงระวังและคิดให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
EBITDA กับ Net Profit ควรใช้อะไร?
อย่างที่กล่าวไปว่า ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบุคคล ซึ่ง Net Profit คือ กำไรที่ทางบริษัทสามารถทำได้โดยหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า Net Profit ค่อนข้างครอบคลุมในการประเมินความสามารถของบริษัท และเป็นประเภทกำไรที่ถูกนำไปใช้พิจารณาก่อนลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ มากกว่า EBITDA อย่างไรก็ตาม คุณควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานร่วมด้วย
. . . . . . . . . . . . . .
สรุป EBITDA คืออะไร
EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization คือ หนึ่งในประเภทกำไรของบริษัท โดยเป็นกำไรก่อนหักดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ซึ่งหากคุณต้องการนำ EBITDA ไปเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง หรือเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น จำเป็นต้องคำนวณ EBITDA Margin ออกมาก่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ให้ดีมากขึ้น
- EBITDA Margin (+) มากกว่า 0
- EBITDA Margin (-) น้อยกว่า 0
นอกจากนี้ EBITDA ยังถือรายได้ในแง่ของเงินสดที่บริษัทสามารถทำได้ เนื่องจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีเท่านั้น ในทางกลับกัน มีนักลงทุนหลายกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ EBITDA มาวัดความสามารถของบริษัท เนื่องจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย คือ ค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริงที่บริษัทต้องสูญเสียเงินสดออกไป ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมวัดกำไรของบริษัทด้วย Net Profit มากกว่า
อย่างไรก็ตาม การเลือกพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุน อาจขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบุคคล และไม่มีคำว่า “ถูก” หรือ “ผิด” ดังนั้น การเลือกลงทุนควรตัดสินใจจากหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน เพื่อลดโอกาสในการสูญเสียต้นทุนให้มากที่สุด ทั้งนี้ การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ EBITDA, EBITDA Margin, EBIT และ EBIT Margin
EBIT EBITDA คืออะไร
EBIT คือ กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน แต่ EBITDA คือ กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน, ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย
EBITDA อยู่ตรงไหน
EBITDA จะถูกแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จของบริษัทต่าง ๆ
EBITDA Margin คืออะไร
การนำ EBITDA มาคำนวณเป็น % เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง และเปรียบเทียบความสามารถกับบริษัทอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
สูตร EBITDA คืออะไร
EBITDA = EBIT + ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย
สูตร EBITDA Margin คืออะไร
สูตร EBITDA Margin = EBITDA/รายได้ทั้งหมด
วิธีคำนวณ EBITDA จากงบการเงิน
EBITDA = EBIT + ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย แต่โดยส่วนใหญ่ EBITDA จะถูกแสดงเป็นข้อมูลไว้อยู่แล้วในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
EBITDA แปลว่าอะไร
EBITDA แปลว่า Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization คือ กำไรก่อนหักค่าดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย
EBITDA ย่อมาจาก
EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization ซึ่งเป็นตัวอักษรแรกของรายจ่ายทั้งหมดที่ไม่ถูกนำมาหักออก
EBIT กับ EBITDA ต่างกันอย่างไร
EBIT คือ กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยและภาษี) แต่ EBITDA คือ กำไรก่อนหักค่าดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย
EBITDA รวมค่าเสื่อมไหม
การคำนวณ EBITDA จะถูกรวมค่าเสื่อมเข้าไปด้วย
EBITDA คือ กำไรขั้นต้น หรือไม่
EBITDA ไม่ใช่กำไรขั้นต้น เนื่องจาก EBITDA คือ กำไรก่อนหักค่าดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
กำไรขั้นต้น คืออะไร
กำไรขั้นต้น คือ รายได้ทั้งหมดของบริษัทที่ถูกหักด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายในขั้นแรก
สูตร กำไรขั้นต้น
สูตร กำไรขั้นต้น คือ รายได้ทั้งหมด – ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในขั้นแรก
อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้
วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page