ทุนน้อย กำไรเร็ว! หุ้น DW คืออะไร เล่นยังไง? สรุปครบจบที่เดียว

Table of Contents
DW คือ

หากคุณเป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านี้ การเทรดหุ้น DW อาจเป็น “คำตอบ” ที่คุณกำลังตามหา

✅ เงินทุนน้อย

✅ ต้องการ Passive Income จากการลงทุน

✅ มีความสนใจในการเทรดหุ้น

✅ ยอมรับความเสี่ยงได้

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

. . . . . . . . . . . . . . .

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจในการลงทุนกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากวิธีการลงทุนถูกพัฒนาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีประเภทการลงทุนให้เลือกอย่างหลากหลาย รวมถึงอัตราการเติบโตที่สูงในอนาคต ซึ่งสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ “หุ้น (Stock)” โดยการลงทุนในหุ้นแบ่งออกเป็นหลายประเภท และมีวิธีการทำกำไรที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับนักลงทุนในประเทศไทย อาจนิยมเทรดหุ้นไทยมากกว่าหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากสามารถติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทได้ง่ายและรวดเร็ว แต่เราทราบกันดีว่า การที่คุณจะได้รับกำไรจากการซื้อขายหุ้นผ่านบริษัทหลักทรัพย์ “ราคาหุ้นต้องสูงขึ้นเท่านั้น” รวมถึงจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การค้นหาการลงทุนหุ้นแบบใหม่จึงถือกำเนิดขึ้น

จะดีกว่าไหม? หากคุณมีโอกาสทำกำไรจากการซื้อขายหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศที่มีเสถียรภาพสูงได้ทั้งขาขึ้นและขาลงด้วยเงินลงทุนที่ต่ำ จากการเพิ่มอำนาจเงินด้วย “Gearing” ทำให้คุณมีโอกาสได้รับกำไรที่มากกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไป ซึ่งการลงทุนในลักษณะดังกล่าวนี้ถูกขนานนามว่า หุ้น DW ย่อมาจาก Derivative Warrant 🔥

ในบทความนี้ Traderbobo ขอนำเสนอ หุ้น DW คืออะไร? เล่นยังไง? โดยมีเนื้อหาอย่างละเอียด ครบ จบ ในที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องตามอ่านหลาย Episode! และที่สำคัญเทรดเดอร์มือใหม่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายอย่างแน่นอน ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

Step 1: ตารางคำศัพท์ DW (Derivative Warrant)

คำศัพท์เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้คุณศึกษาหุ้น DW ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นศัพท์เฉพาะที่ต้องใช้ในการลงทุนประเภทนี้ แต่ไม่ยากที่จะเรียนรู้ครับ

Step 2: ปูพื้นฐาน! ก่อนลงสนามจริงในหุ้น DW

Step 3: หุ้น DW เล่นยังไง? การดูตารางราคา พร้อมเคล็ดลับเพิ่ม Win Rate!

*หมายเหตุ: โปรดทราบว่า การเทรดหุ้น DW สามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าหุ้นทั่วไป และสามารถขาดทุนได้มากกว่าหุ้นทั่วไปเช่นกัน ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

. . . . . . . . . . . . . . .

⭐ ปูพื้นฐาน! ก่อนลงสนามจริงในหุ้น DW เพราะการเรียนรู้นำไปสู่การเทรดที่ทำกำไรได้ ⭐

. . . . . . . . . . . . . . .

ตารางคำศัพท์ DW (Derivative Warrant)

คำศัพท์

ความหมาย

คำอธิบายเพิ่มเติม

ราคาหุ้นอ้างอิง

(Spot Price)

ราคาของสินทรัพย์อ้างอิง หรือหุ้นแม่ เช่น HSI, S&P500 และ SET50

เนื่องจาก DW คือ หนึ่งในตราสารอนุพันธ์ทำขึ้นเพื่อให้สิทธิ์ในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคา DW จะมีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นแม่

ราคาใช้สิทธิ

(Strike Price หรือ Exercise Price)

ราคาใช้สิทธิที่นักลงทุนมีสิทธิ์ซื้อหรือขายหุ้นแม่ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ราคาที่คุณเปิดออเดอร์หุ้น DW

ราคาใช้สิทธิจะถูกนำมาเปรียบเทียบร่วมกับราคาหุ้นแม่ ซึ่งจะบ่งบอกว่า คุณมีสถานะ Moneyness แบบใด

อัตราทด (เท่า)

(Effective Gearing)

อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (%) เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1%

หมายเหตุ: Gearing เป็นการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงราคาจากการคิด %

▪ เช่น อัตราทด 5 เท่า หมายความว่า ถ้าราคาหุ้นแม่เพิ่มขึ้น 1% อาจทำให้ราคาหุ้น DW เพิ่มขึ้น 5%

▪ ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาหุ้นแม่ลดลง 1% อาจทำให้ราคาหุ้น DW ลดลง 5% เช่นกัน

*หมายเหตุ: ยิ่ง DW มีอัตราทดสูงมากเท่าไร จะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้นมากเท่านั้น โดยมีหลักการคล้ายกับ Leverage

อัตราทด (ช่อง)

(Tick หรือ Sensitivity)

อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (ช่องราคา) เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1 ช่อง นิยมใช้ในการเทรด DW ระยะสั้น

หมายเหตุ: Tick เป็นการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงราคาจากช่องราคา

▪ เช่น ในตารางหุ้น DW ตัวหนึ่งระบุว่า มีอัตราทด (Tick) อยู่ที่ 0.81 สามารถสรุปได้ดังนี้

▪ หากหุ้นแม่ขยับ 1 ช่อง จะทำให้ DW ขยับ 0.81 ช่อง

*หมายเหตุ: ในทางปฏิบัติตาราง DW ไม่สามารถขยับเป็นทศนิยมได้ ดังนั้น หาก Tick น้อยกว่า 1 ช่องราคา DW อาจยังไม่ขยับ

Call DW (C)

สิทธิ์ในการซื้อหุ้นแม่ โดยราคาของ Call DW จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาของหุ้นแม่

นักลงทุนนิยมใช้ในสภาวะตลาดขาขึ้น (Uptrend)

Put DW (P)

สิทธิ์ในการขายหุ้นแม่ โดยราคาของ Put DW จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของหุ้นแม่

นักลงทุนนิยมใช้ในสภาวะตลาดขาลง (Downtrend)

Delta

ค่าที่แสดงถึงมูลค่าการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เมื่อหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1 บาท

▪ Call DW ค่า Delta จะเป็น "ค่าบวก"


▪ Put DW ค่า Delta จะเป็น "ค่าลบ"

*หมายเหตุ: หุ้น DW ที่มีค่า Delta สูง มักจะมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาหุ้นแม่อย่างรวดเร็ว

Moneyness

สถานะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาใช้สิทธิและราคาหุ้นแม่

Moneyness สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ ดังนี้

▪ In The Money

▪ At The Money

▪ Out of The Money

*หมายเหตุ: ไม่มี Moneyness ใดที่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบุคคล และสถานะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอายุของ DW

In The Money (ITM)

▪ Call DW : ราคาหุ้นแม่ > ราคาใช้สิทธิ 

▪ Put DW : ราคาหุ้นแม่ < ราคาใช้สิทธิ 

At The Money (ATM)

ราคาหุ้นแม่ = ราคาใช้สิทธิ 

Out of The Money (OTM)

▪ Call DW : ราคาหุ้นแม่ < ราคาใช้สิทธิ 

▪ Put DW : ราคาหุ้นแม่ > ราคาใช้สิทธิ 

Volatillity

ค่าความผันผวนของราคาซื้อขายหุ้นแม่

Time to Maturity (TTM)

เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุเวลาของ DW

ยิ่งอายุของ DW เหลือน้อยมากเท่าไร มูลค่าของ DW จะลดลงมากเท่านั้น

Time Decay

ค่าเสื่อมเวลาที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า เมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 วัน ราคา DW จะลดลงไปกี่บาท

นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ถือ DW ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไปจะนิยมหลีกเลี่ยงค่า Time Decay ที่สูง


หุ้น DW คืออะไร เล่นยังไง?

DW คือ

DW ย่อมาจาก Derivative Warrant

หุ้น DW คือ ตราสารอนุพันธ์ที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งสามารถซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์และบล. เหมือนการเทรดหุ้นทั่วไป โดยราคาหุ้น DW จะวิ่งขึ้นลงตามราคาของสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่) แต่มีราคาถูกและทำกำไรได้รวดเร็วกว่า นอกจากนี้ อาวุธที่จำเป็นในการลงสนาม DW คือ “ตาราง DW” หรือตารางราคา

หมายเหตุ: อนุพันธ์ (Derivatives) คือ สัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อให้สิทธิในการซื้อหรือขาย “สินค้าอ้างอิง” (Underlying Asset)

สินค้าอ้างอิงของ DW คืออะไร?

สินค้าอ้างอิงหุ้น DW คืออะไร?

  • สินค้าอ้างอิง DW คือ ตัวบ่งบอกว่า หุ้น DW ที่คุณสนใจถูกอ้างอิงกับราคาของหุ้นแม่ตัวใด

สินค้าอ้างอิงหุ้น DW มีอะไรบ้าง?

  • เนื่องจากราคาหุ้น DW จะขึ้นลงตามสินค้าอ้างอิงหรือหุ้นอ้างอิง (นักลงทุนมักเรียกกันว่า หุ้นแม่) ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้

หุ้นไทย

ดัชนีหุ้นไทย

ดัชนีหุ้นต่างประเทศ

   ▪ ดัชนี SET50

   ▪ ดัชนี SET100

  ▪ SET Index

  ▪ SET50 Index

  ▪ SET100 Index

  ▪ SETHD Index

  ▪ ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรม

  ▪ ดัชนีหมวดธุรกิจ

   ▪ HSI

   ▪ SPX

   ▪ DJI

*หมายเหตุ: หุ้นในดัชนี SET100 และ SET50 ต้องอยู่ในรายชื่อหลักทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง DW ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น

ความน่าดึงดูดของหุ้น DW คืออะไร?

ข้อดีของหุ้น DW (Derivative Warrant)

     ✅ วิเคราะห์ได้ง่ายด้วย "ตารางราคา"

     ✅ เงินลงทุนต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูงด้วย "อัตราทด (Gearing)"

     ✅ เหมาะกับการเก็งกำไรระยะสั้น เช่น รายวันหรือรายสัปดาห์

     ✅ สามารถกำไรได้รวดเร็ว

     ✅ มีโอกาสทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

     ✅ มีสภาพคล่องสูง

     ✅ ไม่มีการวางหลักประกันล่วงหน้า

ความแตกต่างระหว่าง หุ้น, Warrant กับ DW ต่างกันอย่างไร?

หุ้น

Warrant

DW

ผู้ออก

บริษัทมหาชนจํากัด หรือ บมจ.

บริษัทจดทะเบียน

บุคคลที่สามที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง

ผู้กำหนดสัญญา

บริษัทมหาชนจํากัด หรือ บมจ.

บริษัทจดทะเบียน

ผู้ออกหุ้น DW

วันหมดอายุ

ประเภทสิทธิ

ขึ้นอยู่กับประเภทของหุ้น

มีสิทธิ์ในการซื้อ (Call) เท่านั้น

มีสิทธิ์ในการซื้อ (Call DW) และสิทธิในการขาย (Put DW)

จุดประสงค์ในการออก

ระดมทุน

ระดมทุนระยะยาว และสามารถนำไปมาแปลงเป็นหุ้นอ้างอิงได้

เก็งกำไร

. . . . . . . . . . . . . . .

Call DW คืออะไร? Put DW คืออะไร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การเล่นหุ้น DW สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง จึงให้อารมณ์เหมือนการเทรด Forex ดังนั้น การเปิดออเดอร์จึงแบ่งออกเป็น 2 คำสั่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • Call DW (C) : เทรดตามราคาหุ้นแม่
  • Put DW (P) : เทรดสวนทางราคาหุ้นแม่

call กับ put คืออะไร

*หมายเหตุ: สัญลักษณ์ “C” ละ “P” จะถูกปรากฎอยู่ในสัญลักษณ์ที่ใช้ซื้อขายหุ้น DW โดยเราจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อใหญ่ถัดไป

Call DW คืออะไร?

Call DW คืออะไร

Call DW (C) คือ สิทธิ์ในการซื้อสินค้าอ้างอิง โดยราคาของ Call DW จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาของสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่) ดังนั้น จึงเหมาะกับการทำกำไรในช่วงตลาดขาขึ้น (Uptrend)

*หมายเหตุ: ผู้ถือ Call DW จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน เมื่อราคาหุ้นแม่ปรับตัวสูงขึ้น

Put DW คืออะไร?

Put DW คืออะไร

Put DW (P) คือ สิทธิ์ในการขายสินค้าอ้างอิง โดยราคาของ Put DW จะเคลื่อนไหวไปสวนทางกับราคาของสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่) ดังนั้น จึงเหมาะกับการทำกำไรในช่วงตลาดขาลง (Downtrend)

*หมายเหตุ: ผู้ถือ Put DW จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน เมื่อราคาหุ้นแม่ปรับตัวลดลง

ความแตกต่างระหว่าง Call กับ Put คืออะไร?

Call DW

Put DW

การเปิดออเดอร์

คาดการณ์ว่า ราคาหุ้นแม่จะขึ้น

คาดการณ์ว่า ราคาหุ้นแม่จะลง

การทำกำไร

ราคาหุ้นแม่เพิ่มขึ้น

ราคาหุ้นแม่ลดลง

การเคลื่อนไหว

ทางเดียวกับหุ้นแม่

สวนทางกับหุ้นแม่

ตลาดที่เหมาะกับการลงทุน

ตลาดขาขึ้น

ตลาดขาลง

วิธีคำนวณกำไร Call DW และ Put DW

สำหรับหัวข้อนี้เป็นวิธีการคิดกำไร (%) ของหุ้นแม่และหุ้น DW เพื่อเช็คความคุ้มค่าในการลงทุน ณ ราคานั้น ๆ และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนใช้พิจารณาก่อนลงมือเทรด DW

วิธีคำนวณ Call DW คืออะไร?

  • หากคุณใช้สิทธิ Call DW การเปรียบเทียบผลตอบแทน หรือความคุ้มค่าในการลงทุนจะต้องใช้ราคา Bid ของหุ้นแม่และหุ้น DW เท่านั้น
  • คุณจะมีโอกาสในการทำกำไรเมื่อราคาหุ้นแม่ปรับตัวขึ้น

ตัวอย่างการคิดกำไรของ Call DW

Date

ราคา Bid หุ้นแม่

ราคา Bid หุ้น DW

10 ส.ค. 66

26.00

0.34

21 ส.ค. 66

30.25

0.81

กำไร (บาท)

4.25

0.47

กำไร (%)

16.35%

138.24%

จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า หากคุณทำการใช้สิทธิ Call DW ที่ราคา 0.34 บาท จากนั้นทำการขายที่ราคา 0.81 บาท หมายความว่า คุณจะได้รับกำไร 0.47 บาทต่อหน่วย ซึ่งคิดเป็น 138.24% เนื่องจากราคาหุ้นแม่มีการปรับตัวขึ้น ส่งผลให้หุ้น DW ปรับตัวสูงขึ้นตามเช่นกัน

วิธีคำนวณ Put DW คืออะไร?

  • หากคุณใช้สิทธิ Put DW การเปรียบเทียบผลตอบแทน หรือความคุ้มค่าในการลงทุนจะต้องใช้ราคา Offer ของหุ้นแม่และหุ้น DW เท่านั้น
  • คุณจะมีโอกาสในการทำกำไรเมื่อราคาหุ้นแม่ปรับตัวลง

ตัวอย่างการคิดกำไรของ Put DW

Date

ราคา Offer หุ้นแม่

ราคา Offer หุ้น DW

10 มิ.ย. 66

21.56

1.02

03 ก.ค. 66

19.84

1.23

กำไร (บาท)

-1.72

0.21

กำไร (%)

-7.98%

20.59%

จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า หากคุณทำการใช้สิทธิ Put DW ที่ราคา 1.02 บาท จากนั้นทำการขายที่ราคา 1.23 บาท หมายความว่า คุณจะได้รับกำไร 0.21 บาทต่อหน่วย ซึ่งคิดเป็น 20.59% เนื่องจากราคาหุ้นแม่มีการปรับตัวลง ดังนั้น การใช้สิทธิ Put DW จึงได้รับกำไร

*หมายเหตุ: ในตาราง DW จะมีค่า Effective Gearing ซึ่งในสถานการณ์จริงคุณต้องนำกำไรที่ได้รับจากการเทรด DW บวกกับ Gearing โปรดระวัง! ความเสี่ยงจากการเทรดผิดทาง เนื่องจาก Gearing สามารถทำให้คุณได้กำไรมากกว่าหุ้นทั่วไป และขาดทุนมากกว่าหุ้นทั่วไปเช่นกัน

สัญลักษณ์ที่ใช้ซื้อขายหุ้น DW ดูยังไง?

หุ้น DW เล่นยังไง? คุณต้องทำเข้าใจกับสัญลักษณ์ของ DW แต่ละตัว ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดอยู่ที่ 14 ตัว ซึ่งบ่งบอกถึงความหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้

DW คือ

โดยมีความหมายตามตารางดังต่อไปนี้

สัญลักษณ์

ความหมาย

UUUUUU

ชื่อหุ้นแม่ มีรหัสไม่เกิน 6 ตัว เช่น TRUE, CENTEL และ AOT

XX

หมายเลขบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ออก DW เช่น 15 และ 24

C

ประเภทของสิทธิในการซื้อขาย DW

     ▪ C = Call DW

     ▪ P = Put DW

YYMM

วันหมดอายุของ DW เช่น 2212 หมายความว่า DW จะหมดอายุเดือนธันวาคม 2022

A

รุ่นของ DW โดยจะเรียงตั้งแต่ A - Z

ยกตัวอย่างเช่น

CENTELC242312A

  • DW ที่อ้างอิงกับหุ้น CENTEL
  • ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส (โบรกเกอร์ No.24)
  • ประเภทสิทธิ Call DW
  • หมดอายุเดือนธันวาคม 2023
  • รุ่น A

. . . . . . . . . . . . . . .

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา DW (Derivative Warrant) คืออะไร?

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นหรือลงของราคาหุ้น DW สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ปัจจัยหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ราคาหุ้นอ้างอิง หรือหุ้นแม่ (Spot Price)
  • ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)
  • อัตราทด (Effective Gearing)
  • ค่าความผันผวนของราคาซื้อขายหุ้นแม่ (Volatillity)
  • เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุ (Time to Maturity)
  • การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)
  • การเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลหุ้นแม่ (Dividend)

การเปลี่ยนแปลง

ราคา Call DW

ราคา Put DW

ราคาหุ้นแม่ (Spot Price)

ขึ้น

สูงขึ้น

ต่ำลง

ลง

ต่ำลง

สูงขึ้น

ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)

ขึ้น

ต่ำลง

สูงขึ้น

ลง

สูงขึ้น

ต่ำลง

อัตราทด (Effective Gearing)

อัตราทด (เท่า) เป็นเหมือน Leverage ที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนของ DW ให้สูงกว่าหุ้นแม่

     ▪ Gearing เพิ่มขึ้น = ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น
     ▪ Gearing ลดลง = ได้ผลตอบแทนต่ำลง
*หมายเหตุ: ยิ่ง Gearing มากเท่าไร ความเสี่ยงยิ่งมากเท่านั้น

ค่าความผันผวนของราคาซื้อขายหุ้นแม่ (Volatillity)

ขึ้น

สูงขึ้น

สูงขึ้น

ลง

ต่ำลง

ต่ำลง

เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุ (Time to Maturity)

ระยะเวลามาก

สูงขึ้น

สูงขึ้น

ระยะเวลาน้อย

ต่ำลง

ต่ำลง

อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)

ขึ้น

สูงขึ้น

ต่ำลง

ลง

ต่ำลง

สูงขึ้น

เงินปันผลหุ้นแม่ (Dividend)

ขึ้น

ต่ำลง

สูงขึ้น

ลง

สูงขึ้น

ต่ำลง

สถานะของ DW คืออะไร? (Moneyness)

Moneyness คืออะไร?

สถานะของ DW หรือที่นักลงทุนเรียกกันว่า “Moneyness” คือ สถานะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นแม่กับราคาของ Call DW และ Put DW เพื่อช่วยในการพิจารณาและวางแผนการการเทรด DW ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ITM (In The Money)
  • ATM (At The Money)
  • OTM (Out of The Money)

ITM (In The Money) คืออะไร?

  • สถานะของ Call DW เมื่อราคาหุ้นแม่ > ราคาใช้สิทธิ
  • สถานะของ Put DW เมื่อราคาหุ้นแม่ < ราคาใช้สิทธิ

*หมายเหตุ: In The Money (ITM) คือ สถานะที่หุ้น DW มีมูลค่าอย่างแท้จริง

ATM (At The Money) คืออะไร?

  • สถานะของ DW เมื่อราคาหุ้นแม่ = ราคาใช้สิทธิ

OTM (Out of The Money) คืออะไร?

  • สถานะของ Call DW เมื่อราคาหุ้นแม่ < ราคาใช้สิทธิ
  • สถานะของ Put DW เมื่อราคาหุ้นแม่ > ราคาใช้สิทธิ

Moneyness

In The Money (ITM)

At The Money (ATM)

Out of The Money (OTM)

Call DW

Put DW

Call DW

Put DW

Call DW

Put DW

ความสัมพันธ์

ราคาหุ้นแม่ > ราคาใช้สิทธิ

ราคาหุ้นแม่ < ราคาใช้สิทธิ

ราคาหุ้นแม่ = ราคาใช้สิทธิ

ราคาหุ้นแม่ < ราคาใช้สิทธิ

ราคาหุ้นแม่ > ราคาใช้สิทธิ

ราคาของ DW

แพง

ปานกลาง

ถูก

Intrinsic Value

Time Decay

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

Gearing

Risk Level

Delta

สูง

ปานกลาง

ต่ำ

ระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสม

มากกว่า 2 สัปดาห์

4-10 วันทำการ

น้อยกว่า 3 วันทำการ

*หมายเหตุ: มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) จะเป็นตัวบ่งบอกว่า หากผู้ลงทุนใช้สิทธิ์ในวันปัจจุบัน ผู้ลงทุนจะได้เงินสดส่วนต่างจากการใช้สิทธิ์เป็นจำนวนเท่าใด โดยจะมีค่าเมื่อ DW อยู่ในสถานะ ITM

📌 Tip! ยิ่งหุ้น DW มีสถานะ Out of the Money (OTM) มากเท่าไรจะยิ่งมี Effective Gearing สูงมากเท่านั้น และไม่มี Moneyness ใดที่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ สถานะ DW สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ความเสี่ยงของการเทรด DW คืออะไร?

ถึงแม้ DW จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไปมาก แต่ความเสี่ยงก็ถูกเพิ่มมาจากหลายปัจจัยมากเช่นกัน โดยมีความเสี่ยงที่คุณต้องคำนึงถึง ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงราคาที่รวดเร็ว
  • อายุของ DW มีจำกัด
  • DW มีค่าเสื่อมเวลาในการถือครอง
  • สภาพคล่องของ DW ขึ้นอยู่กับผู้ออก

สิ่งที่ต้องระวัง

การเปลี่ยนแปลงราคาที่รวดเร็ว

ราคาของหุ้น DW จะมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าราคาหุ้นแม่ ดังนั้น หากคุณเทรดผิดทางจะทำให้คุณขาดทุนได้มากกว่าการลงทุนในหุ้นแม่

อายุของ DW มีจำกัด

โดยทั่วไป DW จะมีอายุประมาณ 4-6 เดือน และเมื่อ DW มีอายุที่สั้นลงมากเท่าไร ความเสี่ยงจะสูงขึ้นมากขึ้นเท่านั้น

DW มีค่าเสื่อมเวลาในการถือครอง

หากคุณถือออเดอร์ DW ข้ามคืนจะมีการคิดค่าเสื่อมเวลา ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นเกี่ยวกับอายุของ DW

สภาพคล่องของ DW ขึ้นอยู่กับผู้ออก

หน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง คือ การวางราคา Bid และ Offer ให้มีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นแม่มากที่สุด ดังนั้น คุณควรเลือกลงทุนในโบรกเกอร์และผู้ออก DW ที่มีความน่าเชื่อถือ

สิ่งที่คุณ “ไม่ควรทำ” ในหุ้น DW คืออะไร?

วิเคราะห์ทาง Technical จากกราฟ DW

ราคา DW จะเปลี่ยนแปลงตามราคาของหุ้นแม่ ดังนั้น หากคุณต้องการวิเคราะห์ทาง Technical หรือใช้อินดิเคเตอร์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเทรด ควรใช้ในกราฟราคาหุ้นแม่ประกอบกับการดูตาราง DW

หุ้น DW ราคาถูกไม่ได้ดีเสมอไป

เนื่องจากราคา DW มีความผันผวนแฝงหลายปัจจัย เช่น Gearing และ Time to Maturity ดังนั้น ควรพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา DW ร่วมด้วยทุกครั้ง

หุ้น DW อาจไม่เหมาะกับกลยุทธ์ Hedging

จริงอยู่ที่ว่า Hedging เป็นกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว “ไม่เหมาะกับ DW” เนื่องจาก DW มีความผันผวนแฝงหลายปัจจัย และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นรายวัน

ถือหุ้น DW จนหมดอายุเมื่อมีสถานะ ITM

โดยทั่วไปเมื่อคุณอยู่ในสถานะ ITM จนครบอายุของหุ้น DW คุณจะได้รับกำไร แต่กำไรส่วนนี้จะถูกจำแนกอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเงินปันผล และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลาในการจ่ายกำไร T+8 วัน (นับตั้งแต่วันซื้อขายวันสุดท้าย) ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมขายเพื่อทำกำไรจากหุ้น DW ในวันสุดท้ายก่อนหมดอายุ ซึ่งจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับการถือ DW จนครบอายุมากที่สุด

*หมายเหตุ: คุณสามารถเลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่คุณถนัด ในการวิเคราะห์กราฟราคาของหุ้นแม่ได้ โดยเราได้รวบรวม 5 อินดิเคเตอร์ที่ดีที่สุด ที่นี่

หุ้น DW ตัวไหนดี? DW ค่ายไหนดี?

สำหรับการลงทุนในหุ้น DW นอกจากคุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลและปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อราคาของ DW แล้ว การเลือกค่ายที่ออก DW และโบรกเกอร์ก็เป็นส่วนสำคัญอันดับต้น ๆ เนื่องจากจะต้องมีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญตาราง DW จะต้องดูง่ายไม่ซับซ้อน

  • เลือก DW จากหุ้นแม่ที่คุณคุ้นเคย
  • สำหรับมือใหม่แนะนำให้พิจาณาหุ้น DW ที่มี Gearing ประมาณ 0.7-1.2 เพราะราคามีความผันผวนที่ไม่สูงมาก
  • เลือก DW ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 1 เดือน
  • พิจารณาระดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของผู้ออก DW เพื่อประกอบการตัดสินใจ
  • เลือกผู้ออก DW ที่มีรูปแบบตารางที่ดูง่ายและไม่ซับซ้อน
  • เลือกผู้ออก DW ที่มีการออกซีรีส์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

📌 Tip! ผู้ออก DW จะมีการเรียกเก็บค่า Time Decay แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คิดค่า Time Decay แค่วันทำการ (จ-ศ) และคิดค่า Time Decay ทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่ค่ายที่มีการคิดค่า Time Decay ทุกวันมักจะมีค่า Time Decay ที่ถูกกว่า

. . . . . . . . . . . . . . .

หุ้น DW เล่นยังไง? การดูตารางราคา พร้อมเคล็ดลับเพิ่ม Win Rate

หากอ่านมาจนถึงตรงนี้ คุณคงสนใจในหุ้น DW อยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในข้อดีของ DW ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ สามารถเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤต เนื่องจาก DW สามารถออกออเดอร์ Put เพื่อทำกำไรในสภาวะตลาดขาลงได้ ดังนั้น การทำความเข้าใจและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นประเภทนี้ จึงเป็นหนึ่งในทางออกยามคับขันที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ต่อไปเราจะมาอธิบายว่า หุ้น DW เล่นยังไง? ให้มีโอกาสทำกำไรสูงที่สุด

. . . . . . . . . . . . . . .

ตาราง DW ดูได้ที่ไหน?

คุณสามารถดูตาราง DW ได้จากค่ายหรือโบรกเกอร์ที่คุณเปิดบัญชีด้วย โดยตาราง DW ของแต่ละค่ายจะมีราคาและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณต้องดูตาราง DW ของค่ายที่คุณใช้บริการเท่านั้น และควรเลือกเปิดบัญชีกับค่ายที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงมีลักษณะตารางที่ดูง่ายและไม่ซับซ้อน

*หมายเหตุ: ตาราง DW อาจมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน ซึ่งนักลงทุนควรวางแผนการเทรดจากตาราง DW ทุกครั้งก่อนทำการซื้อขาย

ตัวอย่างวิธีดูตาราง DW

เราขอยกตัวอย่างวิธีดูตาราง DW จากค่ายบัวหลวง (BLS) เนื่องจากมีการใช้งานที่ง่าย เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักลงมือใหม่ทุกคนครับ

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ Blswarrant ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะสำหรับเทรดหุ้น DW
  • คลิกที่ “DW Search”
  • พิมพ์ชื่อ “หุ้นแม่” ที่คุณสนใจ ซึ่งในที่นี้เราเลือก PTT เป็นตัวอย่าง จากนั้นกด “Enter”

DW คือ

  • หลังจากนั้นระบบจะพาคุณไปสู่หน้าของ “รายชื่อหุ้น DW ของหุ้นแม่” โดยจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการซื้อขาย ซึ่งคุณสามารถคลิกเลือก DW ที่คุณสนใจได้เลยครับ สำหรับตัวอย่างเราจะเลือก CPALL01C2401A
    • DW ที่อ้างอิงกับหุ้น CPALL
    • ออกโดยโบรกเกอร์ No.01
    • ประเภทสิทธิ Call DW
    • หมดอายุเดือนมกราคม 2024
    • รุ่น A

DW คือ

  • และนี่คือ หน้าตาของตาราง DW ที่เราเลือกไว้ ซึ่งจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้วิเคราะห์หุ้น DW

DW คือ

  • นอกจากนี้ หากคุณเลื่อนหน้าจอลงมาจะพบกับสรุปค่าสำคัญต่าง ๆ และข้อมูลทั่วไปของหุ้น DW รวมถึงราคาตลาดของหุ้นแม่ และหุ้น DW ซึ่งเราจะอธิบายวิธีดู DW จากตาราง พร้อมการคำนวณผลตอบแทนอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป

DW คือ

. . . . . . . . . . . . . . .

หุ้น DW เล่นยังไง? วิธีดู DW

สำหรับวิธีดูตาราง DW จะใช้ตัวอย่างจากหัวข้อก่อนหน้า และเราขอแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ซึ่งในแต่ละพาร์ทจะอธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา DW รวมถึงสิ่งที่ตาราง Derivative Warrant ต้องการบอกกับคุณ เพื่อความเข้าใจง่ายมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

หากใครลืมคำศัพท์ย้อนกลับขึ้นไปอ่านได้ที่นี่ 🚀

สิ่งที่ตาราง DW ต้องการบอกกับคุณ

  • ตาราง Call DW จะต้องใช้ราคา Bid ของหุ้นแม่ และราคา Bid ของหุ้น DW เปรียบเทียบกันเท่านั้น

  • ตาราง Put DW จะต้องใช้ราคา Offer ของหุ้นแม่ และราคา Offer ของหุ้น DW เปรียบเทียบกันเท่านั้น

ตาราง DW

หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ Blswarrant ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2566

เทคนิคการเล่น DW เล่นยังไง? เทรด DW ยังไง?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า เทคนิคการเล่น DW สามารถแบ่งอธิบายได้เป็น 3 Parts ดังนี้

  • Part 1: Effective Gearing

  • Part 2: Sensitivity หรือ Tick

  • Part 3: Time Decay

Part 1: เทรดหุ้น DW เล่นยังไงด้วย Effective Gearing

DW คืออะไร เล่นยังไง

ค่า Effective Gearing คือ อัตราทด (เท่า) ที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (%) เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1% เช่น อัตราทด 5 เท่า หมายความว่า ถ้าราคาหุ้นแม่เพิ่มขึ้น 1% อาจทำให้ราคาหุ้น DW เพิ่มขึ้น 5% ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาหุ้นแม่ลดลง 1% อาจทำให้ราคาหุ้น DW ลดลง 5% เช่นกัน

DW คืออะไร เล่นยังไง

จากตาราง DW ของ CPALL01C2401A มี Effective Gearing เฉลี่ย 7.02 เท่า ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นแม่เพิ่มขึ้น 1% อาจทำให้ราคาหุ้น DW มีโอกาสเพิ่มขึ้นถึง 7.02% โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

จากสูตร

[(ราคาปัจจุบัน – ราคาใช้สิทธิ) / ราคาใช้สิทธิ] x 100

Date

ราคา Bid หุ้นแม่

ราคา Bid หุ้น DW

21 ส.ค. 66

59.50

0.24

21 ส.ค. 66

60.50

0.27

กำไร (บาท)

01.00

0.03

กำไร (%)

1.68%

12.5% + 7.02 (Gearing)

จากตารางจะเห็นว่า หากคุณซื้อหุ้น CPALL ณ ราคา 59.50 บาท และทำการขายออกที่ราคา 60.50 บาท คุณจะสามารถทำกำไรได้เพียง 1.68% ต่อหน่วย ในทางกลับกัน หากคุณใช้สิทธิ Call DW CPALL01C2401A ซึ่งเป็นหุ้น DW ของ CPALL ณ ราคาเดียวกันที่ 0.24 บาท และทำการขายออกที่ราคา 0.27 บาท คุณจะได้รับเปอร์เซ็นต์กำไรรวมกับอัตราทดอยู่ที่ประมาณ 19.52% ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นแม่มาก

*หมายเหตุ: ค่า Effective Gearing แลกมาด้วยความเสี่ยง ถ้าหากคุณเทรดผิดทางอัตราทดจะทำให้คุณขาดทุนมากกว่าปกติได้เช่นกัน ดังนั้น คุณควรจัดการความเสี่ยง และวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดให้ดี

Part 2: หุ้น DW ยังไงด้วย Sensitivity หรือ Tick

DW คืออะไร เล่นยังไง

ค่า Sensitivity หรือ Tick คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของช่องราคา DW เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1 ช่อง ซึ่งตามธรรมชาติของตาราง DW จะมีอัตราการขยับ 1:1 หมายความว่า เมื่อราคาหุ้นแม่ขยับ 1 ช่อง จะส่งผลให้หุ้น DW ขยับตาม 1 ช่อง ทั้งนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไปในกรณีที่ค่า Sensitivity หรือ Tick น้อยกว่า 1

DW คืออะไร เล่นยังไง

ตัวอย่างข้างต้น ตาราง DW ของ CPALL01C2401A มีค่า Sensitivity หรือ Tick อยู่ที่ 0.95 ซึ่งถือว่า น้อยกว่า 1 ดังนั้น การขยับด้วยอัตรา 1:1 อาจไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า เมื่อหุ้นแม่ขยับไป 1 ช่อง หุ้น DW จะยังไม่ขยับ แต่หากหุ้นแม่ขยับไปอีก 1 ช่อง หุ้น DW ถึงมีการขยับตามมา หมายความว่า CPALL01C2401A มีอัตราการขยับอยู่ที่ 2:1 โดยนักลงทุนเรียกกันว่า “DW หนืด”

ในทางกลับกัน การที่ Sensitivity หรือ Tick มีความหนืดนั้นไม่ได้แปลว่า ไม่ดี เนื่องจากหากหุ้นแม่มีการปรับตัวลง 1 ช่อง หุ้น DW มีโอกาสที่จะยังไม่ปรับตัวลงก็ได้ ดังนั้น การเลือก DW จึงขึ้นอยู่กลยุทธ์และความถนัดของแต่ละบุคคล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่า Sensitivity หรือ Tick เป็นหนึ่งในปัจจัยที่คุณควรนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน

Part 3: หุ้น DW เล่นยังไงด้วย Time Decay

DW คืออะไร เล่นยังไง

ค่า Time Decay คือ ค่าเสื่อมเวลาที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า เมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 วัน ราคา DW จะลดลงไปกี่บาท ดังนั้น สำหรับ Effective Gearing จึงเป็นเหมือนของขวัญ (หากเทรดถูกทาง) ที่ DW ให้กับคุณ แต่ Time Decay เปรียบเสมือนสิ่งที่คุณต้องแลก เนื่องจากหุ้น DW มีวันหมดอายุ ดังนั้น เวลาทุกวินาทีจึงมีค่าสำหรับนักลงทุน โดยมูลค่าของ DW จะลดลงทุกวันจากค่าเสื่อมเวลา

DW คืออะไร เล่นยังไง

ตัวอย่างข้างต้น ตาราง DW ของ CPALL01C2401A มีค่า Time Decay เท่ากับ -1.22% หมายความว่า ถ้าเวลาผ่านไป 1 วัน ราคา DW จะลดลง 1.22% จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า เมื่อคุณทำการถือ DW เป็นระยะเวลา 5 วันทำการ คุณจะได้รับผลกระทบจาก Time Decay จำนาน 3 ช่อง ซึ่งทำให้ราคาของ DW ลดลงประมาณ 1.22%

ดังนั้น ค่า Time Decay หรือค่าเสื่อมเวลาของ DW เป็นหนึ่งในต้นทุนการเทรด และมีค่าตั้งแต่ 0.5% – 2% ต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งนี่คือสิ่งที่คุณต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่ง Effective Gearing เนื่องจาก DW ที่มี Time Decay สูงมักจะมี Effective Gearing ที่สูงตามไปด้วย จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้หุ้น DW ในทางเก็งกำไรเท่านั้น

📌 Tip! ส่วนใหญ่ค่ายที่มีการคิดค่า Time Decay ทุกวันมักจะมีค่า Time Decay ที่ถูกกว่าค่ายที่ยกเว้น Time Decay ในวันเสาร์-อาทิตย์

. . . . . . . . . . . . . . .

เทคนิคการเทรด DW ตัวไหนดี?

หลังจากที่คุณได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน DW มาพอสมควรแล้ว ในหัวข้อนี้เรามีเทคนิคการเทรด DW ยังไง? เพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้สูงที่สุด โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

  • เทคนิคการเล่น DW จากการเลือก Gearing
  • เทคนิคการเล่น DW จากการเลือกสเปกหุ้น DW

เทคนิคการเล่น DW จากการเลือก Gearing

จากสถิติของนักลงทุนทั่วไป (อ้างอิงจากหุ้นรายตัวไทย) นิยมเลือกค่า Effective Gearing อยู่ 3 ช่วง ดังนี้

  • นักลงทุนที่เลือก Effective Gearing >7 เท่า คิดเป็น 15%
  • นักลงทุนที่เลือก Effective Gearing 3-5 เท่า คิดเป็น 38%
  • นักลงทุนที่เลือก Effective Gearing 5-6 เท่า คิดเป็น 40%

*หมายเหตุ: ค่า Effective Gearing น้อยกว่า 3 เท่าอยู่ที่ประมาณ 7%

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า อัตราทด DW สามารถทำให้กำไรของคุณทวีคูณขึ้นหลายเท่าตัว ในทางกลับกัน อัตราทดก็เป็นเหมือนมีดที่รอทิ่มแทงคุณเมื่อเทรดผิดทาง ดังนั้น ควรเลือกค่าที่เหมาะสมกับกลยุทธ์และเทคนิคของตนเอง รวมถึงความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้ นอกจากนี้ หุ้น DW ที่มีอัตราทดสูง มักจะมีค่าเสื่อมเวลาที่สูงตามไปด้วย

เทคนิคการเล่น DW จากการเลือกสเปกหุ้น DW

ในการเทรดหุ้น DW จำเป็นอย่างมากที่ต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ Effective Gearing, Sensitivity หรือ Tick และ Time Decay เนื่องจากมูลค่า DW จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนครบอายุขัย ทำให้ระยะเวลาการถือครองค่อนข้างสำคัญ เราจึงได้ทำการสรุปเกี่ยวกับการเลือกสเปกหุ้นให้เหมาะกับระยะเวลาถือครองของนักลงทุนส่วนใหญ่ว่า คุณควรคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด โดยมีรายละเอียดดังนี้

สายทำกำไรต่อวัน

สายถือสั้น

(ประมาณ 1-3 วัน)

สายถือยาว

(ประมาณ 1 สัปดาห์)

Top 1 Sensitivity หรือ Tick

Top 1 Effective Gearing

Top 1 Time Decay

Top 2 Effective Gearing

Top 2 Sensitivity หรือ Tick

Top 2 Effective Gearing

Top 3 Time Decay

Top 3 Time Decay

Top 3 Sensitivity หรือ Tick

. . . . . . . . . . . . . . .

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ หุ้น DW คืออะไร เล่นยังไง DW ย่อมาจาก Derivative Warrant

หุ้น DW คืออะไร เล่นยังไง

DW คือ ตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยราคาหุ้น DW จะวิ่งขึ้นลงตามราคาของสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่) แต่การเทรด DW นั้นมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และทวีคูณผลตอบแทนได้ด้วย “อัตราทด DW” ซึ่งเครื่องมือที่นักลงทุนใช้ในการเทรด DW คือ “ตาราง DW” หรือตารางราคา

Derivative Warrant คืออะไร

Derivative Warrant คือ ชื่อเต็มของหุ้น DW แปลว่า ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

เทรด DW คืออะไร Pantip

การเทรด DW คือ การเทรดหุ้นชนิดหนึ่งในรูปแบบตราสารอนุพันธ์ ดังนั้น ราคา DW จะมีความสัมพันธ์กับสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่) ซึ่งเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมักมีการค้นหาใน Pantip

DW ย่อมาจากอะไร

DW ย่อมาจาก Derivative Warrant

หุ้น DW ตัวไหนดี

การเทรดหุ้น DW จำเป็นอย่างมากที่ต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ Effective Gearing, Sensitivity หรือ Tick และ Time Decay เนื่องจากมูลค่า DW จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนครบอายุขัย ดังนั้น การเลือกหุ้น DW ควรเลือกจากระยะเวลาในการลงทุนของแต่ละบุคคล

Call กับ Put คืออะไร

Call กับ Put คือ สิทธิ์ในการซื้อและขายสินค้าอ้างอิง หากใครเทรดหุ้น DW จะคุ้นชินกันคำว่า Call DW และ Put DW

DW Call คืออะไร

DW Call คือ สิทธิ์ในการซื้อสินค้าอ้างอิง โดยราคาของ Call DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับราคาของสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่)

DW Put คืออะไร

DW Put คือ สิทธิ์ในการขายสินค้าอ้างอิง โดยราคาของ Put DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของสินค้าอ้างอิง (หุ้นแม่)

อัตราทด DW คืออะไร

อัตราทด DW คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะแบ่งออกเป็นอัตราทด (เท่า) หรือ Effective Gearing และอัตราทด (ช่อง) หรือ Sensitivity

ราคาใช้สิทธิ DW คืออะไร

ราคาใช้สิทธิ DW คือ ราคาใช้สิทธิที่นักลงทุนมีสิทธิซื้อหรือขายหุ้นแม่ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ราคาที่คุณเปิดออเดอร์หุ้น DW

ราคาใช้สิทธิ DW ดูตรงไหน

– หากคุณใช้สิทธิ์ Call DW จะต้องดูที่ราคา Bid ของหุ้นแม่และหุ้น DW
– หากคุณใช้สิทธิ์ Put DW จะต้องดูที่ราคา Offer ของหุ้นแม่และหุ้น DW

DW Sensitivity คืออะไร

DW Sensitivity คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (ช่องราคา) เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1 ช่อง นิยมใช้ในการเทรด DW ระยะสั้น

ค่าเสื่อม DW คืออะไร

ค่าเสื่อม DW คือ ค่าเสื่อมเวลา (Time Decay) เป็นตัวบ่งชี้ว่า เมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 วัน ราคา DW จะลดลงไปกี่บาท

วิธีดูตาราง DW

วิธีดูตาราง DW จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ Effective Gearing, Sensitivity หรือ Tick และ Time Decay ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคา DW ดังนั้น คุณควรมีพื้นฐานเกี่ยวกับ DW ก่อนใช้ตารางจริง

Time Decay DW คืออะไร

Time Decay DW คือ ค่าเสื่อมเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในการเทรด DW

DW SET50 คืออะไร

SET50 DW คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่ไม่ได้อ้างอิงกับราคาหุ้นรายตัว แต่อ้างอิงกับการเคลื่อนไหวของดัชนี SET50


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense