ตะกร้าค่าเงิน Forex คืออะไร? อยากเทรดต้องรู้!

Table of Contents
ตะกร้าค่าเงิน Forex

สืบเนื่องมาจากการเทรด Forex เป็นการทำกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคาคู่เงิน ซึ่งในปัจจุบันมีเทคนิคการเทรดขั้นสูงถูกเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ “ตะกร้าค่าเงิน Forex” ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยกระจายความเสี่ยง และเป็นเหมือนการปูทางว่า ช่วงเวลานี้ควรเล่นคู่เงินไหนดี?

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง และตลาดฟอเร็กซ์มีความผันผวนสูงมาก ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

. . . . . . . . . . . . . . .

ตะกร้าค่าเงิน Forex คืออะไร

ตะกร้าค่าเงิน Forex (Currency Basket) คือ การนำสกุลเงินหลักหลาย ๆ สกุลมารวมกัน โดยจะมีการกำหนดน้ำหนักของสกุลเงินตามขนาดเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ เพื่อวัดความแข็งค่าหรืออ่อนค่า

ตัวอย่างสกุลเงินที่มักถูกนำมารวมในตะกร้าค่าเงิน ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, เยน และปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น

📢 เทรดเดอร์มักใช้ตะกร้าค่าเงิน Forex เพื่อดูความสัมพันธ์ของสกุลเงิน และตัดสินใจว่า ควรเทรดในคู่เงินใดจึงจะได้เปรียบ

ปัจจุบันตะกร้าค่าเงินถูกใช้ทั้งในด้านการบริหารประเทศและการลงทุนทั่วไป จึงค่อนข้างมีความสำคัญอย่างมากในตลาด Forex โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ความสำคัญของตะกร้าค่าเงิน Forex สำหรับรัฐบาล

  • ตะกร้าค่าเงินเป็นเครื่องมือในการตรึงมูลค่าสกุลเงินของประเทศ
  • รัฐบาลต้องรักษาอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินให้คงที่เมื่อเทียบกับมูลค่าเฉลี่ยของสกุลเงินต่าง ๆ ในตะกร้า
  • ช่วยให้สกุลเงินของประเทศนั้นมีเสถียรภาพและลดความผันผวนได้
  • ตัวอย่างองค์กรระดับโลกที่ใช้หลักการตะกร้าค่าเงิน คือ IMF (International Monetary Fund)

🔻อ่านเพิ่มเติม: ย้อนรอย! วิกฤตหนี้ IMF เมื่อยุคสมัยพรากชีวิตของวัยรุ่น 90’s

2. ความสำคัญของตะกร้าค่าเงิน Forex สำหรับนักลงทุน

  • ตะกร้าค่าเงินเป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  • ใช้วิเคราะห์แนวโน้มของคู่เงินต่าง ๆ
  • ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกคู่เงินเพื่อเทรด

📢 เทรดเดอร์จำเป็นต้องวิเคราะห์ตะกร้าค่าเงินร่วมกับปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ โดยเฉพาะข่าวสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำให้กับการเทรด ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะติดตามเว็บไซต์ Forex Factory

ข้อดี

  • ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี
  • สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
  • ใช้วิเคราะห์แนวโน้มของคู่เงินที่อาจได้เปรียบในช่วงเวลานั้น ๆ
  • ช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ในแต่ละคู่เงินมากขึ้น
  • ใช้วิเคราะห์ความแข็งค่าหรืออ่อนค่าของสกุลเงิน
  • เพิ่มโอกาสในการทำกำไร

ข้อเสีย

  • ค่อนข้างมีความซับซ้อน และต้องอาศัยความเข้าใจอย่างถ่องแท้
  • จำเป็นต้องศึกษาองค์ประกอบและน้ำหนักของสกุลเงินต่าง ๆ ในตะกร้าค่าเงิน
  • การแสดงความอ่อนค่าและแข็งค่าของสกุลเงินเป็นเพียงภาพรวมในปัจจุบันเท่านั้น

📢 การนำค่าเงินแต่ละสกุลในตะกร้ามาถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ

ตัวอย่างการคำนวณตะกร้าค่าเงิน Forex

🔻ตะกร้าค่าเงินประกอบไปด้วยแต่ละสกุลเงินที่มีการถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่า สกุลเงินที่มีบทบาทมากที่สุดในโลก คือ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ดังนั้น USD จะได้รับการถ่วงน้ำหนักมากกว่าสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ

🔻ซึ่งระบบการถ่วงน้ำหนักนี้จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินสำคัญ ๆ อย่าง USD ส่งผลกระทบต่อมูลค่ารวมของตะกร้ามากกว่าสกุลเงินที่มีน้ำหนักน้อยกว่าครับ

ตัวอย่างตะกร้าค่าเงิน Forex ที่นิยมใช้

  1. ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (USD Index): ประกอบด้วย USD, EUR, GBP, JPY, CHF และ CAD
  2. ตะกร้าค่าเงินยุโรป (Euro Index): ประกอบด้วย EUR, GBP, CHF, SEK, DKK, และ NOK
  3. ตะกร้าค่าเงินเอเชีย (Asia Basket): ประกอบด้วย USD, JPY, CNY, HKD, SGD, และ AUD

วิธีดูตะกร้าค่าเงิน Forex

ปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการติดตามและซื้อขายตะกร้าค่าเงิน Forex ซึ่งนิยมอย่างมากในกลุ่มเทรดเดอร์สาย Fundamental โดยเฉพาะเว็บไซต์ Finviz ที่เปรียบเสมือน Forex Factory ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างค่าเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

📢 เว็บไซต์ Finviz เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดของสาย Fundamental ซึ่งภายในเว็บไซต์มีทั้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละคู่เงิน, กราฟราคาคู่เงิน และที่สำคัญคุณสามารถดูตะกร้าค่าเงินฟอเร็กซ์ได้แบบ Real Time เลยครับ

เทคนิคในการดูตะกร้าค่าเงินฟอเร็กซ์

  1. สกุลเงินที่มีน้ำหนักมากกว่า +/- เกิน 0.05% เมื่อเทียบกับ USD จะถือเป็นค่าเงินที่มีโอกาสวิ่งแรงสูงไม่ว่าจะขึ้นหรือลง
    • หากสกุลเงินมีน้ำหนัก +0.05% ขึ้นไป = มีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง
    • หากสกุลเงินมีน้ำหนัก -0.05% ลงมา = มีโอกาสปรับตัวลงอย่างรุนแรง
  2. หากคู่เงินใดมีสกุลเงินที่อ่อนค่าหรือแข็งค่ามากที่สุดในตะกร้าค่าเงิน จะทำให้คู่เงินนั้นเกิดความเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง (สอดคล้องกับข้อแรก)
  3. สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มของคู่เงิน ให้ดูว่า สกุลเงินที่อ่อนค่าหรือแข็งค่ามากที่สุดในตะกร้าค่าเงินอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง
    • หากสกุลเงินดังกล่าวอยู่ข้างหน้า = มีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง
    • หากสกุลเงินดังกล่าวอยู่ข้างหลัง = มีโอกาสปรับตัวลงอย่างรุนแรง

ภาพแสดงตัวอย่างตะกร้าค่าเงิน

เทคนิคในการดูตะกร้าค่าเงิน Forex

ภาพตะกร้าค่าเงินจากเว็บไซต์ Finviz

1. วิธีวัดความแข็งค่าและอ่อนค่า

จากภาพตัวอย่าง คือ ตะกร้าค่าเงินที่มีดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็นสกุลเงินถ่วงน้ำหนัก ซึ่งคุณสามารถหาความอ่อนค่าและแข็งค่าของสกุลเงินอื่นได้ ดังนี้

  • สกุลเงินที่มีการแข็งค่ากว่า USD จะอยู่ทางซ้ายมือ นั่นคือ GBP, JPY และ AUD ตามลำดับเปอร์เซ็นต์
  • สกุลเงินที่มีการอ่อนค่ากว่า USD จะอยู่ทางขวามือ นั่นคือ CHF, NZD, CAD และ EUR ตามลำดับเปอร์เซ็นต์

2. วิธีวิเคราะห์แนวโน้มของคู่เงิน

จากภาพตัวอย่าง สามารถนำไปพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกคู่เงินที่ได้เปรียบในการเทรด และคาดการณ์แนวโน้มของคู่เงินในตะกร้าได้ ดังนี้

คู่เงินแนวโน้มที่คาดการณ์
AUDJPYแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
AUDUSDแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
AUDCADแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
EURUSDแนวโน้มขาลง (Downtrend)
EURAUDแนวโน้มขาลง (Downtrend)
EURCHFแนวโน้มขาลง (Downtrend)
CADCHFแนวโน้มขาลง (Downtrend)
CADJPYแนวโน้มขาลง (Downtrend)

📢 เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับสกุลเงินที่อ่อนค่าและแข็งค่ามากที่สุดในตะกร้าค่าเงินเท่านั้น โดยให้คำนึงถึง % ของน้ำหนักร่วมด้วย (ถ้า +/- เกิน 0.05% ก็น่าสนใจครับ)

คุณควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อคู่เงินร่วมด้วยโดยเฉพาะข่าวสำคัญ เนื่องจากอาจทำให้คู่เงินเกิดความผันผวนขึ้นได้ นอกจากนี้ คุณควรใช้อินดิเคเตอร์หรือเทคนิคอื่น ๆ เพื่อยืนยันสัญญาณการเข้าซื้อ-ขายให้ชัดเจนขึ้น

. . . . . . . . . . . . . . .

ตะกร้าค่าเงิน Forex คือ การรวมสกุลเงินหลักต่าง ๆ ที่มีการถ่วงน้ำหนักต่างกัน เพื่อวัดความแข็งค่าหรืออ่อนค่าของสกุลเงินนั้น ๆ และใช้ดู Correlation ของสกุลเงิน ซึ่งตะกร้าค่าเงินมีประโยชน์ทั้งในด้านการลงทุนและการตรึงค่าเงินของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่แสดงในตะกร้าค่าเงินเป็นเพียงภาพรวมในปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น คุณสามารถนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาดได้ระดับหนึ่ง แต่ควรใช้อินดิเคเตอร์เพื่อยืนยันสัญญาณเข้าซื้อขายครับ

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้ง และบทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense

Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense