DR คืออะไร?

Table of Contents
DR คืออะไร?

DR (Depositary Receipt) คือ ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เป็นตราสารชนิดใหม่ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนในไทยที่ต้องการลงทุนในหุ้นต่างประเทศหรือ ETF ต่างประเทศได้โดยผ่านการซื้อขาย DR ที่จดทะเบียนให้ซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงทำให้การถือครอง DR จึงเป็นเหมือนการถือครองหลักทรัพย์นั้นๆ ในทางอ้อม โดยที่ทำให้ผู้ถือจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับการถือหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นๆ เสมือนกับการยกหุ้นต่างประเทศหรือกองทุน ETF ต่างประเทศที่น่าสนใจเป็นตัวๆ มาให้แก่นักลงทุนในประเทศได้ซื้อขายกันง่ายๆ ในรูปแบบของตราสาร DR ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรานั่นเอง ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการเพิ่มบทบาทและความเชื่อมโยงกันกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเดียวกันนั่นเอง

ผลตอบแทนจากการลงทุนของ DR

การที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแบบ DR มีสองส่วนใหญ่ๆ เหมือนหุ้นไทยทั่วไป ส่วนแรกคือรูปแบบของ “กำไรจากส่วนต่างของราคา” DR โดยกำไรจากการซื้อขายก็ไม่เสียภาษีเพราะเป็นการซื้อขาย DR ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการยกเว้น และ DR ก็ไม่มีวันหมดอายุ และส่วนที่สองคือรูปแบบของ “เงินปันผล” โดยหาก การที่ถือครอง DR ของหุ้นต่างประเทศใดๆ แล้วหุ้นนั้นมีการจ่ายเงินปันผลหรือให้สิทธิประโยชน์ ผู้ออกจะนำส่งเงินปันผลหรือสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้น หลังหักค่าใช้จ่ายของการดำเนินการ (ถ้ามี) ให้กับผู้ถือ DR ตามที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก ซึ่งโดยทั่วไปก็จะแค่เทียบเคียงเท่านั้น ไม่เทียบเท่ากับการลงทุนตรงอยู่แล้ว  ซึ่งเพื่อนๆควรที่จะต้องต้องศึกษา และทำความเข้าใจก่อนลงทุน DR ด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเลือกลงทุนใน DR ก็คือ ต้องทำความรู้จักหลักทรัพย์ต่างประเทศของ DR ว่าเป็นหุ้นอะไร ? ทำธุรกิจอะไร ?  มีแนวโน้มอย่างไร ? ความถูกแพงเป็นอย่างไร ? มีความเสี่ยงอย่างไร ? หรือถ้าเป็น ETF ดัชนีหุ้นต่างประเทศก็ควรต้องดูว่า ETF นั้นเป็นตะกร้าหุ้นที่อ้างอิงก้บดัชนีอะไร ? แนวโน้มผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร ?  ซึ่งหลังจากนั้นเพื่อนๆ ควรศึกษา เงื่อนไขของ DR จากสัญญารับฝาก เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับผู้ลงทุนที่จะลงทุนใน DR เนื่องจากในสัญญารับฝาก ผู้ออกจะระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ออกที่มีต่อผู้ถือ DR สิทธิประโยชน์ที่ผู้ถือ DR จะได้รับ ค่าใช้จ่ายที่จะเก็บจากผู้ถือ DR รวมถึงการดำเนินการของผู้ออกเมื่อหลักทรัพย์ต่างประเทศเกิดเหตุการณ์สำคัญ เป็นต้น และที่สำคัญที่ควรดูคือ โครงสร้างของ DR แต่ละตัวและผู้ออก DR  เนื่องจากผู้ออก DR เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการต่างๆ ของ DR ตามที่ระบุในสัญญารับฝาก ดังนั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาความน่าเชื่อถือ หรือความสามารถในการให้บริการต่างๆ ของผู้ออกประกอบด้วย และยิ่งถ้ามีการจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้เพื่อนๆมั่นใจได้ว่า DR นั้นๆ น่าจะมีความเคลื่อนไหวสอดคล้องกับมูลค่าที่ยุติธรรมของหลักทรัพย์ต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

ดังนั้น DR จึงเหมาะกับผู้ลงทุนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการความสะดวกสบายในการลงทุนในหุ้นหรือ ETF ต่างประเทศ โดยที่ไม่มีเวลาหรือไม่ต้องการความยุ่งยากในการเปิดบัญชีลงทุนตรงในหุ้นต่างประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการสถานะเงินตราต่างประเทศ ภาษีจากการลงทุน การติดตามข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการออก DR ของหลักทรัพย์ต่างประเทศให้ลงทุนกันแต่อย่างใด แต่ในอนาคตน่าจะเริ่มมีกันให้เห็นบ้าง ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกของการลงทุนที่ดีเพิ่มให้กับนักลงทุนบ้านเรา


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense