เงินเยน (JPY) อ่อนค่าต่ำสุดในรอบ 20 ปี หวั่นเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง 2

Table of Contents

สิบเนื่องมาจากการที่ เงินเยน อ่อนค่าลงกว่า 10% เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังเป็นสกุลเงินในกลุ่มอุตสาหกรรม G10 ที่อ่อนค่ามากที่สุด โดยขยับเข้าใกล้ระดับในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย หรือที่เรารู้จักกันในนาม ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’

‘เงินเยน’ อ่อนค่าต่ำสุดในรอบ 20 ปี เริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

ในช่วงก่อนหน้านี้ ‘เงินเยน’ ได้อ่อนค่าลงอยู่ที่ 125 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีนักลงทุนหลายกลุ่มได้ทำการซื้อไว้เพื่อเก็งกำไรเรียบร้อยแล้ว แต่ล่าสุดค่าเงินเยนได้มีการอ่อนค่าลงอีก โดยมีการเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 138 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตการเงินของญี่ปุ่นในปี 2545 โดยมีแนวโน้มว่า ค่าเงินเยนจะอ่อนตัวลงไปจนแตะระดับต่ำสุดที่ 145 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ เหมือนในช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ต้องยอมรับว่า ตั้งแต่ผ่านช่วงวิกฤตนั้นมา ค่าเงินเยนก็ไม่เคยเข้าไปเฉียดที่ระดับนั้นอีกเลย

โดยเงินเยนเริ่มอ่อนค่ามาตั้งแต่ในช่วงเดือน มี.ค. หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจมากกว่าดูแลเงินเฟ้อ ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเสี่ยงที่จะตกอยู่ในวงจรเศรษฐกิจขยายตัวต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ และค่าเงินเฟ้อสูง ตลอดจนทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง สวนทางกับหลายประเทศที่เริ่มมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ในประเทศอื่นนั้นสูงกว่าญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก นักลงทุนจึงเกิดการเทขายพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากประเทศที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ผลสุดท้าย คือ ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงในที่สุด

อีกทั้ง พื้นฐานทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน สืบเนื่องมาจากประชาชนมีการใช้จ่ายในประเทศที่ลดลง ขณะที่การรายได้จากการท่องเที่ยวก็หยุดชะงักในช่วงที่เกิดโควิด-19 รวมถึงการส่งออกก็ลดน้อยลงเช่นกัน สาเหตุเหล่านี้จึงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำมากจนมีความเสี่ยงที่จะเงินฝืด แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีวี่แววที่จะใช้นโยบายอื่นแต่อย่างใด

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจหาก ‘เงินเยน’ อ่อนค่าลงมาก

เงินเยนถือว่า เป็นค่าเงินที่มีบทบาทในเวทีการค้าโลก ดังนั้น การอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความเสี่ยงต่อวิกฤตการเงิน ซึ่งการอ่อนค่าของเงินเยนที่มากเกินไป จะนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาค และอาจเกิดการแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจากจีน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจของตนเอง เนื่องจากจีนจะรู้สึกเสียเปรียบด้านการค้า และไม่เป็นธรรมต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งจีนจะไม่ยอมให้การอ่อนค่าของเงินสกุลอื่นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศตนเองอย่างแน่นอน

หากมองย้อนกลับไปในปี 2540 สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นฝ่ายเรียกร้องให้จีนควบคุมค่าเงินหยวนไม่ให้อ่อนค่าลง เพื่อรักษาเสถียรภาพของภูมิภาค และป้องกันไม่ให้ค่าเงินสกุลอื่นอ่อนค่าตามไปด้วย แต่สถานการณ์ ณ ตอนนี้ กำลังอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม และจีนคงไม่อยู่เฉย

อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นมองว่า การอ่อนค่าของเงินเยนดีต่อการส่งออก แต่ในสภาวะที่แวดล้อมไปด้วยเงินเฟ้อ และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่น ๆ ประโยชน์จากการอ่อนค่าของ ‘เงินเยน’ คงมีไม่มากเท่าผลเสียที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้น ต้องรอติดตามว่า ทางการญี่ปุ่นจะยอมเปลี่ยนนโยบายการดำเนินเศรษฐกิจหรือไม่ แต่ถ้ายังยืนยันที่จะดำเนินนโยบายแบบเดิม เราอาจต้องเผชิญกับ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ อีกครั้ง


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Source: Financial time, Bloomberg และ The Standard

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense