Green Finance คืออะไร ? ทำไมถึงมาเกี่ยวข้องกับการเงินได้

Table of Contents
Green Finance

‘ Green Finance ‘ หรือ การเงินสีเขียว เป็นการอยู่ร่วมกันของ ‘การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจแนวทุนนิยม’

ปัญหาภาวะโลกร้อนถูกหยิบขึ้นมาพูดตลอดในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และในขณะนี้โลกของเรากำลังบอบช้ำเป็นอย่างหนัก น้ำแข็งขั้วโลกได้ละลายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุนนิยมทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมมากมายขึ้นบนโลก จนกระทั่งถึงจุดที่ชั้นบรรยากาศเบาบางลง และเกิดมลพิษมากมาย ดังนั้น ในฐานะชาวโลกจึงต้องร่วมมือกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ในทางกายภาพของโลก เราจึงมีการเริ่มใช้พลังงานสะอาด และรีนิวเอเบิ้ล เอ็นเนอร์จี เพื่อลดการสร้างขยะ แต่ทราบกันไหมครับว่า ในโลกการเงินและการลงทุน ได้มีการผลักดันให้เกิดความยั่งยืนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยสิ่งนี้เรียกว่า กรีนไฟแนนซ์

ในภาษาไทยเราอาจเรียกว่า การเงินสีเขียว โดยโครงการนี้เกิดมาจากการโต้แย้งของประเด็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะสามารถอยู่กับสังคมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี และความก้าวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบันได้หรือไม่ หลังจากนั้นการระบาดของโควิด-19 ก็ก่อให้เกิดคำถามมากมายว่า มนุษย์ทำร้ายโลกเกินไปหรือเปล่า โลกจึงให้สิ่งนี้เป็นการตอบแทน ประกอบกับการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้ ส่งผลให้กระแสเกี่ยวกับกรีนไฟแนนซ์กลับมามีบทบาทอีกครั้ง

Green Finance คืออะไร?

กรีนไฟแนนซ์ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเงินโดยตรง ที่จะคอยช่วยส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สามารถอยู่ในระบบทุนนิยมในปัจจุบันได้ โดยจะทำผ่านเครื่องมือการเงินต่าง ๆ เช่น ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan/Green Credit) ซึ่งการทำงานของกรีนไฟแนนซ์นั้นจะแตกต่างจากสถาบันการเงินชนิดอื่น เนื่องจากสถาบันอื่นจะคำนึงถึงผลตอบแทน และความเสี่ยงเป็นหลัก แต่กรีนไฟแนนซ์จะคำนึงถึงความยั่งยืนในการลงทุน และผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างเช่น การที่กรีนไฟแนนซ์ให้สินเชื่อกับที่ใดที่หนึ่งนั้นอัตราดอกเบี้ยจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากจะคำนวณถึงหลายองค์ประกอบ อย่างความเสี่ยงและความเป็นไปได้ของธุกิจ อีกทั้ง ส่วนที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากโครงการนั้นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ก็จะเป็นผลให้การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนั้นน้อยตามไปด้วย เพื่อดึงดูดให้การลงทุนสมัยใหม่เริ่มใส่ใจเกี่ยวกับการลงทุนสีเขียวเพิ่มมากขึ้น

มีหลายประเทศที่เริ่มใช้กันแล้ว

ตัวอย่างประเทศที่กำลังมีการทดลองระบบกรีนไฟแนนซ์ ได้แก่ ประเทศจีน โดยรัฐบาลจีนตั้งใจว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ ภายในปี 2603 อีกทั้ง บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่อย่างแอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ก็มีความตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ ( Carbon Neutral) ภายในปี 2573 เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งยินดีในการช่วยผลักดันบริษัทเอกชนอื่น ๆ ในการวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีสีเขียวอีกด้วย

 กรณีศึกษาจาก Ant Forest

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่อย่างแอนท์ กรุ๊ป ได้มีการเปิดตัว Ant Forest บนแอปอาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเก็บคะแนนสะสมพลังงานสีเขียวได้ โดยคะแนนจะมาจากการที่ผู้ใช้งานทำกิจกรรมบางอย่าง (คะแนนสะสมที่ได้จะนำไปใช้ในการปลูกต้นไม้เสมือนจริงบนแอปของผู้ใช้ ซึ่งทางอาลีเพย์จะนำไปปลูกจริง โดยร่วมมือกับองค์กรเอ็นจีโอในท้องถิ่น) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การขี่จักรยาน และลดการใช้กระดาษ

อย่างไรก็ตาม กรีนไฟแนนซ์ถือเป็นโครงการที่น่าสนใจมาก และเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในปัจจุบัน มนุษย์เราทำร้ายโลกกันมาอย่างยาวนาน ดูแลคืนบ้าง จะได้อยู่ด้วยกันไปยาว ๆ ครับ พี่โบ้หวังว่า โครงการนี้จะเป็นที่นิยมทั่วโลกและสามารถช่วยโลกของเราให้พ้นจากสภาวะเช่นนี้ไปได้นะครับ 

Source: ทีมงาน Traderbobo

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: Traderbobo

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่: Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense