การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis) คือ การวิเคราะห์กราฟผ่านรูปแบบราคา ซึ่งถูกใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะการเทรด Forex และ Stock 🤑
. . . . . . . . . . . . .
การวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือที่เรารู้จักกันในนาม Technical Analysis เป็นการวิเคราะห์กราฟที่เทรดเดอร์นิยมใช้มากที่สุดสำหรับการลงทุนในตลาดเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Forex, Stock หรือแม้แต่ Cryptocurrency เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการสร้างผลตอบแทนค่อนข้างสูง และแม่นยำมากกว่าการวิเคราะห์แบบอื่น ๆ อีกทั้งยังประหยัดเวลาในการติดตามข่าวอีกด้วย
📌 คุณสามารถเลือกคลิกไปยังหัวข้อที่คุณสนใจ
ทำไมคุณต้องอ่านบทความนี้ | Read More |
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis) คืออะไร? | Read More |
ความแตกต่างของ Fundamental และ Technical | Read More |
ข้อดีของ Technical Analysis | Read More |
ข้อเสียของ Technical Analysis | Read More |
สมมติฐานของ Technical Analysis | Read More |
👉รวม! 5 Technical Analysis ที่ทำกำไรได้จริง! ไม่ขายฝัน!👈 | Read More |
*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง และถึงแม้ว่า Technical Analysis จะมีความแม่นยำค่อนข้างสูง แต่จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และใช้เทคนิคหลายรูปแบบในการวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรให้มากขึ้น นอกจากนี้ การติดตามข่าวยังเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนพึงกระทำ เนื่องจากในบางครั้งกราฟราคาอาจเกิดการผันผวนแบบฉับพลันได้
👉 ติดตามข่าว Forex จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ >> สอน! วิธีดูปฏิทินข่าว Forex Factory
. . . . . . . . . . . . .
ทำไมคุณต้องศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิคอลจาก Traderbobo
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis) มีประสิทธิภาพอย่างมากในการสร้าง Win Rate ให้กับการเทรดของคุณ ซึ่งมันส่งผลต่อกำไรที่คุณจะได้รับ นอกจากนี้ยังเป็นเทคนิคที่เทรดเดอร์ทั่วโลกยอมรับ และต้องใช้ความพยายามในการรวบรวมเนื้อหาเพื่อศึกษาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แต่ในบทความนี้ Traderbobo ได้รวบรวม 5 เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ได้จริง ไม่ขายฝัน ซึ่งคุณสามารถศึกษาได้ฟรี และที่สำคัญมีเนื้อหาละเอียดไม่แพ้กับคอร์สสอนเทรดที่มีค่าใช้จ่าย 🔥
. . . . . . . . . . . . .
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis) คืออะไร?
การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คือ การวิเคราะห์กราฟจากความเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด และสามารถทำกำไรได้เป็นอย่างดีหากมีความเชี่ยวชาญ ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นที่นิยมของนักลงทุนทุกประเภท โดยเฉพาะนักลงทุนสายเทคนิค หรือสายเทรดกราฟ
ความแตกต่างของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค
ความหมาย | ตัวอย่าง | |
การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) | วิเคราะห์โดยใช้รูปแบบราคาเป็นหลัก เนื่องจากพฤติกรรมราคาสะท้อนถึงอารมณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดได้ค่อนข้างดี | การหาแนวรับ-แนวต้าน การตี Trendline การใช้อินดิเคเตอร์ การดู Price Action และ Price Pattern |
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) | วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจ เช่น ข่าวที่ส่งผลกระทบ, นโยบายธนาคารกลาง, อัตราดอกเบี้ย และราคาทองคำ | การติดตามข่าวที่ส่งผลกระทบ เช่น นโยบายธนาคารกลาง, อัตราดอกเบี้ย และราคาทองคำ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อสินทรัพย์นั้น ๆ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ |
ข้อดีของการวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
ข้อดีของการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) |
✅ พฤติกรรมราคาสามารถสะท้อนความเป็นไปของตลาดได้ |
✅ Technical Analysis สามารถวิเคราะห์จุดเข้า-ออกในการซื้อขายได้ค่อนข้างแม่นยำ |
✅ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีเครื่องมือช่วยมากมาย เช่น อินดิเคเตอร์ (Indicator) |
✅ สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ขึ้นอยู่กับเครื่องมือทางเทคนิคที่เลือกใช้) |
✅ หากใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ทาง Fundamental จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดได้สูง |
ข้อเสียของการวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
ข้อเสียของการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) |
⚠ จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจสูง |
⚠ มีโอกาสที่จะคาดการณ์ทิศทางราคาคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง |
⚠ ในการเทรดไม่ว่าจะสินทรัพย์ใด ควรใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอยู่เสมอ |
สมมติฐานของ Technical Analysis มีอะไรบ้าง?
สมมติฐานของ Technical Analysis
- ราคาสามารถสะท้อนความเป็นไปของตลาดได้ค่อนข้างดี
- พฤติกรรมราคามักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นวัฏจักร (Cycle)
📌 วัฏจักรราคา คือ การประเมินแนวโน้มในอนาคตที่สอดคล้องกับธรรมชาติของราคา โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะสะสม, ระยะขาขึ้น, ระยะแจกจ่าย และระยะขาลง
. . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . .
รวม! 5 การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis) มีอะไรบ้าง?
Technical Analysis มีอะไรบ้าง?
5 การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ที่ใช้ได้จริง และเหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ มีดังนี้
- แนวรับ แนวต้าน (Support and Resistance)
- อินดิเคเตอร์ (Indicator)
- Divergence
- Price Action
- Price Pattern
*หมายเหตุ: ควรใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคในแต่ละแบบร่วมกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไร และคาดการณ์แนวโน้มได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในแต่ละเครื่องมือมีประโยชน์และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน
1. แนวรับ แนวต้าน : การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอลด้วยแนวรับ แนวต้าน คืออะไร?
แนวรับ แนวต้าน (Support and Resistance) คือ แนวระดับราคาที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วว่า เมื่อราคาสามารถทะลุผ่านไปได้ จะมีโอกาสกลับตัวสูงหรือไปต่อในแนวโน้มเดิมได้ โดยการดูแนวรับ-แนวต้านเป็นพื้นฐานสำคัญที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องรู้ และที่สำคัญสามารถนำไปต่อยอดกับ Technical Analysis ขั้นสูงได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของแนวรับ แนวต้าน
- ใช้หาสัญญาณการเทรดได้ค่อนข้างดี
- ช่วยในการมองเห็นกรอบราคาและแนวโน้มคร่าว ๆ
- เป็นเทคนิคพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ได้
ข้อจำกัดของของแนวรับ แนวต้าน
- ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง อาจทำให้ราคาทะลุแนวรับหรือแนวต้านได้บ่อยครั้ง แต่ไม่เกิดการกลับตัว
- แนวรับ แนวต้าน ไม่ใช่สัญญาณซื้อขายที่แม่นยำที่สุด
2. อินดิเคเตอร์ : การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอลด้วยอินดิเคเตอร์ คืออะไร?
อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์กราฟแบบ Technical Analysis ที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการคำนวณราคาสินทรัพย์ตามสูตรคณิตศาสตร์ ทำให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคตได้ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งการใช้อินดิเคเตอร์จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้าน Technical ระดับหนึ่ง
ข้อดีของอินดิเคเตอร์
- ช่วยหาสัญญาณเข้าซื้อขายได้ค่อนข้างแม่นยำ
- ช่วยหาจุดกลับตัวของราคา
- อินดิเคเตอร์แต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป
- การใช้อินดิเคเตอร์ร่วมกัน 2 ตัวขึ้นไปในการวิเคราะห์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดได้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัดของอินดิเคเตอร์
- อินดิเคเตอร์บางตัวให้สัญญาณค่อนข้างเร็ว จึงอาจพบเจอสัญญาณหลอกได้ง่าย
- จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจด้าน Technical ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้
3. Divergence : การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอลด้วย Divergence คืออะไร?
Divergence คือ ความขัดแย้งของทิศทางราคาและอินดิเคเตอร์ ซึ่งนิยมใช้ดูสัญญาณกลับตัวของราคาตามรูปแบบ Divergence ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งออกเป็น Regular Divergence และ Hidden Divergence
ข้อดีของ Divergence
- แสดงถึงสัญญาณกลับตัวของราคาที่มีความน่าเชื่อถือสูง
- แสดงถึงการสูญเสียโมเมนตัมของราคา
- ใช้ได้ดีในการเทรดระยะสั้น
ข้อจำกัดของ Divergence
- เมื่อเกิด Divergence ราคาอาจไม่ได้มีการกลับตัวเสมอไป หรืออาจไม่ได้กลับตัวทันที
- ควรดูปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยในการวิเคราะห์ เช่น รูปแบบ Price Action ในบริเวณแนวรับ-แนวต้านสำคัญ
4. Price Action : การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอลด้วย Price Action คืออะไร?
Price Action คือ พฤติกรรมราคาที่สะท้อนออกมาผ่านรูปแบบแท่งเทียน (Candlestick Pattern) ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการเทรดกราฟเปล่า และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกตลาด แต่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการเทรด Forex เนื่องจากคู่เงินมีการเคลื่อนไหวมากกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อดีของ Price Action
- สามารถเทรดกราฟเปล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เรียบง่ายและไม่ต้องอาศัยกลยุทธ์เชิงลึก
- ใช้ดูสัญญาณการกลับตัว
- ใช้หาจุดเข้า-ออกในการซื้อขาย
ข้อจำกัดของ Price Action
- จำเป็นต้องอาศัยการจดจำรูปแบบต่าง ๆ
- จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการเทรด
- ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว
5. Price Pattern : การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอลด้วย Price Pattern คืออะไร?
Price Pattern มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chart Pattern คือ พฤติกรรมราคาที่มีการเคลื่อนที่สะสมมาจากอดีต และสะท้อนออกมาผ่านรูปแบบแท่งเทียนที่เรียงต่อกันเป็นแพทเทิร์น ซึ่งในแต่ละรูปแบบสามารถบ่งบอกถึงทิศทางการไปต่อหรือการกลับตัวของราคาได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Reversal Pattern และ Continuous Pattern
ข้อดีของ Price Pattern
- ลดการพึ่งพาเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ
- ใช้หาจุดกลับตัวของราคา
- ใช้หาจุดเข้า-ออกในการซื้อขาย
ข้อจำกัดของ Price Pattern
- จำเป็นต้องอาศัยการจดจำรูปแบบแพทเทิร์นต่าง ๆ
- จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการใช้งานพอสมควร
- เทรดเดอร์มือใหม่อาจทำความเข้าใจได้ยาก
. . . . . . . . . . . . .
สรุป การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล หรือ Technical Analysis มีอะไรบ้าง?
ในการวิเคราะห์กราฟราคาของสินทรัพย์ต่าง ๆ มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ Technical มากกว่า เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ที่ใช้รูปแบบราคาเป็นตัวชี้วัดหลัก และสะท้อนถึงวัฏจักรราคาได้อย่างแท้จริง
โดยเครื่องมือทาง Technical Analysis ที่สามารถใช้ได้จริง และมีประสิทธิภาพสูงในการเทรด มีทั้งหมด 5 ตัวด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- แนวรับ แนวต้าน
- อินดิเคเตอร์
- Divergence
- Price Action
- Price Pattern
ทั้งนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากเครื่องมือต่าง ๆ อาจเกิดการวิเคราะห์ที่คลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น การใช้เครื่องมือทาง Technical เพียงตัวเดียวไม่ใช่เรื่องที่ดี โดยแต่ละเครื่องมือมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากใช้ร่วมกันจะช่วยอุดรอยรั่ว และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Technical Analysis
Technical Analysis คืออะไร?
Technical Analysis คือ การวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยใช้รูปแบบราคาเป็นตัวชี้วัดหลัก ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มเทรดเดอร์สายเทคนิค
การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล Technical Analysis มีอะไรบ้าง?
- แนวรับ แนวต้าน
- อินดิเคเตอร์
- Divergence
- Price Action
- Price Pattern
สมมติฐานของ Technical Analysis มีอะไรบ้าง?
- ราคาสามารถสะท้อนความเป็นไปของตลาดได้ค่อนข้างดี
- พฤติกรรมราคามักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นวัฏจักร (Cycle)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คืออะไร?
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ การวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจ เช่น ข่าวที่ส่งผลกระทบ, นโยบายธนาคารกลาง และราคาน้ำมันหรือทองคำ
นักลงทุนสายเทคนิค คืออะไร?
นักลงทุนสายเทคนิค คือ นักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นหลัก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นักลงทุนสายกราฟ
แนะนำโบรกเกอร์ Forex ยอดนิยม ปี 2023 🚀
🔻 รวม! โบรกเกอร์ Forex ยอดนิยม ปี 2023
🔻รวม! โบรกเกอร์ Free Swap ปี 2023
🔻รวม! โบรกเกอร์ Forex เทรดทองที่คุ้มที่สุด ปี 2023
🔻รวม! โบรกเกอร์ Forex สเปรดต่ำ ค่าธรรมเนียมถูก ปี 2023
🔻รวม! โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรี เทรดฟรี ถอนได้ ไม่ต้องฝาก ปี 2023
🔻ตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือในไทย ปี 2023
อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้
วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page