War Crisis : วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

Table of Contents
วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เเละเเนวโน้มการขึ้น 'อัตราดอกเบี้ย'

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และการขึ้นดอกเบี้ยของ FED หากเกิดขึ้นพร้อมกับจะทำให้ตลาดลงทุนผันผวนอย่างมาก เป็นผลมาจากผลตอบแทนในสินทรัพย์เสี่ยงลดลง

ก่อนหน้านี้ ตลาดการเงินมีความวิตกกังวลกับการขึ้น ‘อัตราดอกเบี้ย’ ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) แต่ ณ ปัจจุบัน มีอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่เข้ามาสร้างความปั่นป่วนเพิ่มขึ้นคือ วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน (สาเหตุ) ซึ่งตอนนี้รัสเซียได้ส่งกองกำลังส่วนหนึ่งเข้าล้ำพื้นที่บางส่วนในยูเครนแล้ว สถานการณ์นี้สร้างความกังวลไปยังทั่วโลก โดยเฉพาะมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯ ชาติยุโรป และองค์การ NATO

ก่อนอื่นคงต้องมองออกเป็น 2 เหตุการณ์ คือ การขึ้น ‘อัตราดอกเบี้ย’ ของ FED ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ตลาดสามารถคาดการณ์ และรับรู้ได้มาโดยตลอด เหตุการณ์ที่สอง คือ วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เป็นประเด็นที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ หรือคาดการณ์ได้เลยว่า เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งการที่ 2 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกันทำให้ตลาดการเงินผันผวนเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ที่สำคัญสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ณ ตอนนี้ เป็นขั้นที่มีความตึงเครียดค่อนข้างสูง ล่าสุดประธานาธิบดี แถลงการณ์ว่า หลังจากสั่งการให้กองกำลังบุกเข้าพื้นที่บางแห่งในยูเครนแล้ว ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป

การตัดสินใจของประธานาธิบดีรัสเซียในครั้งนี้ ทำให้ชาติตะวันตกตัดสินใจคว่ำบาตรรัสเซีย โดยมุ่งไปที่ตลาดการเงิน ทำให้รัสเซียเริ่มได้รับผลกระทบผ่านค่าเงินที่อ่อนลงอย่างมาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ที่สำคัญราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันดิบมีอัตราเร่งตัวสูง ล่าสุดเฉียดทะลุ 100 ดอลลาร์/บาเรนแล้ว แน่นอนว่า การที่ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นจะต้องเกี่ยวข้องกับ ‘เงินเฟ้อ’

นักวิเคราะห์มองว่า ด้านของ FED ที่ได้ส่งสัญญาณมาระยะหนึ่งแล้วว่า จะมีการขึ้นดอกเบี้ยจะยังคงมาตรการเดิมไว้ โดยจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในเดือน มี.ค. ที่ 0.5% เนื่องจากเป็นครึ่งแรกของปี และหากครึ่งปีหลังเศรษฐกิจได้รับแรงกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน มากยิ่งขึ้น FED ค่อยเริ่มผ่อนความรุนแรงในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วงนั้นก็ย่อมได้ ที่สำคัญผลกระทบหลังการที่รัสเซียบุกยูเครนกว่าจะกระทบถึงสหรัฐฯ คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน และ FED ต้องตัดสินใจที่จะรักษาเศรษฐกิจในประเทศตนเองไว้ก่อน

สำหรับด้านของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก่อนหน้านี้ได้แถลงมาตรการชัดเจนว่า จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี และตลาดมีการรับรู้ (Priced in) ถ้าหากว่า เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนี้อย่างรุนแรง ก็สามารถปรับเปลี่ยนมาตรการใหม่ได้ แต่สิ่งที่แน่นอนคือ ดอกเบี้ยยังจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกนาน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น และความไม่แน่นอนด้านการเมือง จะทำให้ผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยงมีแนวโน้มชะลอตัวลง และมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การลงทุนในตอนนี้ควรลงทุนลักษณะ Selective buy และสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นหลัก แต่แนะนำเป็นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากยังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวได้


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense