เจาะลึก Ichimoku (อิชิโมกุ): อินดิเคเตอร์เมฆเงินเมฆทอง

Table of Contents
Ichimoku

“Ichimoku (อิชิโมกุ)” อินดิเคเตอร์สุดน่ารักจากญี่ปุ่น ที่มีจุดเด่นเฉพาะตัวอย่างก้อนเมฆ อีกทั้งยังสามารถดูเทรนด์ร่วมกับ Price Action ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการใช้งานที่ง่ายกว่าอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ มาก มาพร้อมประวัติที่น่าดึงดูด ซึ่งในบทความนี้ Traderbobo จะพาไปเจาะลึก Ichimoku อย่างละเอียด และไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่แค่ไหนก็สามารถใช้ได้ครับ

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ และไม่ควรเชื่อสัญญาณเทรดจากอินดิเคเตอร์เพียงแค่ตัวเดียว เนื่องจากอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

Ichimoku (เมฆเงินเมฆทอง) คืออะไร

อิชิโมกุ (Ichimoku) คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูเทรนด์ในตลาด และเป็นแนวรับ-แนวต้านไปในตัว โดยมีลักษณะคล้ายก้อนเมฆ (Cloud) จึงมีอีกชื่อว่า Ichimoku Cloud และด้วยการที่มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น ทำให้หลายคนรู้จักกันในนามของ Ichimoku Kinko Hyo ซึ่งเทรดเดอร์นิยมใช้ Ichimoku ควบคู่กับ Price Action

Ichimoku Cloud ถูกคิดค้นโดยคุณ Goichi Hosoda นักข่าวชาวญี่ปุ่นที่มีความชำนาญในการวิเคราะห์ตลาดเงิน ซึ่งใช้เวลากว่า 30 ปี ในการปรับปรุงระบบจนสามารถใช้งานได้ง่าย และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในที่สุด

📢 ประเทศญี่ปุ่นในอดีตมักจะมีแค่สามีที่ทำงานนอกบ้าน ส่วนภรรยาจะทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน สามีจึงนำระบบเทรด Ichimoku Cloud มาบอกต่อแก่ภรรยา เพื่อใช้เป็นช่องทางหาเงิน และด้วยการใช้งานที่ง่าย ทำให้ “อิชิโมกุได้รับความนิยมอย่างมาก” จึงมีอีกชื่อว่า “อินดิเคเตอร์แม่บ้านญี่ปุ่น” ต่อมาอิชิโมกุได้ถูกนำมาทำเป็นอินดิเคเตอร์ในปัจจุบัน

อิชิโมกุ (Ichimoku Cloud) บอกอะไรได้บ้าง?

  • ใช้เป็นแนวรับ-แนวต้าน
  • ใช้ดูแนวโน้ม
  • ใช้หาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

ข้อดี Ichimoku

  • ช่วยหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย
  • ช่วยให้เห็นทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาได้ชัดเจนขึ้น
  • สามารถใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้
  • สะท้อนสภาวะตลาดได้ดี
  • ใช้งานง่ายกว่าอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ
  • สามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นได้

ข้อเสีย Ichimoku

  • แม้ว่า Ichimoku จะดูเรียบง่าย แต่ก็มีองค์ประกอบหลายส่วน ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้
  • ไม่เหมาะกับการซื้อขายระยะสั้น
  • อาจให้สัญญาณที่ล่าช้าในบางครั้ง
  • ไม่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มได้ในระยะยาว

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีอยู่ 5 ส่วนหลัก ๆ ซึ่งในแต่ละส่วนจะบอกถึงสภาวะตลาดที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud

1. Tenkan Sen หรือ Conversion Line (เส้นสีแดง)

Tenkan-sen (Conversion Line) คือ ค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 9 วันที่ผ่านมา

2. Kijun Sen หรือ Base Line (เส้นสีน้ำเงิน)

Kijun Sen (Base Line) คือ ค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 26 วันที่ผ่านมา

3. Chikou Span หรือ Lagging Span (เส้นสีเขียว)

Chikou Span (Lagging Span) คือ เส้นราคาปิดที่ถูกเลื่อนย้อนกลับมา 26 วัน และบ่งบอกว่า Price Pattern กำลังเคลื่อนที่ในแนวโน้มใด

  • Chikou Span ปรับตัวขึ้นและอยู่ห่างจากกราฟมาก หมายความว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง (Uptrend)
  • Chikou Span ปรับตัวลงและอยู่ห่างจากกราฟมาก หมายความว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลงที่แข็งแกร่ง (Downtrend)
  • Chikou Span อยู่ติดกับกราฟ หมายความว่า ราคาอยู่ในแนวโน้ม Sideway

4. Up Kumo หรือ Senkou Span B (ก้อนเมฆสีน้ำตาล)

Up Kumo (Senkou Span B) คือ ก้อนเมฆที่บ่งบอกว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) และยิ่งก้อนเมฆมีความหนาแน่นมากเท่าไร จะยิ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาขึ้นมากเท่านั้น

5. Down Kumo หรือ Senkou Span A (ก้อนเมฆสีม่วง)

Down Kumo (Senkou Span A) คือ ก้อนเมฆที่บ่งบอกว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) และยิ่งก้อนเมฆมีความหนาแน่นมากเท่าไร จะยิ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาลงมากเท่านั้น

ตารางสรุปส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud

ส่วนประกอบ

ลักษณะ

ความหมาย

Tenkan Sen

(Conversion Line)

Tenkan Sen หรือ Conversion Line

ค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 9 วันที่ผ่านมา

Kijun Sen

(Base Line)

Kijun Sen หรือ Base Line

ค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 26 วันที่ผ่านมา

Chikou Span

(Lagging Span)

Chikou Span หรือ Lagging Span

ราคาปิดที่ถูกเลื่อนย้อนกลับมา 26 วัน และบ่งบอกว่า Price Pattern กำลังเคลื่อนที่ในแนวโน้มใด

Up Kumo

(Senkou Span B)

Up Kumo หรือ Senkou Span B

ก้อนเมฆที่บ่งบอกว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

Down Kumo

(Senkou Span A)

Down Kumo หรือ Senkou Span A

ก้อนเมฆที่บ่งบอกว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

หากใครกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex ที่มีต้นทุนการเทรดต่ำและน่าเชื่อถือ คุณอาจเริ่มเปิดบัญชีกับ IUX เนื่องจากมีค่า Spread เริ่มต้นเพียง 0.0 pips และคุณสามารถเทรดแบบไร้คอมมิชชัน รวมถึงฟรีสวอปได้ง่าย ๆ โดยไม่มีเงื่อนไข นอกจากนี้ ทางโบรกยังแจกโบนัสเทรดฟรี $30 และมีโปรโมชันอื่น ๆ อีกมากมายครับ

👉 อ่านรีวิว IUX ฉบับเต็ม

👉 เปิดบัญชี IUX รับโบนัส $30 ฟรี!

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

การตั้งค่า Ichimoku Cloud ที่ดีที่สุด คือ ใช้ค่าดั้งเดิมที่อินดิเคเตอร์กำหนดไว้ครับ

การตั้งค่า Ichimoku Cloud

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

  1. Log In เข้าใช้ใน MetaTrader
  2. เลือกสินทรัพย์ที่คุณต้องการเทรด
  3. คลิกที่ “อินดิเคเตอร์”
  4. จากนั้นเลือก “Trend”
  5. กดเลือก “Ichimoku Kinko Hyo”
การเลือกใช้ Ichimoku Kinko Hyo ใน MetaTrader

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

การใช้อินดิเคเตอร์อิชิโมกุอาจจะดูยากไปสักนิดสำหรับมือใหม่ เนื่องจากมีส่วนประกอบหลายอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนในการวิเคราะห์ได้ เราจึงได้ทำสรุปออกมา ดังนี้

1. Buy Signal: เคล็ดลับการเทรดด้วย Ichimoku Cloud

ในการเปิดออเดอร์ Buy จากสัญญาณของอิชิโมกุ จำเป็นต้องตรวจสอบสัญญาณ ดังนี้

  • Tenkan Sen ตัด Kijun Sen ขึ้นไป
  • Price ตัด Kijun Sen ขึ้นไป
  • เกิดก้อนเมฆ Up Kumo (Senkou Span B)
  • Chikou Span ปรับตัวขึ้นสูงกว่า Price และอยู่ห่างจาก Price

Buy Signal: เคล็ดลับการเทรดด้วย Ichimoku Cloud

*หมายเหตุ: ควรเปิดออเดอร์หลัง Price มีการ Retest แล้วไม่สามารถทะลุลงผ่านเส้น Tenkan Sen (Conversion Line) ไปได้ และไม่ควรเปิดออเดอร์ในขณะที่ Price มีการเคลื่อนที่ใน Cloud ทั้งนี้ คุณควรตั้ง TP และ SL ทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา

2. Sell Signal: เคล็ดลับการเทรดด้วย Ichimoku Cloud

ในการเปิดออเดอร์ Sell จากสัญญาณของอิชิโมกุ จำเป็นต้องตรวจสอบสัญญาณ ดังนี้

  • Tenkan Sen ตัด Kijun Sen ลงมา
  • Price ตัด Kijun Sen ลงมา
  • เกิดก้อนเมฆ Down Kumo (Senkou Span A)
  • Chikou Span ปรับตัวลงต่ำกว่า Price และอยู่ห่างจาก Price

Sell Signal: เคล็ดลับการเทรดด้วย Ichimoku Cloud

*หมายเหตุ: ควรเปิดออเดอร์หลัง Price มีการ Retest แล้วไม่สามารถทะลุขึ้นผ่านเส้น Tenkan Sen (Conversion Line) ไปได้ และไม่ควรเปิดออเดอร์ในขณะที่ Price มีการเคลื่อนที่ใน Cloud ทั้งนี้ คุณควรตั้ง TP และ SL ทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา

ตารางสรุปสัญญาณเทรดจาก Ichimoku Cloud

Signal

วิธียืนยันสัญญาณ

Buy Signal

1. Tenkan Sen ตัด Kijun Sen ขึ้นไป
2. Price ตัด Kijun Sen ขึ้นไป
3. เกิดก้อนเมฆ Up Kumo (Senkou Span B)
4. Chikou Span ปรับตัวขึ้นสูงกว่า Price และอยู่ห่างจาก Price

Sell Signal

1. Tenkan Sen ตัด Kijun Sen ลงมา
2. Price ตัด Kijun Sen ลงมา
3. เกิดก้อนเมฆ Down Kumo (Senkou Span A)
4. Chikou Span ปรับตัวลงต่ำกว่า Price และอยู่ห่างจาก Price

📢 คุณควรใช้อินดิเคเตอร์อิชิโมกุร่วมกับอินดิเคเตอร์พื้นฐานหรือเทคนิคการเทรดตัวอื่น ๆ เพื่อยืนยันสัญญาณให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น และเทรดเดอร์ที่ดีไม่ควรตัดสินใจเปิดออเดอร์ด้วยสัญญาณเทรดจากอินดิเคเตอร์เพียงตัวเดียวครับ

. . . . . . . . . . . . . . . 🐶 . . . . . . . . . . . . . . .

Ichimoku คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูแนวโน้มในตลาดเป็นหลัก พร้อมทั้งยังสามารถเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ในตัว โดยอินดิเคเตอร์ตัวนี้มีลักษณะคล้ายก้อนเมฆ (Cloud) และมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีชื่อเรียกที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Ichimoku Cloud, Ichimoku Kinko Hyo, อินดิเคเตอร์แม่บ้านญี่ปุ่น รวมถึงอินดิเคเตอร์เมฆเงินเมฆทอง

นอกจากนี้ อิชิโมกุมีการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย แต่หากคุณเป็นเทรดเดอร์มือใหม่อาจลายตาเล็กน้อยครับ เนื่องจากอิชิโมกุมีส่วนประกอบหลายอย่าง และทุกส่วนล้วนมีความสำคัญในการดูสัญญาณเข้าเทรด

อย่างไรก็ตาม อิชิโมกุยังไม่มีความแม่นยำพอสำหรับการเทรดระยะยาว ดังนั้น คุณควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่น และเทคนิคการเทรดต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สัญญาณเทรดของคุณแม่นยำมากยิ่งขึ้น

*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น และการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

🔻หากใครต้องการศึกษาอินดิเคเตอร์ใหม่ ๆ Traderbobo ได้รวบรวมไว้ข้างล่างนี้

1. Parabolic Sar อินดิเคเตอร์ “จุดไข่ปลาผู้แสวงกำไร”

  • อินดิเคเตอร์ที่มีลักษณะเหมือนจุดไข่ปลา แต่มีการใช้งานที่ง่ายและดูไม่ยากเท่าอิชิโมกุ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์สารพัด ซึ่งในบทความมีการอธิบายวิธีใช้ไว้อย่างละเอียดครับ (คลิกอ่านบทความเต็ม)

2. The Next Pivot อินดิเคเตอร์ “สายกาวผู้รู้อนาคต”

  • อินดิเคเตอร์ที่บอกทิศทางราคาในอนาคตได้แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งในบทความจะบอกถึงวิธีใช้ พร้อมนำเสนอผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมาย (คลิกอ่านบทความเต็ม)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Ichimoku Cloud

1. Ichimoku (เมฆเงินเมฆทอง) คืออะไร?

Ichimoku คือ อินดิเคเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายก้อนเมฆ และมีวิธีใช้งานที่ง่าย โดยสามารถดูได้ทั้งแนวโน้ม, สัญญาณเข้าซื้อขาย และเป็นแนวรับ-แนวต้านไปในตัว

2. อินดิเคเตอร์ Ichimoku Cloud (Ichimoku Kinko Hyo) ใช้ยังไง?

อินดิเคเตอร์ Ichimoku Cloud ใช้เป็นแนวรับ-แนวต้าน, ใช้ดูแนวโน้ม และใช้หาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย

3. Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไงดี?

การตั้งค่า Ichimoku Cloud แนะนำให้ใช้ค่าดั้งเดิมครับ เนื่องจากมีการคำนวณมาอย่างดีแล้ว

4. เคล็ดลับการเทรดด้วย Ichimoku Cloud

เคล็ดลับการเทรดด้วย Ichimoku Cloud จำเป็นต้องดูสัญญาณจากส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

  • การ Crossover ของ Tenkan Sen และ Kijun Sen
  • การ Crossover ของ Price และ Kijun Sen
  • การเกิด Up Kumo และ Down Kumo
  • การปรับตัวขึ้นและลงของ Chikou Span


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense

Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense