สรุป! เทคนิคการลงทุนในกองทุน SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี ส่งท้ายปี 2022

Table of Contents
การลงทุน

ปลายปีแบบนี้คงอยู่ในช่วงที่ทุกคนกำลังคำนวณเกี่ยวกับภาษีที่จะต้องจ่ายในต้นปีหน้า โดยกองทุน SSF และ RMF เป็น การลงทุน ที่เราสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ด้วยสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ณ ตอนนี้ ทำให้หลายคนลังเลที่จะลงทุน บทความนี้จะอธิบายว่า เราควรลงทุนใน กองทุน เหล่านี้อย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และไม่เสียสิทธิ์ลดหย่อนภาษี รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการลงทุนระยะยาวแบบมีความเสี่ยงต่ำอีกด้วย

กองทุน SSF และ RMF คืออะไร ?

ก่อนอื่นเราขอย้อนไปทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับ 2 กองทุนนี้ก่อน โดยกองทุน SSF และ RMF เป็น กองทุน ที่เราสามารถทำได้ทั้งลงทุนและนำไปลดหย่อนภาษี ซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ และนักลงทุนส่วนนิยมซื้อติดพอร์ตกันไว้ เพื่อออมเงินในระยะยาว อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลกับความเสี่ยงที่ต่ำ โดย 2 กองทุนนี้มีความแตกต่างกันที่ระยะเวลาและเงื่อนไขในการลงทุน สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ที่นี่

กองทุน SSF คืออะไร ?

กองทุน RMF คืออะไร ?

เทคนิค การลงทุน ใน กองทุน SSF และ RMF

สืบเนื่องมาจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สภาพตลาดไม่เอื้อให้นักลงทุนลงทุนในกองทุนสักเท่าไรนัก แต่หากมองในอีกมิติจะเห็นว่า การลงทุนในกองทุนนั้นถือเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยมากกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอยู่มาก และในปัจจุบันก็มีกองทุนให้เลือกลงทุนมากมาย ดังนั้น เทคนิคการลงทุนในตอนนี้จะขอแบ่งนักลงทุนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่กลัวตลาดและผู้ที่กล้าเสี่ยง

การลงทุน

1. สำหรับกลุ่มนักลงทุนที่กลัวตลาด

สำหรับใครที่ยังกลัวตลาดอยู่ ณ ตอนนี้ อาจเลือกลงทุนในประเภทกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีความผันผวนน้อยกว่าตลาด และเมื่อตลาดเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น เราสามารถเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนที่เรามีมุมมองเชิงบวก การทำเช่นนี้ถือเป็นการรักษาสิทธิ์ลดหย่อนภาษีไว้ มิเช่นนั้นเราก็จะต้องจ่ายภาษีจำนวนเต็ม

ตัวอย่างกองทุน SSF และ RMF ที่มี “ความผันผวนต่ำ”

กองทุน SSF

SCBSFFPLUS-SSF ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น

กองทุน RMF

SCBRM1 ลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ระยะสั้นของทั้งภาครัฐและเอกชน

2. สำหรับกลุ่มนักลงทุนที่กล้าเสี่ยง

ในช่วงเวลานี้ที่ตลาดการเงินอยู่ในภาวะตลาดหมี (Bear Market) นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า เป็นโอกาสทองที่เราจะได้ของดีราคาถูก เนื่องจากหุ้นที่มีพื้นฐานดี หรือหุ้นที่ราคาสูงจะทำการปรับตัวลง อีกทั้ง การลงทุนในกองทุน SSF และ RMF ก็เป็นการลงทุนระยะยาวกว่า 10 ปี ดังนั้น หากสามารถวิเคราะห์แนวโน้ม หรือเลือกกองทุนที่ลงทุนในหุ้นปลอดภัย ก็ถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการลงทุนระยะยาว เพื่อเก็บเป็นเงินออมได้

ตัวอย่างกองทุน SSF และ RMF ที่มี “ความผันผวนสูง”

ทางเราแนะนำเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากมีความมั่นคงสูง และราคาได้ปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก ในระยะยาวจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโต และให้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีที่เลือกมาได้แก่ S&P500 และ NASDAQ

ดัชนี S&P500

เป็นการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่สะท้อนกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างที่ทราบกันดีว่า สหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจของโลก ถึงแม้จะมีขั้วอำนาจใหม่เกิดขึ้นมา แต่การจะโค่นสหรัฐฯ นั้นเป็นไปได้ยาก อีกทั้ง ภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังอยู่ในแดนบวก และดูเหมือนว่า ปัญหาเงินเฟ้อค่อย ๆ ลดตัวลงแล้ว

ดัชนี NASDAQ

เป็นการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัล และเทคโนโลยีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้มองว่า การลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีนั้นสามารถลงทุนได้ในระยะยาว และยิ่งช่วงนี้ตลาดได้ทำการปรับลดตัวลงมาก จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะซื้อเก็บไว้ ซึ่งผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มนี้ก็อย่างที่เราได้เห็นกันอยู่แล้วว่า ถ้าราคาหุ้นได้พุ่งขึ้นทีก็แทบจะฉุดไม่อยู่

ตลาดอื่นที่มีทิศทาง “การลงทุน” เป็นบวก

ตลาดที่น่าลงทุนในช่วงนี้นอกจากหุ้นสหรัฐฯ แล้ว ยังมีตลาดหุ้นจีนในกลุ่ม A-Shares โดยในตอนนี้ถูกกดดันจากปัจจัยหลายอย่าง ทำให้ตลาดมีการปรับตัวลงอีก แต่ด้วยฉายาที่ได้ขึ้นชื่อว่า โรงงานของโลก ทำให้หลายประเทศวางรากฐานการผลิตไว้ที่นั้น ซึ่งแน่นอนว่า ในอนาคตตลาดหุ้นจีนจะต้องมีการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีตลาดหุ้นเวียดนาม ที่มีศักยภาพด้านการเติบโตแบบก้าวกระโดด อีกทั้ง ทางประเทศยังตั้งเป้าว่าจะทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า และจากผลงานการเติบโตที่ผ่านมา ก็ดูเหมือนว่าจะมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นไปได้ที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลง โดยนักลงทุนจะต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้ครบทุก บลจ. ที่เราซื้อกองทุน มิเช่นนั้นจะทำให้เราเสียสิทธิ์ไปได้ และหากมีพอร์ตในหลายแพลตฟอร์ม ต้องลงทะเบียนด้วย Unitholder ID ให้ครบทุกแพลตฟอร์ม ถึงแม้ว่าจะเคยลงทะเบียนของ บลจ. นั้นไปแล้วก็ตาม

Sourceทีมงาน Traderbobo

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: สาระน่ารู้

อ่านรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติมได้ที่Review Broker

Social Share
Facebook
Twitter