แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? 3 วิธีการหาแบบ Basic แต่ทรงพลัง!

Table of Contents
แนวรับ แนวต้าน

. . . . . . . . . . . . .

“แนวรับ แนวต้าน” เป็นการวิเคราะห์แบบ Technical Analysis ที่เบสิกที่สุดในการเทรด Forex และหุ้น แต่หากคุณสามารถใช้มันได้อย่างเชี่ยวชาญ เทคนิคนี้จะช่วยสร้างผลกำไรให้คุณได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคขั้นสูงอื่น ๆ และที่สำคัญแนวรับแนวต้านจะทำให้คุณได้เปรียบในการกำหนดจุดเข้า-ออกในการซื้อขาย

📌คุณสามารถเลือกคลิกไปยังหัวข้อที่คุณสนใจ

(แนะนำให้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วคุณจะรู้ว่า การหาแนวรับ แนวต้านไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด พร้อมเผยอินดิเคเตอร์ที่จะเข้ามาช่วยให้เราสามารถกำหนดแนวรับและแนวต้านได้ง่าย และแม่นยำมากขึ้น)

ทำไม “แนวรับ แนวต้าน” จึงสำคัญในการเทรดRead More
แนวรับ แนวต้าน คืออะไร?Read More
การหาแนวรับ แนวต้าน ที่แข็งแรง พร้อมตัวอย่างRead More
รู้หรือไม่? แนวรับ แนวต้าน สลับกันได้Read More
ข้อดีของการใช้แนวรับ แนวต้านRead More
ข้อควรระวังในการใช้แนวรับ แนวต้านRead More
🔻รวม! 3 วิธีการหาแนวรับ แนวต้าน ForexRead More
1. วิธีการหาแนวรับ แนวต้านจากการตี Trendline
▪ การตี Trendline ใน Uptrend
▪ การตี Trendline ใน Downtrend
▪ การตี Trendline ใน Sideway
Read More
2. วิธีการหาแนวรับ แนวต้านจากจุดสูงสุด-ต่ำสุดRead More
3. วิธีการหาแนวรับ แนวต้านจาก Indicator
▪ Moving Average Indicator
▪ Bollinger Bands Indicator
▪ Fibbonacci Indicator
Read More

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง และการเทรด Forex รวมถึงสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคหลาย ๆ รูปแบบร่วมกันในการวิเคราะห์ เพื่อยืนยันแนวโน้มและสัญญาณการเข้าซื้อขายให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

. . . . . . . . . . . . .

แนวรับ แนวต้าน Forex หุ้น
  • แนวรับ แนวต้าน แสดงถึงระดับราคาที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา
  • แนวรับ แนวต้าน แสดงถึงระดับราคาที่สะท้อนอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)
  • แนวรับ แนวต้าน ถูกกำหนดขึ้นตามมุมมองของแต่ละบุคคล

. . . . . . . . . . . . .

แนวรับ แนวต้าน คือ

แนวรับ แนวต้าน (Support and Resistance) คือ แนวระดับราคาที่ถูกประเมินแล้วว่า เมื่อราคาสามารถทะลุผ่านไปได้ จะมีโอกาสสูงที่จะกลับตัว หรือใช้คอนเฟิร์มการไปต่อของแนวโน้มเดิม

แนวรับ คือ

แนวรับ (Support) คือ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน โดยเกิดจากการที่มีแรงขายเข้ามาจำนวนมาก จนทำให้ราคาลดลงจนเกิดแรงซื้อเข้ามา เพื่อรับราคาเอาไว้ไม่ให้ลงไปต่ำกว่านี้ ซึ่งเกิดได้ 2 กรณี ดังนี้

  • ราคาไม่สามารถทะลุแนวรับลงไปได้
  • ราคาสามารถทะลุแนวรับลงไปได้

🔻เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมหาแนวรับตอนที่ราคากำลังปรับตัวลง เพื่อวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้ม และหาจังหวะเข้าซื้อ

แนวต้าน

แนวต้าน (Resistance) คือ ระดับราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน โดยเกิดจากการที่มีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมาก จนทำให้ราคาปรับตัวขึ้นจนเกิดแรงขายเข้ามา เพื่อต้านราคาเอาไว้ไม่ให้ขึ้นไปสูงกว่านี้ ซึ่งเกิดได้ 2 กรณี ดังนี้

  • ราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านขึ้นไปได้
  • ราคาสามารถทะลุแนวต้านขึ้นไปได้

🔻เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมหาแนวต้านตอนที่ราคากำลังปรับตัวขึ้น เพื่อวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้ม และหาจังหวะขายออก

. . . . . . . . . . . . .

เคยได้ยินไหมครับว่า “แนวรับ แนวต้าน ยิ่งมีการทดสอบมาก ยิ่งแข็งแรงมาก” เปรียบเสมือนนักรบที่เจนสนาม ซึ่งสามารถสังเกตและวิเคราะห์ได้ง่าย ๆ หากเข้าใจถึงธรรมชาติของราคาได้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากพฤติกรรมราคาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็น Time Loop

แนวรับที่แข็งแรงดูยังไง?

หากราคาในอดีตมีปริมาณการซื้อจำนวนมาก จะทำให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้น จากนั้นเมื่อราคาลงมาทดสอบแนวรับ มักจะมีแรงซื้อเข้ามารับไว้จนทำให้ราคาไม่สามารถทะลุแนวรับลงไปได้

แนวต้านที่แข็งแรงดูยังไง?

หากราคาในอดีตมีปริมาณการขายจำนวนมาก จะทำให้ราคามีการปรับตัวลดลง จากนั้นเมื่อราคาขึ้นไปทดสอบแนวต้าน มักจะมีแรงขายเข้ามาต้านไว้จนทำให้ราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านขึ้นไปได้

ตัวอย่างแนวรับ แนวต้าน ที่แข็งแรง

แนวรับ แนวต้าน ที่แข็งแรง

🔻เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ Price Pattern รูปแบบเหล่านี้ ในการดูแนวรับ แนวต้านที่แข็งแรง ได้แก่  Double Top, Triple Top, Double Bottom และ Triple Bottom

กราฟแสดงการเกิด Triple Bottom ซึ่งเป็น Price Pattern ที่มีความน่าเชื่อถือสูงในการทดสอบแนวรับ ซึ่งหากราคาไม่สามารถทะลุแนวรับลงไปได้ หมายความว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น

🔻คลิกอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

👉 Price Pattern คืออะไร? รวมรูปแบบที่มีโอกาสกลับตัวสูง

. . . . . . . . . . . . .

🔻โปรดทราบว่า แนวรับสามารถกลายเป็นแนวต้านได้ และแนวต้านสามารถกลายเป็นแนวรับได้ หากราคาทะลุแนวรับเดิมลงมา หรือแนวต้านเดิมขึ้นไปได้

การเปลี่ยนแปลง

วิธีสังเกต

แนวรับ เปลี่ยนเป็น แนวต้าน

ราคาเกิดการทะลุแนวรับเดิมลงมา

แนวต้าน เปลี่ยนเป็น แนวรับ

ราคาเกิดการทะลุแนวต้านเดิมขึ้นไป

แนวรับ แนวต้าน สลับกันได้

จากกราฟจะเห็นว่า เส้นสีเขียว คือ แนวต้าน และเส้นสีฟ้า คือ แนวรับ แต่เมื่อราคาสามารถทะลุแนวรับลงมาได้ เส้นสีฟ้าจะกลายเป็นแนวต้านใหม่ และมีเส้นสีส้มเพิ่มขึ้นมาซึ่งเป็นแนวรับใหม่

. . . . . . . . . . . . .

ข้อดีของการหาแนวรับ แนวต้าน

✅ ช่วยหาจังหวะหรือกำหนดจุดในการซื้อขาย

✅ ช่วยให้เราสามารถเห็นกรอบการเคลื่อนไหวของราคาและแนวโน้มคร่าว ๆ

✅ เป็นเทคนิคพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

*หมายเหตุ: แนวรับ แนวต้านจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหากใช้ร่วมกับเทคนิคการเทรดอื่น ๆ เพื่อยืนยันสัญญาณให้ชัดเจนขึ้น เช่น อินดิเคเตอร์ และ Price Action

🔻คลิกอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

👉 5 อินดิเคเตอร์ Forex ที่ดีที่สุด ปี 2023

👉 คัมภีร์รวม! รูปแบบแท่งเทียน Price Action

ข้อควรระวังของการดูแนวรับ แนวต้าน

ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง อาจทำให้ราคาทะลุแนวรับหรือแนวต้านได้บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลให้การมองหาสัญญาณซื้อขายยากขึ้น ดังนั้น เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ข้อมูลของแนวรับแนวต้านในอดีตมาพิจารณาร่วมด้วย

แนวรับ แนวต้าน ไม่ใช่สัญญาณซื้อขายที่แม่นยำที่สุด ดังนั้น เทรดเดอร์ควรวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ เพื่อสร้างโอกาสในการทำกำไรให้มากที่สุด

. . . . . . . . . . . . .

วิธีหาแนวรับ แนวต้าน มีอะไรบ้าง

สำหรับวิธีการหาแนวรับ แนวต้านจะแบ่งออกเป็น 3 วิธีพื้นฐาน ดังนี้

  • วิธีการหาแนวรับ แนวต้านจากการตี Trendline
    • แนวโน้ม Uptrend
    • แนวโน้ม Downtrend
    • แนวโน้ม Sideway
  • วิธีการหาแนวรับ แนวต้านจากจุดสูงสุด-ต่ำสุด
  • วิธีการหาแนวรับ แนวต้านจาก Indicator

. . . . . . . . . . . . .

การตี Trendline แนวรับ แนวต้าน

การตี Trendline แนวรับ แนวต้าน คืออะไร?

🔻Trendline คือ เส้นที่แสดงทิศทางของราคาที่มีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน โดยจะตีเส้นจาก High ไป High หรือ Low ไป Low ใน Timeframe นั้น ๆ ที่คุณใช้วิเคราะห์อย่างน้อย 2 จุดขึ้นไปเท่านั้น จึงจะสามารถเป็นแนวรับ แนวต้านที่ชัดเจนได้

การตี Trendline เป็นการหาแนวรับ แนวต้านที่เทรดเดอร์ทุกคนจำเป็นต้องรู้ และเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดในการวิเคราะห์กราฟด้วยเทคนิคทางเทคนิคอลอื่น ๆ ต่อไป โดยการตี Trendline สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามแนวโน้มราคา ดังนี้

  1. การตี Trendline ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
  2. การตี Trendline ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)
  3. การตี Trendline ในแนวโน้มไปด้านข้าง (Sideway)

แนวรับ▪ ลากเส้นใต้แท่งเทียน
▪ ลากจากราคาต่ำสุดขึ้นไปยังราคาสูงสุด
แนวต้าน▪ ลากเส้นบนแท่งเทียน
▪ ลากจากราคาต่ำสุดขึ้นไปยังราคาสูงสุด

ตัวอย่างวิธีหาแนวรับ แนวต้านใน Uptrend

การตี Trendline หาแนวรับ แนวต้านใน Uptrend

จากกราฟจะสังเกตว่า ราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยในตอนแรกราคามีการลงมาทดสอบแนวรับ แต่ไม่สามารถทะลุลงมาได้ จึงเกิดการ Rebound ขึ้นไปทดสอบแนวต้าน และก็ไม่สามารถทะลุขึ้นไปได้เช่นกัน ทำให้ราคาเกิดการปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ราคาสามารถทะลุแนวรับลงมาได้ พร้อมเกิด Price Action รูปแบบ Down Bar ซึ่งแสดงถึง สัญญาณเตือนในการกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลง

แนวรับ▪ ลากเส้นใต้แท่งเทียน
▪ ลากจากราคาสูงสุดลงมายังราคาต่ำสุด
แนวต้าน▪ ลากเส้นบนแท่งเทียน
▪ ลากจากราคาสูงสุดลงมายังราคาต่ำสุด

ตัวอย่างวิธีหาแนวรับ แนวต้านใน Dowtrend

การตี Trendline หาแนวรับ แนวต้านใน Downtrend

จากกราฟแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มขาลงที่ชัดเจน โดยจะสังเกตได้ว่า เมื่อราคาขึ้นมาทดสอบแนวต้านในแต่ละครั้ง จะไม่สามารถทะลุผ่านไปได้ หรือไม่สามารถปิดตัวลงได้เช่นกัน จากนั้นราคาจึงเกิดการปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง

การตี Trendline หาแนวรับ แนวต้านใน Sideway

การตี Trendline ใน Sideway จะไม่ใช้หลักการเหมือนกับ Uptrend และ Downtrend เนื่องจากราคาไม่ได้มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ชัดเจน ดังนั้น เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะนิยมตี Trendline เป็นกรอบราคา โดยสังเกตจากการที่ราคามีการเคลื่อนที่ออกข้าง และไม่ทำ High หรือ Low ที่มากไปกว่าเดิม

ตัวอย่างวิธีหาแนวรับ แนวต้านใน Sideway

การตี Trendline หาแนวรับ แนวต้านใน Sideway

จากกราฟจะสังเกตว่า ในตอนแรกราคาอยู่ในแนวโน้มขาลงอย่างชัดเจน จากนั้นในช่วงเวลาหนึ่งราคามีการเคลื่อนที่ออกข้าง (Sideway) แสดงถึง แรงขายที่ลดลงในชั่วขณะ หรือการมีแรงซื้อเข้ามาแต่ยังไม่มากพอ จนเกิด Price Action รูปแบบ Down Bar ที่สามารถทะลุลงจากเส้นแนวรับและปิดตัวลงได้ หมายความว่า สัญญาณเตือนที่ราคาจะไปต่อในแนวโน้มขาลงได้เกิดขึ้นแล้ว

. . . . . . . . . . . . .

วิธีหาแนวรับ แนวต้านจากจุดสูงสุด-ต่ำสุด

การดูแนวรับ แนวต้านตามจุดสูงสุด-ต่ำสุด เปรียบเสมือนการดูภาพรวมของราคาในกรอบขนาดใหญ่ จึงนิยมใช้กับกลยุทธ์ Swing Trade และการเทรดระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่ TF ที่คุณเลือกใช้ และที่สำคัญการหาแนวรับและแนวต้านด้วยวิธีนี้ เราเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “แนวรับ แนวต้าน จิตวิทยา”

แนวรับ แนวต้าน จิตวิทยา คืออะไร?

ตามธรรมชาติของตลาดมักจะมีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดบริเวณจุดสูงสุดและต่ำสุดของกรอบราคา ซึ่งตามหลักจิตวิทยาแล้ว เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปถึงจุดสูงสุดจะมีแรงขายเข้ามาจำนวนมาก จากเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่รอ Sell เพื่อทำกำไร ในทางกลับกัน เมื่อราคาวิ่งลงมาถึงจุดต่ำสุดมักจะมีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมาก จากเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่รอ Buy เนื่องจากเป็นราคาที่นักลงทุนคาดว่าถูกที่สุด

. . . . . . . . . . . . .

การใช้ Indicator หาแนวรับ แนวต้าน จะมีหลักการคล้ายการตี Trendline แต่เราจะใช้ Trendline ที่เกิดจาก Indicator มาวิเคราะห์แทนการตีเส้นเอง ซึ่งค่อนข้างให้ความแม่นยำ และมีความสะดวกมากกว่า โดยอินดิเคเตอร์ที่มีคุณสมบัติในการหาแนวรับ แนวต้านได้ มีอยู่ 3 ตัวหลัก ๆ ดังนี้

📌คุณสามารถเลือกคลิกไปยังหัวข้อที่คุณสนใจ

Moving AverageRead More
Bollinger BandsRead More
Fibbonacci RetracementRead More

วิธีหาแนวรับ แนวต้านจาก Moving Average

แนวรับ แนวต้าน Indicator moving average

Moving Average (MA) คืออะไร?

Moving Average (MA) คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ โดยใช้ราคาปิดย้อนหลังตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อตรวจสอบแนวรับและแนวต้าน ทำให้ MA เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เทรดเดอร์นิยมใช้ระบุแนวรับ แนวต้าน

ตัวอย่างการใช้ MA Indicator แนวรับ แนวต้าน

การหาแนวรับ แนวต้าน Indicator moving average

โดยปกติในการใช้ Moving Average Indicator เพื่อวิเคราะห์กราฟ เราจะกำหนดเส้น MA ขึ้นมา 2 เส้น สำหรับดูการ Crossover และหาสัญญาณเข้าซื้อขาย แต่หากต้องการใช้งานเพื่อเป็นแนวรับ แนวต้าน เราจะใช้เส้น MA 1 เส้นเท่านั้น ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ SMA หรือ EMA โดยขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ และความถนัดของแต่ละบุคคล

วิธีหาแนวรับ แนวต้านจาก Bollinger Bands

แนวรับ แนวต้าน Indicator bollinger bands

Bollinger Bands (BB) คืออะไร?

Bollinger Bands (BB) คือ อินดิเคเตอร์ที่มีพื้นฐานมาจาก Moving Average ซึ่งจะประกอบไปด้วยเส้น 3 เส้น ที่ใช้เป็นตัวกำหนดแนวรับ แนวต้าน ดังนี้

  • เส้น Upper Bands
  • เส้น Middle Bands
  • เส้น Lower Bands

ตัวอย่างการใช้ BB Indicator แนวรับ แนวต้าน

การหาแนวรับ แนวต้าน Indicator bollinger bands

เทคนิคการดู

ความหมาย

เส้น Upper Bands

▪ ทำหน้าที่เป็น "แนวต้าน"

เส้น Middle Bands

▪ ทำหน้าที่เป็น "แนวต้าน" ของราคาที่ไม่สามารถทะลุเส้นนี้ขึ้นไปได้
▪ ทำหน้าที่เป็น "แนวรับ" ของราคาที่สามารถทะลุเส้นนี้ขึ้นไปได้

เส้น Lower Bands

▪ ทำหน้าที่เป็น "แนวรับ"

แนวรับ แนวต้าน Indicator fibonacci retracement

Fibonacci Retracement คืออะไร?

Fibonacci Retracement คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้หาจุดพักตัวของราคาล่วงหน้า และมีระดับสำคัญ (Level) อยู่ที่ 0-100 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เส้น Fibo ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

  • แต่ละ Level จะทำหน้าที่เป็น “แนวรับ”
  • ตี Fibo จากด้านล่าง (Swing Low) ขึ้นไปด้านบน (Swing High)

เส้น Fibo ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

  • แต่ละ Level จะทำหน้าที่เป็น “แนวต้าน”
  • ตี Fibo จากด้านบน (Swing High) ลงมาด้านล่าง (Swing Low)

ระดับ Fibo ที่ใช้หาแนวรับ แนวต้าน

Fibonacci Retracement จะมีระดับสำคัญอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ 61.8, 50.0 และ 38.2 เนื่องจากเป็นเป้าหมายการพักตัวของราคาส่วนใหญ่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ระดับ 61.8 คือ จุดพักตัวที่ 1 ราคามักจะมีการพักตัวบริเวณนี้
  • ระดับ 50.0 คือ จุดพักตัวที่ 2 เกิดในกรณีที่ราคาทะลุลงหรือขึ้นจากจุดที่ 1 มาได้
  • ระดับ 38.2 คือ จุดพักตัวที่ 3 หากราคามีแนวโน้มที่แข็งแรงจะไม่สามารถขึ้นหรือลงมาถึงจุดที่ 3 ได้ แต่ถ้าหากสามารถมาถึงจุดนี้ได้ หมายความว่า ราคามีโอกาสกลับตัวสูง

การตีเส้น Fibo หาแนวรับ แนวต้านใน Uptrend

การตีเส้น Fibo หาแนวรับ แนวต้านใน Uptrend

หลักการใช้งาน Fibo ในแนวโน้มขาขึ้น

หน้าที่ในแต่ละเส้น

ทำหน้าที่เป็น "แนวรับ"

การตีเส้น

ตีจาก "ล่าง" ขึ้น "บน"

การตีเส้น Fibo หาแนวรับ แนวต้านใน Downtrend

การตีเส้น Fibo หาแนวรับ แนวต้านใน Downtrend

หลักการใช้งาน Fibo ในแนวโน้มขาลง

หน้าที่ในแต่ละเส้น

ทำหน้าที่เป็น "แนวต้าน"

การตีเส้น

ตีจาก "บน" ลง "ล่าง"

. . . . . . . . . . . . .

หากถามถึงการวิเคราะห์แบบ Technical Analysis ที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อนเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้นแนวรับ แนวต้าน ซึ่งเป็นระดับราคาที่สำคัญและถูกประเมินแล้วว่า เมื่อราคาวิ่งทะลุผ่านไปได้ มีโอกาสสูงที่จะเกิดการกลับตัว หรือคอนเฟิร์มการไปต่อของราคา ณ Timeframe นั้น ๆ โดยวิธีการหาแนวรับและแนวต้านสามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การตี Trendline, การดูจุดสูงสุด-ต่ำสุด และการใช้อินดิเคเตอร์เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก

ทั้งนี้ การดูแนวรับแนวต้านจำเป็นต้องวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ เช่น Price Action, Price Pattern และอินดิเคเตอร์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับสัญญาณเทรด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแนวรับ แนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร?

  • แนวรับ (Support) คือ การที่ราคาปรับตัวลงในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจในการเข้าซื้อ
  • แนวต้าน (Resistance) คือ การที่ราคาปรับตัวขึ้นในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจในการขายออก

แนวรับ แนวต้าน ที่แข็งแรงดูยังไง?

แนวรับ แนวต้าน ที่แข็งแรง คือ ระดับราคาที่เกิดจากการถูกทดสอบซ้ำ ๆ ซึ่งราคาจะไม่สามารถทะลุขึ้นหรือลงมาได้

แนวรับ แนวต้าน Indicator มีอะไรบ้าง?

อินดิเคเตอร์ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้หาแนวรับ แนวต้าน ได้แก่ Moving Average, Bollinger Bands และ Fibonacci Retracement

แนวรับ แนวต้าน ดูยังไง?

การดูแนวรับแนวต้านสามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การตี Trendline, การดูจุดสูงสุด-ต่ำสุด และการใช้ Indicator

แนวรับ แนวต้าน Forex คืออะไร?

แนวรับ แนวต้าน Forex คือ กลยุทธ์ทาง Technical Analysis อย่างหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเทรด Forex

แนวรับ แนวต้าน หุ้น ดูยังไง?

เทคนิคการดูแนวรับ แนวต้านของทุกสินทรัพย์ใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งเราได้อธิบายไปแล้วในบทความข้างต้น


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter