
Scalping Trade กลยุทธ์การทำกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อย ภายในไม่กี่วินาที ⏰
Scalping Trade เป็นการเทรดระยะสั้นที่อาศัยพลังของความถี่และจำนวนออเดอร์ในการเทรด ดุจดังกองทัพมดที่ถึงมดจะมีขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมพลังกันก็สามารถพิชิตสิ่งที่ใหญ่กว่าได้ เพราะถึงแม้ว่าแต่ละออเดอร์อาจสร้างกำไรได้เพียงน้อยนิด แต่เมื่อทำซ้ำต่อเนื่องหลายครั้ง ผลตอบแทนเหล่านั้นก็จะสะสมรวมกันกลายเป็นผลกำไรก้อนโตได้ อย่างไรก็ดี กลยุทธ์ดังกล่าวก็มีความเสี่ยงที่คุณต้องแบกรับเช่นกัน ดังนั้น มาเจาะลึกเรื่อง Scalping Trade กันแบบจัดเต็มในบทความนี้ได้เลยครับ!
…………………..🐜🐜🐜🐜🐜🐜🐜…………………..
หมายเหตุ: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการเทรดแบบ Scalping ในตลาด Forex เท่านั้น ไม่ได้เป็นคำแนะนำในการลงทุนแต่อย่างใด การเทรดแบบ Scalping มีความเสี่ยงสูงและอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนบางราย นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดครับ
Scalping Trade คืออะไร?
Scalping Trade คือ การเปิดออเดอร์หลาย ๆ ออเดอร์เพื่อทำกำไรจากการเทรดในระยะสั้น ๆ โดยไม่ถือออเดอร์ยาวข้ามวัน มุ่งเน้นทำกำไรเพียงไม่กี่ Pips แต่ทำซ้ำหลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่การ Scalping Trade มักจะทำให้จบภายในไม่กี่ชั่วโมง ทำให้อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการเทรดประเภทนี้ คือ การตั้ง Stop Loss และ Take Profit ให้แม่นยำนั่นเองครับ
ความสำคัญของ SL และ TP ในการ Scalping Trade

หากคุณอยากตั้ง Stop Loss และ Take Profit ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถทำตามวิธีต่อไปนี้ได้เลยครับ
- ตั้งจุด Take Profit ในตำแหน่งที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ว่าจะสามารถทำกำไรได้
- ตั้งจุด Stop Loss ในตำแหน่งที่สามารถยอมรับได้หากเกิดการขาดทุนจากการเคลื่อนไหวของราคา
ด้วยความที่การเทรดประเภทนี้ ต้องเปิดออเดอร์หลายออเดอร์พร้อมกัน เพื่อหาโอกาสทำกำไรในระยะสั้น ๆ ข้อสำคัญของการเทรดประเภท Scalping Trade จึงหมายถึงการเข้าไวออกไวครับ ทำให้การตั้ง Stop Loss และ Take Profit ที่แม่นยำและชัดเจนเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้เทรดเดอร์ประสบความสำเร็จกับการ Scalping Trade มากขึ้น เพราะทั้งสองเครื่องมือถือเป็นตัวช่วยในการป้องกันความเสี่ยงได้เป็นชั้นดีที่คุณไม่ควรมองข้ามครับ
Time Frame แบบไหน? ที่เหมาะกับการ Scalping Trade
อย่างที่ทราบกันดีว่า Scalping Trade จะเป็นการทำกำไรในช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนั้น Time Frame ที่เทรดเดอร์สาย Scalper นิยมใช้มักจะเป็น Time Frame ระยะสั้น ๆ ดังนี้
- M1 (1 นาที): เหมาะสำหรับการเทรดแบบการเปิด-ปิดออเดอร์ภายในไม่กี่วินาทีถึง 1 นาที การเคลื่อนที่ของราคามีความเร็วและผันผวนสูง มักมี “สัญญาณหลอก” มาก
- M5 (5 นาที): ใช้สำหรับ Mid-term Scalping โดยถือออเดอร์ประมาณ 5-15 นาที มักเกิดสัญญาณหลอกน้อยกว่า M1 ทำให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์ได้แม่นยำขึ้น
- M15 (15 นาที): เหมาะกับผู้ที่ต้องการความเสถียรและลดความเครียดในการเทรด โดยถือออเดอร์นานขึ้นประมาณ 30 นาที แต่โอกาสทำกำไรต่อครั้งจะลดลง
📢 สังเกตไหมครับว่า Time Frame ที่มีระยะสั้นจะเกิดสัญญาณหลอกได้มากกว่า Time Frame ที่มีระยะยาว ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping ควรมีการยืนยันสัญญาณจากหลาย Time Frame ร่วมกัน โดยควรตรวจสอบทิศทางใน Time Frame ที่ใหญ่กว่าเพื่อกรองสัญญาณหลอกและใช้ Time Frame ที่สั้นกว่า เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่แม่นยำครับ
การเทรดแบบ Scalping Trade ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง?
สำหรับการเทรดด้วยกลยุทธ์ Scalping Trade นักลงทุนควรวางแผนการเทรด รวมถึงพิจารณาเลือกคู่เงินที่เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ครับ
- สภาพคล่องของคู่เงิน
- ความผันผวนของคู่เงิน
- ค่าสเปรด
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการ Scalping Trade
- โบรกเกอร์ที่ดีและเครื่องมือวิเคราะห์ที่เหมาะสม
🐶💬 จากประสบการณ์ของพี่โบ้ การเลือกคู่เงินในการเทรดแบบ Scalping Trade ควรเป็นคู่เงินที่มีสภาพคล่องสูง เพราะการเลือกเทรดในคู่เงินดังกล่าวจะมีสเปรดที่แคบกว่า ทำให้เทรดเดอร์ประหยัดต้นทุนการเทรดได้ดีกว่า อีกทั้งมีโอกาสการเกิด Slippage ได้น้อยกว่าการเลือกเทรดในคู่เงินที่มีสภาพคล่องต่ำครับ
คู่สกุลเงินที่เหมาะสำหรับการเทรด Scalping Trade
คู่เงินที่เหมาะแก่การ Scalping Trade มีดังนี้
คู่สกุลเงิน | เหตุผล |
EUR/USD | คนเทรดเยอะมากที่สุด สภาพคล่องสูง และสเปรดต่ำ |
USD/JPY | มีสภาพคล่องสูง และคาดการณ์ความผันผวนได้ง่าย |
GBP/USD | มีสภาพคล่องสูง และมีความผันผวนสูง |
USD/CHF | มีสภาพคล่องสูง และความผันผวนต่ำ |
📢 แม้ความผันผวนจะมีผลต่อการเทรดแบบ Scalping อย่างมาก เนื่องจาก Scalping Trade เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่ากับว่า ยิ่งความผันผวนมากก็ยิ่งสามารถสร้างโอกาสในการทำกำไรได้ แต่ในข้อดีก็มีข้อเสียเพราะการเทรดท่ามกลางความผันผวนนั้น ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้วยเช่นกันครับ
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการ Scalping Trade คือช่วงไหน?
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำ Scalping Trade ในตลาด Forex คือ ช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่องสูงและความผันผวนที่เหมาะสม โดยระยะเวลาดังกล่าว มีดังนี้
1. ช่วงซ้อนทับระหว่างตลาดลอนดอนและนิวยอร์ก (Overlap)
- มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดและมีความผันผวนมากที่สุด
- เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการ Scalping โดยเฉพาะคู่เงินหลักอย่าง EUR/USD และ GBP/USD
2. ช่วงเปิดตลาดลอนดอน
- มีความผันผวนสูงโดยเฉพาะในช่วงแรกของการเปิดตลาด
- เหมาะสำหรับคู่เงินที่มี GBP และ EUR
3. ช่วงเปิดตลาดนิวยอร์ก
- เป็นช่วงที่นักลงทุน สถาบันการเงิน และเทรดเดอร์ในสหรัฐฯ เริ่มเข้ามาทำการซื้อขายในตลาด Forex อย่างจริงจัง ทำให้ตลาดมีความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ
- เหมาะกับคู่เงินที่มี USD ร่วมด้วย
4. ช่วงเปิดตลาดโตเกียว
- มีสภาพคล่องดีสำหรับคู่เงินในภูมิภาคเอเชีย
- เหมาะกับ USD/JPY, AUD/JPY และคู่เงินเอเชียอื่น ๆ
………………….🐶………………….
ความเสี่ยงในการเทรดแบบ Scalping Trade
Scalping Trade เป็นกลยุทธ์ที่อาจทำกำไรได้ดี ท่ามกลางความผันผวนของตลาด Forex แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงมาก โดยความเสี่ยงที่กล่าวถึง มีดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย เนื่องจาก Scalping เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ความถี่ในการออกออเดอร์ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายจึงสะสมอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลกำไรสุทธิลดลงอย่างมาก
- ความเครียดและแรงกดดันสูง การที่เทรดเดอร์ต้องตัดสินใจรวดเร็วและต้องติดตามตลาดอย่างต่อเนื่องนั้น อาจสร้างความเครียดและแรงกดดันให้เทรดเดอร์ได้
- ความผันผวนของตลาด แม้ความผันผวนช่วงสั้น ๆ สามารถสร้างโอกาสทำกำไร แต่ก็สามารถสร้างความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดได้เช่นกันครับ
- ความเสี่ยงจาก Leverage เทรดเดอร์สาย Scalping มักใช้ Leverage ที่สูง เพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวนั้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุนเป็นอย่างมาก
- ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มที่เสถียร การล่าช้าแม้เพียงไม่กี่วินาทีสามารถส่งผลให้ขาดทุนได้
- ความเสี่ยงจากการเกิด Slippage ในช่วงตลาดเคลื่อนไหวเร็ว คำสั่งอาจไม่ได้ราคาที่ต้องการ ทำให้กำไรลดลงหรือขาดทุนเพิ่มขึ้น
………………….🐶………………….
การ Scalping Trade โดยใช้ Indicator
พี่โบ้จะขอแนะนำการใช้ 3 เครื่องมือการวิเคราะห์ร่วมกับการเทรดแบบ Scalping Trade ที่เทรดเดอร์นิยมใช้ในตลาด Forex มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน โดย 3 อินดิเคเตอร์ที่พี่โบ้ได้หยิบยกมา มีดังนี้
นอกเหนือจากอินดิเคเตอร์ที่กล่าวไปนั้น เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้เครื่องมืออื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเข้าเทรดได้ อย่างไรก็ตาม การใช้อินดิเคเตอร์มากเกินไปอาจทำให้กราฟดูรกและสับสน จึงควรเลือกใช้เฉพาะเครื่องมือที่คุณเข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถตีความสัญญาณได้อย่างถูกต้องมากกว่าครับ
การ Scalping Trade โดยใช้ MACD

จากภาพเป็นเทคนิคการเทรดแบบ “MACD Crossover” หรือ “การเทรดด้วยการตัดกันของเส้น MACD” ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อจับจังหวะการเข้าซื้อและขายโดยอาศัยสัญญาณจากการตัดกันของเส้นต่าง ๆ ในอินดิเคเตอร์ MACD และการเปลี่ยนสีของ Histogram
เทคนิคนี้เป็นการเทรดแบบ Scalping โดยอาศัยสัญญาณจาก MACD เพื่อยืนยันการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มที่ระยะสั้นมาก ๆ ซึ่งพี่โบ้จะขออธิบาย ดังนี้
จุดสังเกตทิศทางโมเมนตัมตลาดตามแท่ง Histogram MACD
- ด้านลบ (Negative Side) คือ ส่วนที่อยู่ใต้เส้นศูนย์ บ่งบอกถึงโมเมนตัมขาลง การมีแท่ง Histogram สีแดงอย่างน้อย 2 แท่งติดต่อกัน บ่งชี้ว่าแนวโน้มขาลงมีโอกาสเป็นจริงมากขึ้น
- ด้านบวก (Positive Side) คือ ส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์ บ่งบอกถึงโมเมนตัมขาขึ้น การมีแท่ง Histogram สีเขียวอย่างน้อย 2 แท่งติดต่อกัน บ่งชี้ว่าแนวโน้มขาขึ้นมีโอกาสเป็นจริงมากขึ้น
โดยทั่วไปคุณสามารถเข้าเทรดได้ตั้งแต่ Histogram แท่งแรกเปลี่ยนสี แต่การที่ต้องรอแท่งที่ 2 เปลี่ยนสีเป็นเพียงการยืนยันแนวโน้มว่า การเคลื่อนไหวของราคามีโอกาสเป็นจริงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่วนนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากสัญญาณหลอกได้ครับ
การหาจังหวะเข้าเทรดตามสัญญาณ
- หาโอกาสเข้า Buy: เมื่อ MACD Line ตัดขึ้นเหนือ Signal Line และ MACD Histogram เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว และมีแท่งสีเขียวอย่างน้อย 2 แท่งติดต่อกัน
- หาโอกาสเข้า Sell: เมื่อ MACD Line ตัดลงใต้ Signal Line และ MACD Histogram เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง และมีแท่งสีแดงอย่างน้อย 2 แท่งติดต่อกัน
📢 Traderbobo แนะนำ
สีของแท่งเทียนบนกราฟราคาไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่า ควรเข้า Buy หรือ Sell เสมอไป สิ่งที่สำคัญคือสัญญาณ MACD ที่บ่งชี้ทิศทางของโมเมนตัม แม้ว่าแท่งเทียน ณ จุดนั้นจะเป็นสีเขียว แต่ถ้า MACD Histogram บ่งชี้ว่าโมเมนตัมกำลังเปลี่ยนเป็นขาลง จุดดังกล่าวก็อาจเป็นจังหวะที่เหมาะในการเข้า Sell มากกว่า Buy ครับ
การ Scalping Trade โดยใช้ Bollinger Bands

จากภาพจะเป็นวิธีการเทรดตามแนวโน้มโดยใช้ Bollinger Bands เป็นเครื่องมือช่วยในการยืนยันทิศทางตลาดและระบุจุดเข้าเทรดที่เหมาะสมสำหรับการ Scalping Trade โดยพี่โบ้จะขออธิบายการใช้งาน ดังนี้
การระบุจุดเทรดตามแนวโน้มด้วย Bollinger Bands
- หาโอกาสเข้า Buy: เมื่อราคาอยู่เหนือ Middle Line (กล่องสีเขียว) โดยจุดที่ราคาอยู่เหนือเส้น Middle Line ของ Bollinger Bands ถือเป็นสัญญาณซื้อ ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้น
- หาโอกาสเข้า Sell: เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่า Middle Line (กล่องสีแดง) โดยจุดที่ราคาอยู่ต่ำกว่า Middle Line ของ Bollinger Bands ถือเป็นสัญญาณขาย ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาลง
การ Scalping Trade โดยใช้ RSI

จากภาพเป็นการใช้อินดิเคเตอร์ RSI (Relative Strength Index) เพื่อวิเคราะห์หาจุดเข้าเทรดแบบ Scalping โดยเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Scalping จำนวนมากใช้ RSI ในการมองหาจังหวะการกลับตัวของราคา ผ่านสภาวะ Overbought (การซื้อมากเกินไป) และ Oversold (การขายมากเกินไป) โดยคุณจะสามารถจับจังหวะการเข้าเทรดจากการดู Overbought และ Oversold ได้ ดังนี้
การหาสัญญาณการซื้อขายด้วย RSI
- หาโอกาสเข้า Sell: เมื่อ RSI ขึ้นไปเหนือ 70 (Overbought) แล้วเริ่มลดลงกลับมาต่ำกว่า 70 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแรงซื้อกำลังอ่อนตัวลงทำให้การเปิดออเดอร์ Sell จะมีโอกาสได้เปรียบมากกว่า
- หาโอกาสเข้า Buy: เมื่อ RSI ลงไปต่ำกว่า 30 (Oversold) แล้วเริ่มปรับตัวขึ้นเหนือ 30 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแรงขายกำลังอ่อนตัวลง ซึ่งเหมาะแก่การเปิดออเดอร์ Buy
ข้อดี-ข้อเสียของการ Scalping Trade
ข้อดีของ Scalping Trade
- เพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้เทรดเดอร์
- ไม่ต้องเสียค่า Swap ในการถือครองออเดอร์ข้ามคืน
- ลดความเสี่ยงจากช่องว่างราคาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการปิดและเปิดตลาด
- สามารถปรับใช้ได้ในตลาดที่หลากหลาย เช่น Forex, ดัชนีหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์ หรือคริปโต
ข้อเสียของ Scalping Trade
- ต้นทุนการเทรดอาจสูงเพราะต้องเปิดปิดออเดอร์บ่อย ๆ
- อาจเกิดการกดดัน เนื่องจากต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
- มีความเสี่ยงในการขาดทุนจำนวนมากจากการใช้ Leverage
- ใช้เวลาในการเทรดมากเพราะต้องเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา
- เสี่ยงต่อการเกิด Slippage กรณีที่ตลาดมีความผันผวนมาก ๆ
สรุปเกี่ยวกับ Scalping Trade
หลักการของ Scalping Trade คือ “เก็บเล็กผสมน้อย” หรือ “ทยอยทำกำไร” โดยทำการเทรดจำนวนมากในแต่ละวัน บางครั้งอาจมากถึง 10-100 ครั้ง ในการเทรดแต่ละครั้ง โดยเทรดเดอร์มักตั้งเป้าหมายกำไรเพียงเล็กน้อย เช่น 5-20 pips โดยเทรดเดอร์สามารถพิจารณาใช้เครื่องมือการวิเคราะห์อื่น ๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเข้าออกตลาดร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- เครื่องมือการวิเคราะห์หรืออินดิเคเตอร์
- การศึกษารูปแบบของ Price Pattern
- การติดตามข่าวสารที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวของราคา
- เครื่องมือจัดการความเสี่ยงอย่าง Stop Loss และ Take Profit
ทั้งนี้อย่าลืมว่า กลยุทธ์ Scalping Trade ไม่ได้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน การเลือกใช้กลยุทธ์ในการเทรดควรคำนึงถึงความเหมาะสมและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับตนเอง ไม่ใช่แค่ประเมินจากผลกำไรที่คาดว่าจะทำได้เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาถึง ความเสี่ยงที่ยอมรับได้, ความสามารถในการบริหารจัดการเวลา, สภาพจิตใจ และความเข้าใจในตลาด ด้วยครับ
หมายเหตุ: การลงทุนในตลาด Forex มีความเสี่ยงและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทุกราย ข้อมูลและเนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เท่านั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบและพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงก่อนเริ่มทำการลงทุน
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม: สาระน่ารู้
พูดคุยและติดตาม Real Time: Facebook Page
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Howtotrade