จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อ “น้ำมัน” กลายเป็น “อาวุธ” โจมตีทางเศรษฐกิจของจีนและรัสเซีย

Table of Contents
น้ำมัน

สืบเนื่องมาจากประเด็นร้อนแรงทางเศรษฐกิจโลกในตอนนี้ เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นไม่ยอมหยุด จากการที่สหรัฐและซาอุดีลลับกับกลุ่ม OPEC+ จับมือกันลดกำลังผลิตน้ำมันลง และเอื้อประโยชน์ต่อประเทศที่เป็นพันธมิตรด้วยเท่านั้นอย่างจีน ซึ่งเป็นที่ค้านสายตาของนักวิเคราะห์ทั่วโลก เนื่องจากในช่วงที่เศรษฐกิจมีภาวะชะลอตัวอย่างในปัจจุบัน ราคาน้ำมันควรปรับตัวลงด้วย Demand และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ลดลง รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (FED) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง หรือเหตุการณ์นี้อาจมีเบื้องลึกเบื้องหลังที่ประชาชนอย่างเราคาดไม่ถึง?

เมื่อ “น้ำมัน” อาจกลายเป็น “อาวุธ” โจมตีทางเศรษฐกิจ

น้ำมัน

———————————— 🐶 ————————————

ซาอุดิอาระเบีย “ขยายเวลา” ลดการผลิตน้ำมัน

ประเด็นแรก พี่ใหญ่แห่งวงการผลิตน้ำมันอย่างซาอุดิอาระเบียคอนเฟิร์มการขยายเวลาลดกำลังผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งก่อนหน้านี้ซาอุเคยทำเช่นนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เพื่อต้องการตรึงราคาน้ำมันให้อยู่ที่ระดับ $80 ต่อบาร์เรล หากใครติดตามข่าวเศรษฐกิจอยู่แล้วจะทราบว่า โดยปกติซาอุผลิตน้ำมันประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน นั่นหมายความว่า ซาอุลดการผลิตไป 10% หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น คือ ไทยบริโภคน้ำมันอยู่ที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้น การที่ซาอุลดการผลิตลง 10% ต่อวัน เท่ากับน้ำมันไทยหายไปทั้งประเทศ 1 วัน

น้ำมัน
Source: ภาพแสดงปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศต่าง ๆ จาก Bicmagazine

ความร่วมมือจาก “ขั้วอำนาจใหม่” และ “กลุ่ม OPEC+”

ประเด็นต่อมา ซาอุได้รับความร่วมมือกับรัสเซีย มือวางอันดับ 2 ของประเทศที่ผลิตน้ำมัน โดยรัสเซียออกมาชี้แจงว่าจะลดการผลิตลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งยังได้รับความเห็นชอบจากกลุ่ม OPEC+ ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้ว ปริมาณการผลิตน้ำมันจะถูกลดลงไป 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับรัสเซียได้รับราคาน้ำมันแบบ “Flash Sale”

ประเด็นนี้สำคัญ จากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาพลังงานอย่างน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงจนแตะ $100 ต่อบาร์เรล ส่งผลให้รัสเซียที่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรพลังงานจำนวนมาก ออกอุบายผูกขาดราคาน้ำมันแก่ประเทศที่เป็นพัธมิตรในราคาถูกลงกว่า 50% ตัวอย่างเช่น ณ ตอนนั้นรัสเซียขายน้ำมันให้แก่อินเดียในราคาถูกกว่าคู่ค้ารายอื่นด้วยเงินหยวน เนื่องจากอินเดียเลือกข้างชัดเจนว่า อาจอยู่ฝั่งรัสเซียในสงครามครั้งนี้ และอินเดียเข้าซื้อน้ำมันจากรัสเซียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการผูกขาดน้ำมันอย่างชัดเจน เเละส่งผลกระทบถึงราคาน้ำมันจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ จีนยังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับการผูกขาดน้ำมันทั้งกับรัสเซียและซาอุ โดยมีข้อตกลงว่าจะใช้เงินหยวนในการซื้อขาย ซึ่งเป็นผลมาจากวัตถุประสงค์หลักของกลุ่ม BRICS เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงิน และลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ ณ ตอนนี้เศรษฐกิจจีนจะไม่เติบโตสูงเท่าเดิม แต่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จีนกลายเป็นลูกค้าชั้นดีของรัสเซียอย่างเป็นทางการ

หลายประเทศทนไม่ไหว หันมาซื้อน้ำมันด้วย “หยวน”

สืบเนื่องมาจากประเด็นก่อนหน้านี้ การที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ประเทศที่ดูเหมือนจะพยุงเศรษฐกิจไม่ไหวต้องยอมซื้อน้ำมันจากซาอุและรัสเซียด้วยเงินหยวน ตัวอย่างเช่น ปากีสถานและศรีลังกา ซึ่งทั้งสองประเทศเกิดการขาดดุลทางการค้าอย่างหนัก จนทำให้เงินเสื่อมค่าลงและเสี่ยงล้มละลาย โดยปัญหาหลักเกิดจากการนำเข้าน้ำมันราคาสูง ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงตัดสินใจศิโรราบแก่รัสเซีย นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างลาวก็เปลี่ยนมานำเข้าน้ำมันจากจีนแล้วเช่นกัน

ใครได้รับผลกระทบมากที่สุด?

อีกหนึ่งประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากภารกิจตรึงราคาน้ำมันในครั้งนี้สำเร็จ ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการนำเข้าน้ำมัน ซึ่ง IMF ได้ออกมาเตือนว่า การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบร้ายแรงและกดดันให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าเดิม และเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ แต่รัสเซียและ OPEC+ จะสนใจประเด็นนี้หรือไม่?

โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นยูโรโซน เนื่องจากจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมากด้วยราคาที่สูง ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อ ในทางกลับกัน ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม BRICS และสนับสนุนรัสเซียกลับมีอัตราการเติบโตของเงินเฟ้อที่ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะจีน บ่งชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเงินเฟ้อที่ทั่วโลกกำลังเผชิญจากราคาน้ำมัน คงเป็นได้ยากที่จะเกิดขึ้นกับจีน

———————————— 🐶 ———————————–

สรุป เมื่อ “น้ำมัน” กลายเป็น “อาวุธ” โจมตีทางเศรษฐกิจ

จากประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด ณ ตอนนี้ น้ำมันอาจกลายเป็นอาวุธสำคัญที่จีนและรัสเซียใช้ต่อกรกับฝังโลกตะวันตกอย่างสหรัฐ ซึ่งในอดีตทุกคนรับรู้ว่า น้ำมันถูกผูกไว้กับสกุลเงินดอลลาร์เท่านั้น หรือที่เรารู้จักกันในนาม ระบบเปโตรดอลลาร์ แต่ปัจจุบันเราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และอาจเป็นไปได้ว่า ระบบเปโตรหยวน กำลังเข้ามาแทนที่จากความร่วมมือของขั้วอำนาจใหม่นำโดยจีนและรัสเซีย รวมถึงซาอุและ OPEC+ ที่ต้องการตรึงราคาน้ำมันให้สูงขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการผลักดันให้เงินหยวนเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มรูปแบบ จากความร่วมมือของกลุ่ม BRICS เพื่อลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนขั้วอำนาจของโลก อย่างไรก็ตาม แผนการในครั้งนี้นั้นส่งผลกระทบให้กับประเทศที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับรัสเซียเป็นวงกว้าง ซึ่งสหรัฐเริ่มมีการผลิตน้ำมันในปริมาณที่สูงขึ้น และดูเหมือนว่า ในอนาคตอาจทำการส่งออกเพื่อช่วยประเทศที่เป็นพันธมิตรให้สามารถอยู่รอดต่อไปได้

ดังนั้น เราคงต้องติดตามดูกันต่อไปว่า สงครามน้ำมันในครั้งนี้จะจบลงอย่างไร และใครจะต้องเจ็บตัว แต่ที่แน่ ๆ หากยังไม่มีข้อสรุป เราคงต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจไปอีกนาน

หากใครกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex อยู่ เราได้รวบรวมไว้ที่นี่!

รวม Broker สุดปัง รีวิวจริงจากการใช้งาน

รวมโบรกเกอร์ Free Swap

รวมโบรกเกอร์เทรดทองสุดคุ้ม

รวมโบรกเกอร์สเปรดต่ำมาก


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter