วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ทำ EU เสี่ยงเเตก

Table of Contents

สืบเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ทางชาติตะวันตกต้องกดดันรัสเซียมากขึ้น เช่น การห้ามซื้อน้ำมัน เเละพลังงานต่าง ๆ จากรัสเซีย รวมไปถึงกลุ่มธัญพืช ซึ่งการคว่ำบาตรครั้งนี้ก็ส่งผลเสียต่อทางชาติตะวันตกด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่า ‘เจ็บทั้งคู่’ เนื่องจากประเทศในยุโรปยังต้องพึ่งพาสิ่งที่ส่งออกจากรัสเซียอยู่หลายอย่าง ทำให้ปัจจุบันค่าครองชีพของประชากรในยุโรปสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

เเต่ก็ใช่ว่าทุกประเทศนั้นจะเห็นด้วยกับการคว่ำบาตรในครั้งนี้ เเละอาจพร้อมหันหลังให้ EU อย่างเงียบ ๆ อย่างเช่น เยอรมัน โดยทางนายกของเยอรมันยังยืนยันที่จะนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย โดยได้ให้เหตุผลถึงความมั่นคงของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ซึ่งการออกตัวในครั้งนี้ของเยอรมัน ทำให้ทาง EU รู้สึกโดนหักหลัง เเละเกิดการวิจารณ์อย่างหนัก

นอกจากนี้ฮังการีเองก็ดูเหมือนจะมีทีท่าเช่นเดียวกับเยอรมันเช่นกัน โดยล่าสุด Viktor Orban ได้ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งเขาคือ สหายคนสนิทของปูติน หรือประธานาธิบดีของรัสเซียนั่นเอง หรือการที่เขาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ประชาชนของฮังการีต้องการสื่อว่า ประชาชนต้องการให้ประเทศเลือกข้างฝั่งใด โดยนโยบายของของ Orban ที่ทำให้เกิดความข้อสังเกต คือ ฮังการีไม่ยอมเป็นทางผ่านของการส่งอาวุธจากยุโรป เพื่อช่วยเหลือยูเครนในสงคราม เเละยังไม่เข้าร่วมการคว่ำบาตรรัสเซีย อีกทั้งทางฮังการียังได้เซ็นสัญญาเพิ่มขนาดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย รวมถึงต่อระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี

ซึ่งการกระทำครั้งนี้ทำให้ฮังการีอาจต้องเสียเครดิตในการกู้ยืมจากกองทุน EU เเลกกับความมั่นคงด้านพลังงานเเละอาหารของประเทศ เเต่ถ้าย้อนกลับไปในช่วงที่เกิดสงครามใหม่ ๆ Orban ได้เเสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับความรุนเเรงในครั้งนี้ หรือทั้งหมดนี้เป็นเเค่เกมการเมือง

✅ อย่างไรก็ตามถ้าเยอรมันเเละฮังการี เอนเอียงไปอยู่ทางฝั่งรัสเซียอย่างเเท้จริง ความสามัคคีใน EU คงเกิดความสั่นคลอนไม่น้อย อีกทั้งการคว่ำบาตรรัสเซียในครั้งนี้ ดูเหมือนจะสามารถกดดันรัสเซียได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจาก ณ ตอนนี้ รัสเซียยังสามารถที่จะยืนได้ด้วยตนเอง โดยค่าเงินมีการเเข็งค่าขึ้น เเม้จะอยู่ในสภาวะสงคราม ส่วนในด้านการซื้อขายพลังงานก็ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ยอมรับการซื้อขายน้ำมันราคาถูกจากรัสเซีย เช่น จีนเเละอินเดีย ผลสรุปวิกฤตในครั้งนี้จะเป็นอย่างไร เราคงต้องจับตาดูกัต่อไป

อ้างอิง: Ansneed, Bloomberg, RFE/RL,

Social Share
Facebook
Twitter