ลงทุน ท่ามกลางสถานการณ์การเงินโลกในปีนี้ ดูเหมือนจะไม่สดใส เสี่ยงต่อเศรษฐกิจถดถอย และฟองสบู่แตก เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาอยู่ในระดับสูงมากทุกครั้ง ล่าสุดเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อยู่ที่ 8.5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 40 ปี ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จำเป็นขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.5% เพื่อสู้กับเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้น เรียกได้ว่า ตลาดลงทุน ณ ตอนนี้ อาจกำลังก้าวเข้าสู่ตลาดหมี (Bear Market) อย่างเต็มรูปแบบ
สถานการณ์ การ ลงทุน ในช่วงนี้
สังเกตได้จากหุ้น Growth ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือบริษัท Start-up ก็มีราคาที่ดิ่งลง เนื่องจากมีปัจจัยกดดันค่อนข้างมาก รวมไปถึงตลาด Cryptocurrency ด้วยเช่นกัน ก่อนหน้านี้ FED เคยออกมาประกาศว่า เงินเฟ้อจะอยู่กับเราแค่เพียงชั่วคราว แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่แล้ว นับตั้งแต่เกิดวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ระดับของเงินเฟ้อก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีเรื่องของน้ำมันเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ราคาน้ำมันดิบไต่ระดับขึ้นมากว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรล
อีกทั้ง ยังมีเรื่องของ Zero Covid ในประเทศจีน ซึ่งจีนเปรียบเสมือนโรงงานของโลก ดังนั้น การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักจึงทำให้ระบบ Supply Chain ต้องติดขัด จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ยากสำหรับการลงทุน และมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก
แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า คุณปู่ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ทุ่มซื้อหุ้นครั้งใหญ่ในรอบหลายปี คิดเป็นเงินกว่า 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้เงินสดในมือลดลงเหลืออยู่ที่ 1.06 แสนล้านดอลลาร์ ต่ำสุดนับตั้งแต่ ปี 2018 นั่นแสดงว่า บัฟเฟตต์ ได้ตัดสินใจแล้วที่จะนำเงินมาลงทุน บัฟเฟตต์กล่าวว่า “ตลาดมักทำสิ่งที่บ้าบอ และในบางครั้ง Berkshire ก็มีโอกาสได้ทำบางสิ่งที่แตกต่างออกไป นั่นไม่ใช่เพราะเราฉลาด…แต่เป็นเพราะเรามีเหตุผลเพียงพอที่จะตัดสินใจทำ”
วันนี้ พี่โบ้เลยจะมานำเสนอ 6 แนวคิด ‘ ลงทุน ‘ ให้ชนะเงินเฟ้อ ฉบับวอร์เรน บัฟเฟตต์
6 แนวคิด ‘ลงทุน’ ให้ชนะเงินเฟ้อ ฉบับวอร์เรน บัฟเฟตต์
1. ลงทุน ในธุรกิจทีใช้ต้นทุนต่ำ
ในภาวะที่เงินเฟ้อสูงเปรียบเสมือนกับการที่ภาคธุรกิจกำลังวิ่งขึ้นบันไดเลื่อน ในขณะที่บันไดเลื่อนนั้นเป็นขาลง สะท้อนว่า หากบริษัทใดต้องการเงินทุนต่ำ แปลว่า บันไดจะลงช้าหน่อย และการวิ่งขึ้นจะไม่เหนื่อยมากนัก แต่ถ้าบริษัทใดต้องการเงินทุนสูง แปลว่า บันไดเลื่อนนั้นอาจลงเร็วหน่อย และต้องใช้ความพยายามมากในการประคองให้ธุรกิจอยู่รอด ซึ่งในช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อสูงแบบนี้ แน่นอนว่าจะตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้น การเสียเวลาค้นหาบริษัทที่ดี แต่ใช้ต้นทุนต่ำในการผลิตสินค้าย่อมคุ้มกว่าที่จะเสี่ยงกับบริษัทที่มีต้นทุนสูง
2. ลงทุน ในธุรกิจที่ขึ้นราคาแล้วคนยังยอมจ่าย
เนื่องจากในช่วงเศรษฐกิจหลายคนคงเห็นว่า มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ทำการขึ้นราคา แต่ถ้ามีสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ผู้บริโภคก็จะเลือกใช้สินค้าตัวที่มีราคาถูกกว่าแทน ดังนั้น บัฟเฟตต์จึงมีความคิดว่า การลงทุนในธุรกิจที่คนยอมจ่ายไม่ว่าราคาจะสูงขึ้นเท่าใด และไม่เสียเปรียบคู่แข่งย่อมดีกว่า แสดงว่า สินค้านั้นมีพื้นฐาน หรือ Branding ที่ค่อนข้างดี เช่น สินค้าจำเป็น หรือสินค้าที่สามารถซื้อไว้เก็งกำไรได้
3. ลงทุน ใน TIPS
TIPS (Treasury Inflation – Protected Securities) คือ พันธบัตรรัฐบาลที่มีการปรับมูลค่าโดยอ้างอิงจากอัตราเงินเฟ้อ หรือพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ ซึ่งในไทย คือ ILB (Inflation – linked bonds) ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง เมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น การจ่ายผลตอบแทนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกันถ้าเงินเฟ้ออยู่ในภาวะปกติ ผลตอบแทนก็จะน้อยลงไปด้วย ดังนั้น เราต้องเลือกซื้อให้ถูกช่วงเวลา
4. หลีกเลี่ยงพันธบัตรแบบดั้งเดิม
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ ถ้าเรานำเงินไปซื้อพันธบัตรอายุ 10 ปี อาจได้ผลตอบแทนเพียงแค่ปีละ 2%-3% เท่านั้น แต่ถ้านำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่ดี อาจได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า
5. ลงทุนกับตัวเองที่ดีที่สุด
นี่เป็นหลักการแบบ VI ตามสไตล์ของบัฟเฟตต์ ซึ่งการลงทุนที่พัฒนาตนเองให้มีทักษะขึ้นนั้น เป็นเหมือนการรักษาอำนาจของเราไว้ไม่ให้ลดลง เช่น ทนายความ ถ้ามีความสามารถ และมีทักษะที่ดีก็จะสามารถเรียกค่าตอบแทนได้มากกว่าทนายคนอื่น ยิ่งในยุคดิจิทัลแบบนี้ ทำให้ความรู้หาได้ทุกที่ ซึ่งมีทั้งแบบฟรี และแบบเสียค่าเรียน แต่ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่คุ้มค่า เมื่อเราพัฒนาตนเองจนดีขึ้นแล้วจะไม่มีใครสามารถทดแทนได้
6. จำกัดความต้องการของตนเอง
เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี และอยู่ในสภาวะเงินเฟ้อ เราจำเป็นต้องลดความต้องการที่ไม่จำเป็นของตนเอง อย่างที่ชาร์ลี มังเกอร์ เคยกล่าวไว้ว่า “หนึ่งในการป้องกันเงินเฟ้อที่ดีที่สุด คือ การที่ไม่มีความต้องการที่ไร้สาระในชีวิต”
อย่างไรก็ตาม แม้ในสภาวะเงินเฟ้อแบบนี้ หากเราพลิกวิกฤตเป็นโอกาส และปรับพอร์ตการลงทุนไปตามสถานการณ์ จะทำให้เราสามารถชนะเงินเฟ้อได้อย่างแน่นอน แต่อย่าลืมว่า การลงทุนต้องควบคู่ไปกับความรู้
Source: The Standard และ The Secret Sauce
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: สาระน่ารู้
อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่: Review Broker