ทำความรู้จักกับ ค่าธรรมเนียมกองทุน สำคัญอย่างไร ?

Table of Contents
ค่าธรรมเนียมกองทุน

ในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ “กองทุนรวม” เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากหลายคนเข้าใจว่า ทำได้ง่าย และไม่ต้องบริหารเงินเอง ที่สำคัญยังมีความเสี่ยงต่ำ รวมถึงให้ผลตอบแทนที่คงที่ และข้อดีอีกหนึ่งอย่างที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ คือ กองทุนรวมมี ค่าธรรมเนียมกองทุน ที่ต่ำมาก ซึ่งบทความนี้จะขยายความเกี่ยวกับ ค่าธรรมเนียมกองทุน ให้เข้าใจและละเอียดมากยิ่งขึ้น

ค่าธรรมเนียมกองทุน คืออะไร?

ค่าธรรมเนียมเป็นรายได้ทางเดียวของกองทุน โดยค่าธรรมเนียมตรงนี้จะถูกแบ่งไปเป็นค่าจ้างพนักงาน หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองทุน เนื่องจากเวลาที่เราลงทุนกับกองทุนและได้กำไร เราจะได้เงินเต็มจำนวน แต่กองทุนจะหักค่าธรรมเนียมไว้ ซึ่งถ้าไม่เก็บจากลูกค้ากองทุนก็ไม่มีรายได้ และต้องยุบกองทุนในที่สุด

ประเภทของ ค่าธรรมเนียมกองทุน

1. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า

สมมติว่า พี่โบ้นำเงินไปซื้อกองทุน 20,000 บาท แต่ถ้ากองทุนมีการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า 2% เท่ากับว่าพี่โบ้จะได้ซื้อกองทุนเพียง 19,600 เพราะถูกหักค่าธรรมเนียมไป ยิ่งถ้าหากกองทุนมีผลตอบแทนที่มาก (ความเสี่ยงที่เพิมขึ้น) ก็จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงขึ้น ดังนั้น ควรศึกษาค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้ดี เพราะการที่จำนวนเงินในการซื้อกองทุนเราลดลงไป จะยิ่งทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้น กว่าที่จะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

2. ค่าธรรมเนียมรายปี

ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ คือ ค่าธรรมเนียมที่จะถูกหักในทุกๆ ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกองทุนแต่ละกองทุน ยิ่งถ้าสินทรัพย์มีความเสี่ยงสูงหรือให้ผลตอบแทนมาก ค่าธรรมเนียมรายปีก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

ทำไมเราต้องเสียค่าธรรมเนียม

หลายคนอาจมองว่า การเสียค่าทำเนียมเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม หรือทำให้เงินลงทุนของเราน้อยลง แต่ที่จริงแล้วค่าธรรมเนียมที่เราเสียให้กองทุนไม่ว่าในรูปแบบใดเป็นเหมือนค่าจ้างให้มืออาชีพทำการลงทุนให้เรา และเป็นผลประโยชน์ให้แก่ผู้จัดการกองทุน ซึ่งจะได้นำไปพัฒนากองทุนต่อไป

อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมกองทุน จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อยากให้นักลงทุนลองศึกษาและตัดสินใจกันก่อนที่จะทำการซื้อขายกองทุนรวม เพราะมันมีผลต่อเงินในกระเป๋าเราโดยตรง แต่หากใครไม่ชอบที่จะเสียค่าธรรมเนียมที่สูง แนะนำให้ลงทุนกับกองทุนรวมดัชนีหรือ Passive Fund เนื่องจากกองทุนประเภทนี้จะเก็บค่าทำเนียมต่ำ แต่ผลตอบแทนก็จะน้อยลงตามไปด้วย


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter