วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อ ‘ ความมั่นคงทางอาหาร ‘

Table of Contents

ความมั่นคงทางอาหาร สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมไปถึงการคว่ำบาตรต่าง ๆ ได้สร้างผลกระทบต่อหลายภาคส่วน ซึ่งที่เห็นอย่างชัดเจน คือ ราคาพลังงาน แต่ ณ ตอนนี้ ผลกระทบเริ่มลุกลามไปถึงอุตสาหกรรมอาหาร ที่สำคัญไปกว่านั้น หลายประเทศกำลังเผชิญกับภาวะอดอยาก และขาดแคลนอาหารอีกด้วย อย่างที่ทราบกันดีว่า รัสเซียถูกคว่ำบาตรอย่างหนัก รวมไปถึงการสั่งห้ามค้าขายกับบางประเทศ แต่การค้าขายนั้นมีอยู่ 2 ฝั่ง คือ ผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้น ก็จะมีประเทศที่ซื้อไม่ได้ และประเทศที่ขายไม่ได้

รัสเซียและยูเครน เป็นประเทศที่ผลิตข้าวสาลี และข้าวโพด อันดับต้น ๆ ของโลก และในช่วงภาวะสงคราม ทำให้การเก็บเกี่ยว และการทำการเกษตรติดขัด จึงทำให้รัสเซียระงับการส่งออกข้าวสาลี และอย่างที่ทราบกันดีว่า หลายประเทศกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ราคาสินค้า และค่าครองชีพในประเทศสูงขึ้น ซึ่งรัสเซียก็เป็นหนึ่งในนั้น มิหนำซ้ำยังโดนคว่ำบาตรอย่างหนัก ดังนั้น เงินเฟ้อจึงมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ รัสเซียจึงมีโอกาสที่จะกักตุนวัตถุดิบ เพื่อทำให้ราคาสินค้าและค่าครองชีพในประเทศต่ำลง

หากดูจากสถิติ จะเห็นว่า รัสเซียและยูเครนมีการส่งออกข้าวสาลีในปริมาณสูงให้กับหลายประเทศ แต่ประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อียิปต์ เนื่องจากมีการนำเข้าข้าวสาลีจากรัสเซียถึง 50% และมีการนำเข้าจากยูเครนในจำนวนไม่น้อยเช่นกัน การที่รัสเซียและยูเครนเริ่มกักตุนของต่าง ๆ จะทำให้ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าเดือดร้อน โดยล่าสุด อียิปปต์มีการสั่งห้ามส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร ได้แก่ ข้าวสาลี แป้ง และถั่วฝักยาว แล้วเช่นกัน

แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤตสงคราม และที่น่ากลัวไปกว่านั้น อาจส่งผลกระทบออกเป็นวงกว้างเกี่ยวกับ ความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากอาหารมีความเชื่อมโยงกัน และหลายประเทศเริ่มมีการกักตุนวัตถุดิบเป็นลูกโซ่ เช่น ประเทศโมร็อกโก สั่งลดการส่งออกมะเขือเทศให้กับยุโรป และอาเจนตินา ที่มีการขึ้นภาษีเกี่ยวกับการส่งออกน้ำมัน แป้งสาลี และเนื้อวัว สื่อถึงการกักตุนวัตถุดิบส่งออกสำคัญของประเทศ เพื่อทำให้ราคาต่ำลง หรือเป็นการป้องกันเงินเฟ้อทางอ้อมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการกักตุนวัตถุดิบ และการระงับการส่งออก จะเป็นการบีบให้ประเทศที่แสดงความเป็นกลางต้องเลือกฝั่ง ตัวอย่างเช่น ประเทศที่ให้การสนับสนุนรัสเซียจะสามารถเข้าถึงน้ำมัน แหล่งพลังงาน และวัตถุดิบอาหารได้ในราคาต่ำลง อีกทั้ง ดัชนี Food Price (ดัชนีที่ติดตามราคาสินค้าอาหาร) ได้ทำ All Time High เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน เราคงต้องรอติดตามกันต่อไปว่า สถานการณ์เกี่ยวกับอาหารจะเป็นเช่นไร และรัสเซีย-ยูเครนจะยอมยุติสงครามหรือไม่ หากผลกระทบขยายวงกว้างมากขึ้น

อ้างอิง : Aljazeera และ Bloomberg

Social Share
Facebook
Twitter