
Trend Following กลยุทธ์เทรดตามทิศทางตลาด โดยเข้าซื้อเมื่อแนวโน้มเป็นขาขึ้น ขายเมื่อแนวโน้มเป็นขาลง เน้นทำกำไรตามการเคลื่อนไหวของราคา 📈🐶
Trend Following กลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ทั่วโลกให้ความสนใจ ด้วยหลักการที่ง่าย เพียงเทรดตามแนวโน้มของตลาดหรือเรียกอีกอย่างว่า “การว่ายตามกระแสน้ำ” หรือการไม่สวนกระแสตลาดนั่นเองครับ เมื่ออ่านแบบนี้แล้วอาจจะดูเหมือนง่าย แต่รู้ไหมครับว่า Trend Following ก็มีความเสี่ยงที่คุณต้องเผชิญเช่นกัน บทความนี้พี่โบ้จึงได้รวบรวมสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเลือกเทรดแบบ Trend Following มาไว้ให้อ่านแล้ว หากพร้อมแล้วไปอ่านกันครับ!
*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชี้ชวนให้ลงทุนแต่อย่างใด
………………….🐶………………….
Trend Following Strategy หรือ Trend Following คืออะไร?
Trend Following Strategy หรือ Trend Following คือ การเทรดผ่านการติดตามแนวโน้มเพื่อทำกำไร โดยเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Trend Following มักจะอาศัยแนวโน้มในการเข้าเทรด กล่าวคือ การติดตามเทรนและหาจังหวะเข้าเทรดที่เหมาะสมโดยอิงตามเทรนของตลาด ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ครับ โดยคอนเซปต์ง่าย ๆ ของการเทรดแบบ Trend Following มีดังนี้
- เทรดเดอร์จะเปิดออเดอร์ซื้อ (Buy) เพื่อทำกำไรเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้น
- เปิดออเดอร์ขาย (Sell) เพื่อทำกำไรเมื่อแนวโน้มกลับตัวสู่ขาลง
- เทรดเดอร์ติดตามแนวโน้มต่อไปเมื่อแนวโน้มอยู่ในแนวราบ (Sideway) เพื่อยืนยันจุดเหมาะสมสำหรับการเข้าเทรดครับ
แนวโน้ม (Trend) คืออะไร?

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้ม หรือ Trend กันก่อนครับ โดยทั่วไปแนวโน้มจะมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
- แนวโน้มขาลง (Downtrend)
- แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
- แนวโน้มด้านข้าง (Sideway)
โดยแนวโน้มที่กล่าวมา จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่คุณทำได้ก็ คือ มองภาพรวมตลาด รอเวลา และหาจังหวะที่ดี ซึ่งแต่ละแนวโน้มก็จะมีรูปแบบและจุดสังเกตต่างกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากครับพี่โบ้จะอธิบายให้คุณฟังในหัวข้อถัด ๆ ไปครับ
แนวโน้มขาลงหรือเทรนขาลง (Downtrend)

แนวโน้มขาลง (Downtrend) คือ ช่วงที่ราคากำลังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง บ่งบอกถึงการเทขายสินทรัพย์จากนักลงทุนและมูลค่าในตลาดของแนวโน้มช่วงนี้จะลดลงอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน โดยแนวโน้มขาลงจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
แนวโน้มขาลงหลัก
- แนวโน้มขาลงหลัก คือ แนวโน้มระยะยาว มักใช้เวลาหลายเดือนถึงหลายปี
- มีจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower Highs และ Lower Lows)
แนวโน้มขาลงรอง
- แนวโน้มขาลงรอง คือ แนวโน้มขนาดกลาง
- มักใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน
- มักเป็นการดีดตัวของราคาชั่วคราวในช่วงแนวโน้มขาลงหลัก
แนวโน้มขาลงเล็ก
- แนวโน้มขาลงเล็ก คือ แนวโน้มระยะสั้น มักใช้เวลาไม่กี่วันถึงสัปดาห์
- เป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับแนวโน้มที่มีระยะที่ยาวกว่า
แนวโน้มขาขึ้นหรือเทรนขาขึ้น (Uptrend)

แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) คือ ช่วงที่ราคากำลังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของแรงซื้อและมูลค่าในตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มขาขึ้นจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
แนวโน้มขาขึ้นหลัก
- แนวโน้มขาขึ้นหลัก คือ แนวโน้มระยะยาว มักใช้เวลาเป็นเดือนจนถึงหลายปี
- มีจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher Highs และ Higher Lows)
แนวโน้มขาขึ้นรอง
- แนวโน้มขาขึ้นรอง คือ แนวโน้มขนาดกลาง มักใช้เวลาหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน
- มีจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความชันจะน้อยกว่าแนวโน้มหลัก
แนวโน้มขาขึ้นเล็ก
- การเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับแนวโน้มระยะที่ยาวกว่า (สังเกตจากแนวโน้มขาขึ้นรอง)
- แนวโน้มขาขึ้นเล็ก คือ แนวโน้มระยะสั้น มักใช้เวลาไม่กี่วันไปจนถึงสัปดาห์
แนวโน้มราบหรือเทรนแนวราบ (Sideway)

แนวโน้มราบหรือเทรนแนวราบ (Sideway) คือ แนวโน้มที่บ่งบอกว่า แรงซื้อและแรงขายมีขนาดเท่ากัน โดยลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดจะไม่มีทิศทางชัดเจนว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลงและจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ระหว่างแนวรับและแนวต้าน โดยแนวโน้มราบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
Sideway Up
- Sideway Up คือ รูปแบบตลาดที่มีการเคลื่อนไหวและแกว่งตัวในกรอบที่จำกัด แต่มีทิศทางเอียงขึ้นเล็กน้อย
- จุดต่ำสุดของการเคลื่อนไหวราคาในแต่ละรอบของการแกว่งตัวมักสูงกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้าและจุดสูงสุดอาจอยู่ในระดับใกล้เคียงกันหรือสูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อย
Sideway Down
- Sideway Down คือ รูปแบบตลาดที่มีการเคลื่อนไหวและแกว่งตัวในกรอบที่จำกัด โดยมีทิศทางโน้มเอียงลงเล็กน้อย
- จุดต่ำสุดของการเคลื่อนไหวราคาในแต่ละรอบของการแกว่งตัวมักต่ำกว่าจุดสูงสุดก่อนหน้าและจุดต่ำสุดอาจอยู่ในระดับใกล้เคียงกันหรือต่ำลงกว่าระดับก่อนหน้าเล็กน้อย
………………….🐶………………….
ตัวอย่างการเทรดตามแนวโน้ม Trend Following

การเทรด Trend Following ตามแนวโน้มขาลงมีแนวคิดหลัก คือ การเปิดออเดอร์ขาย (Sell) ตามทิศทางแนวโน้มหลักที่กำลังปรับตัวลง โดยเริ่มจากการยืนยันว่า ตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลงจริงหรือไม่ โดยดูจากจุดสูงสุดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower Highs) และจุดต่ำสุดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower Lows)
ในส่วนของการเทรดตามแนวโน้มขาขึ้นก็มีหลักการคล้าย ๆ กันครับ เพียงแต่คุณจะต้องเปิดออเดอร์ซื้อ (Buy) ตามทิศทางตลาดที่กำลังปรับขึ้นเท่านั้นและจุดสังเกตจะมาจากจุดสูงสุด (Higher Highs) และจุดต่ำสุดของกราฟที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Higher Lows)
เมื่อคุณเข้าใจวิธีเทรดทั้งแนวโน้มขาขึ้นและขาลงแล้ว พี่โบ้ขอแนะนำเทคนิคการออกจากตลาดแบบแยบยลที่สุด คือ “ต้องตัดขาดทุนเร็วและปล่อยกำไรให้วิ่งนาน” โดยสามารถทำได้ผ่านการตั้ง Stop Loss ให้สอดคล้องกับทิศทางการเทรดของเรา และใช้ Trailing Stop เพื่อล็อกกำไรขณะที่ราคาเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มครับ
📢 Trailing Stop คือ ฟังก์ชันป้องกันความเสี่ยงที่มีความคล้ายคลึงกับ Stop Loss แต่ Trailing Stop จะสามารถล็อกและขยับจุดตัดขาดทุนไปเรื่อย ๆ โดยอัตโนมัติตามการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อเทรดเดอร์ ซึ่งโดยทั่วไปฟังก์ชันนี้จะมีอยู่ในแพลตฟอร์มการเทรด MT4 และ MT5 ครับ
3 เครื่องมือการวิเคราะห์สำหรับกลยุทธ์การเทรดแบบ Trend Following
พี่โบ้ได้รวบรวมสุดยอด 3 เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิค สำหรับการเทรดแบบ Trend Following มาไว้ให้ทุกคนได้อ่านแล้วในหัวข้อนี้ โดย 3 อินดิเคเตอร์ที่เทรดเดอร์นิยมใช้ในการเทรดแบบ Trend Following มีดังนี้
การใช้ Moving Average (MA) วิเคราะห์แนวโน้ม

จากภาพเป็นการระบุจุดเข้า Buy และ Sell โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค Moving Average (MA) ร่วมกับกลยุทธ์การเทรดแบบ Trend Following ครับ ซึ่งพี่โบ้จะขอสรุปและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน ดังนี้
จุดเข้า Buy
- ตำแหน่งเข้า Buy: เกิดขึ้นเมื่อเส้น SMA 5 (เส้นสีดำ) ตัดขึ้นเหนือเส้น SMA 20 (เส้นสีน้ำเงิน) ซึ่งแสดงถึงราคาที่เริ่มปรับตัวขึ้น และการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเป็นขาขึ้นด้วยเช่นกัน โดยการตัดกันแบบนี้เรามักจะเรียกว่า “Golden Cross” หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้นที่อาจเริ่มต้นขึ้น และเป็นจุดที่น่าสนใจในการพิจารณาเข้าซื้อครับ
จุดเข้า Sell
- ตำแหน่งเข้า Sell: เกิดขึ้นเมื่อเส้น SMA 5 (เส้นสีดำ) ตัดลงต่ำกว่าเส้น SMA 20 (เส้นสีน้ำเงิน) ซึ่งแสดงถึงราคาที่เริ่มปรับตัวลง และการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเป็นขาลง โดยการตัดกันของเส้นแบบนี้จะถูกเรียกว่า “Death Cross”
จุดสังเกตเพิ่มเติม
1. ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการเข้า Buy และ Sell
- จุดเข้า Buy และ Sell ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการตัดกันของเส้น MA หรือเมื่อราคาทดสอบเส้น MA ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือแนวต้าน แล้วเกิดการเด้งตัวกลับในทิศทางของแนวโน้มหลัก
2. ระยะห่างระหว่างเส้น MA
- ยิ่งเส้น SMA 5 และ SMA 20 ห่างกันมากเท่าไหร่ แสดงว่าแนวโน้มยิ่งมีความแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
3. ความชันของเส้น MA
- ถ้าเส้น SMA 5 และ SMA 20 มีความชันมากและไปในทิศทางเดียวกัน มักบ่งบอกถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง โดยความชันมากในทิศทางขาขึ้นจะแสดงถึงกำลังซื้อที่แข็งแกร่งและถ้าความชันมีมากในทิศทางขาลงก็จะแสดงถึงกำลังขายที่มีความแข็งแกร่งเช่นกันครับ หรืออาจบ่งบอกได้ว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะเคลื่อนต่อไปในทิศทางนั้น ๆ อย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง
การใช้ Relative Strength Index (RSI) วิเคราะห์แนวโน้ม

จากภาพเป็นการหาจุดเข้าเทรด โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค Relative Strength Index (RSI) ซึ่งจะระบุจุดเข้า Buy และ Sell จากพื้นที่ Overbought และ Oversold ตามหลักกลยุทธ์ Trend Following โดยพี่โบ้จะขออธิบาย ดังนี้
จุดเข้า Buy
- ตำแหน่งเข้า Buy ในพื้นที่ Oversold: เกิดขึ้นเมื่อ RSI เคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ Oversold (ค่า RSI ต่ำกว่า 30) และเริ่มกลับตัวขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดที่ราคากำลังเริ่มฟื้นตัวหลังจากราคาเคลื่อนลงต่ำเกินไป
จุดเข้า Sell
- ตำแหน่งเข้า Sell ในพื้นที่ Overbought: เกิดขึ้นเมื่อ RSI เคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ Overbought (ค่า RSI สูงกว่า 70) และเริ่มกลับตัวลง ซึ่งบ่งชี้ว่าราคาพุ่งขึ้นสูงเกินจริงและมีโอกาสที่แนวโน้มจะปรับตัวลงในเวลาถัดมา
จุดสังเกตเพิ่มเติม
1. ความสอดคล้องระหว่างอินดิเคเตอร์ RSI และราคา
- ทุกจุด Buy และ Sell มีความสอดคล้องกันระหว่างสัญญาณ RSI และการเคลื่อนไหวของราคา เช่น RSI Overbought จะตามมาด้วยการลดลงของราคา และ RSI Oversold มักจะตามมาด้วยการฟื้นตัวของราคา
2. จังหวะการเข้าเทรด
- การหาจังหวะเข้าเทรดที่มีประสิทธิภาพ ควรรอให้ RSI เริ่มกลับตัวออกจากโซน Overbought หรือ Oversold ก่อนตัดสินใจเข้าเทรด และไม่ควรเข้าเทรดทันทีที่ RSI เพียงแค่เคลื่อนที่เข้าสู่โซนดังกล่าว โดยวิธีการนี้ถือเป็นการรอยืนยันสัญญาณที่ชัดเจนก่อนเข้าเทรด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดความเสี่ยงในการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
การใช้ Moving Average Convergence Divergence (MACD) วิเคราะห์แนวโน้ม

จากภาพเป็นการใช้เครื่องมือทางเทคนิคอย่าง Moving Average Convergence Divergence (MACD) ในการวิเคราะห์หาจุดเข้า Buy และ Sell ตามแนวโน้ม ซึ่งพี่โบ้จะขอสรุปและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน ดังนี้
จุดเข้า Buy
- ตำแหน่งเข้า Buy: สังเกตจาก Histogram ที่เริ่มเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวและเส้น MACD (สีน้ำเงิน) ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal (สีเหลือง) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองอย่างนี้แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้นอย่างชัดเจน โดยถือเป็นสัญญาณที่เหมาะแก่การเข้าซื้อ เพื่อทำกำไรจากแนวโน้มดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น
จุดเข้า Sell
- ตำแหน่งเข้า Sell: สังเกตจาก Histogram ที่เริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงและเส้น MACD (สีน้ำเงิน) ตัดลงต่ำกว่าเส้น Signal (สีเหลือง) ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มของตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาลง ถือเป็นสัญญาณที่เหมาะสำหรับการเข้าขาย
จุดสังเกตเพิ่มเติม
1. ขนาดของ Histogram
- ขนาดของ Histogram จะเป็นตัวบ่งชี้ความเข้มแข็งของแนวโน้มในตลาด โดยเมื่อ Histogram มีค่าสูงมากหรือต่ำมาก มักแสดงถึงแรงซื้อหรือแรงขายที่มีความรุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วและมีความผันผวนสูง
2. การกรองสัญญาณหลอก
- ช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวในกรอบแคบ (Sideway) MACD อาจเกิดสัญญาณหลอกได้บ่อย เทรดเดอร์ควรรอให้เกิดการตัดกันของเส้น MACD และ Signal อย่างชัดเจนก่อนและควรวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น แนวรับแนวต้าน หรือ Price Action เพื่อเพิ่มความแม่นยำที่มากขึ้น
3. การปรับค่า MACD
- จากภาพจะเป็นการใช้ค่ามาตรฐาน (12, 26 และ 9) ซึ่งจะเหมาะสำหรับการเทรดบน Time Frame ที่แสดงในกราฟ แต่ค่าเหล่านี้ เทรดเดอร์สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์การเทรดและ Time Frame ที่ตนเองต้องการและถนัดได้ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งตามพี่โบ้ครับ
4. การยืนยันแนวโน้ม
- ยิ่ง Histogram มีแท่งสีเขียวที่เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ แสดงว่า แนวโน้มขาขึ้นนั้นมีกำลังซื้อหนุนอยู่ ซึ่งเป็นจังหวะที่ดีในการถือต่อเพื่อทำกำไร
- ยิ่ง Histogram มีแท่งสีแดงที่ลึกลงมากเท่าไหร่ ยิ่งบ่งชี้ถึงแรงขายที่เพิ่มขึ้นและแสดงถึงราคาที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องครับ
ความเสี่ยงที่อาจพบได้หากเทรดแบบ Trend Following
แม้การเทรดแบบ Trend Following จะมีข้อดีอยู่มาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ครับว่า ความเสี่ยงนั้นมักเป็นของคู่กันเมื่อคุณยังอยู่ในตลาด Forex ดังนั้น ความเสี่ยงที่คุณต้องเจอหากเทรดแบบ Trend Following มีดังนี้
1. ความเสี่ยงที่มาจากสัญญาณหลอก
การเทรดแบบ Trend Following มักเจอสัญญาณหลอกบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงตลาด Sideway
2. การไม่ใช้ Stop Loss หรือ Take Profit
การไม่ใช้ Stop Loss หรือ Take Profit อาจทำให้เทรดเดอร์ขาดทุนหนักหรือพลาดโอกาสทำกำไรไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางอย่างกะทันหัน
3. การกำหนด Position Size ที่ผิดพลาด
เทรดเดอร์หลายคนพลาดจากการวาง Position Size ที่ใหญ่เกินไปหรือใช้เลเวอเรจในอัตราที่สูง ซึ่งอาจทำให้ขาดทุนหนัก เมื่อเจอสัญญาณหลอกหรือเมื่อแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วครับ
4. การใช้อารมณ์เข้าแทรกมากเกินไป
เทรดเดอร์มักจะถอดใจและเลิกทำตามแผนของตนเอง เมื่อเจอสัญญาณหลอกหรือขาดทุนติดต่อกันบ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้คุณพลาดโอกาสทำกำไรเมื่อแนวโน้มที่คุณคาดการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง
5. ขาดการปรับตัวให้เข้ากับตลาด
ตลาด Forex มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างใกล้ชิดมักจะได้เปรียบกว่าเทรดเดอร์ที่ไม่ติดตามตลาดและไม่ปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับตลาดเลย
ทริคป้องกันความเสี่ยงจากการเทรดแบบ Trend Following
การบริหารความเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของการเทรดแบบ Trend Following ครับ เพราะทิศทางของตลาดมักไม่ชัดเจนและไม่แน่นอน คุณจึงไม่ควรมองข้ามการบริหารความเสี่ยง โดยคุณสามารถทำตามได้ดังนี้
- ป้องกันสัญญาณหลอกด้วยการใช้อินดิเคเตอร์เพื่อยืนยันสัญญาณ และเลือกใช้ Time Frame ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดการเกิดสัญญาณดังกล่าว
- ใช้คำสั่ง Stop Loss และ Trailing Stop เพื่อป้องกันการสูญเสียต้นทุนจำนวนมากและล็อกกำไร
- ควรจำกัดความเสี่ยงในการออกออเดอร์ต่อครั้งไม่เกิน 1-2% ของพอร์ต
- จัดการอารมณ์ของตนเองให้ดีและหมั่นฝึกฝนการเทรดและทดสอบประสิทธิภาพการลงทุนของตนเองอยู่เสมอ
- หมั่นติดตามข่าวสารเศรษฐกิจที่มีผลต่อตลาดและปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสภาวะตลาดในปัจจุบัน
📢 Traderbobo แนะนำ
กลยุทธ์การเทรดที่พี่โบ้คัดมาให้แล้ว “6 กลยุทธ์การเทรด Forex ที่ดีที่สุด” ที่อาจจะเปลี่ยนเส้นทางการลงทุนของคุณ เรียนรู้เทคนิคแบบมืออาชีพที่จะทำให้คุณเทรดได้ชัดเจน มั่นใจ แล้วกลยุทธ์แบบไหนที่จะเหมาะกับคุณ คลิกอ่านเลยที่นี่ 👇🚀
สรุปเกี่ยวกับ Trend Following
การเทรดแบบ Trend Following คือ การเทรดโดยไหลไปตามแนวโน้มของตลาด จำง่าย ๆ ครับว่า หลักการสำคัญของ Trend Following คือ เปิดออเดอร์ Buy ในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาขึ้น และ Sell ในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาลง อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ตลาด Forex เป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงมาก การระบุแนวโน้มหรือคาดการณ์แนวโน้มที่ชัดเจนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายแบบที่เราคิดกัน
ดังนั้น เทรดเดอร์จึงต้องหมั่นศึกษาข้อมูลรวมถึงวางแผนการเทรดที่ครอบคลุมและเหมาะสมควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและลดความเสี่ยงในการขาดทุนครับ
“จำไว้นะครับว่า การเทรดแบบ Trend Following คือ การโฟกัสกำไรขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้บางครั้งคุณอาจต้องมองข้ามการขาดทุนเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปบ้าง เพราะมันถือเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่คุณต้องทำคือจัดการมันให้ดีก็พอครับ”
………………….🐶………………….
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Trend Following
แนวโน้มหรือ Trend ในตลาดการเงินคืออะไร?
แนวโน้มหรือ Trend ในตลาดการเงิน คือ ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์นั้น ๆ โดยสามารถเป็นได้ทั้งแนวโน้มขาขึ้นและแนวโน้มขาลงครับ
เทรดเดอร์จะระบุแนวโน้มได้จากอะไร?
เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์แนวโน้มได้จากการวิเคราะห์กราฟราคา เครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดครับ
Trend Following เหมาะกับ Time Frame การเทรดแบบใด?
Trend Following เหมาะกับการเทรดโดยใช้ Time Frame ระยะยาวครับ เพราะการเทรดใน Time Frame ดังกล่าว มักมีความแข็งแกร่งและความต่อเนื่องมากกว่าแนวโน้มใน Time Frame ระยะสั้น ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าครับ
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม: สาระน่ารู้
พูดคุยและติดตาม Real Time: Facebook Page