TP SL คืออะไร? วิธีการตั้ง Take Profit และ Stop Loss

Table of Contents
TP SL คืออะไร? วิธีการตั้ง Take Profit และ Stop Loss

. . . . . . . . . . . . . .

ตลาด Forex เป็นตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสในการทำกำไรและความเสี่ยงขาดทุน หากไม่มีการวางแผนที่ดี เทรดเดอร์อาจพลาดเป้าหมายทำกำไรหรืออาจขาดทุนหนักจนพอร์ตแตก นี่จึงเป็นเหตุผลที่คำสั่ง Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) มีความสำคัญ เพราะจะช่วยกำหนดจุดปิดออเดอร์อัตโนมัติ เพื่อควบคุมความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น

. . . . . . . . . . . . . .

Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) คือ การตั้งระดับราคาสำหรับคำสั่งซื้อขาย เพื่อให้การซื้อขายปิดอัตโนมัติเมื่อได้กำไรตามเป้าหมายหรือเพื่อลดโอกาสการขาดทุนให้น้อยที่สุด

Take Profit (TP) คืออะไร?

Take Profit (TP) หรือจุดทำกำไร คือ คำสั่งที่ตั้งระดับราคาที่ต้องการทำกำไร เพื่อปิดการซื้อขายอัตโนมัติ หากราคาตลาดไม่ถึงระดับราคาที่ตั้งไว้ คำสั่งจะไม่ถูกดำเนินการ โดยตั้งเพื่อให้ทำกำไรได้ตามต้องการโดยไม่ต้องติดตามราคาตลาดตลอดเวลา

Stop Loss (SL) คืออะไร?

Stop Loss (SL) หรือจุดตัดขาดทุน คือ คำสั่งที่ตั้งระดับราคาสำหรับตัดขาดทุน เพื่อปิดการซื้อขายอัตโนมัติ หากราคาตลาดไม่ถึงระดับราคาที่ตั้งไว้ คำสั่งจะไม่ถูกดำเนินการ โดยตั้งเพื่อจำกัดการขาดทุนและลดความเสี่ยงในการโดนล้างพอร์ต

การตั้ง Stop Loss (SL) และ Take Profit (TP) มีความสำคัญในตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูง โดย SL ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุน ส่วน TP ช่วยล็อคกำไรก่อนที่ราคาจะกลับตัว หากนักลงทุนไม่ตั้งจุด SL และ TP การลงทุนอาจขาดเสถียรภาพ แม้พอร์ตจะมีโอกาสทำกำไรสูง แต่หากตลาดไม่เป็นไปตามที่คาด พอร์ตอาจขาดทุนจนถึงขั้นล้างพอร์ตได้ ดังนั้น การใช้ SL และ TP จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงและรักษาเสถียรภาพในการลงทุน

ข้อดี

ข้อเสีย

Take Profit (TP)

▪ ได้กำไรตามที่คาดหวัง

▪ ป้องกันการซื้อขายที่เกิดจากอารมณ์และการตัดสินใจอย่างเร่งรีบ

▪ ไม่ต้องเฝ้าดูราคาตลอดเวลา เพื่อปิดการซื้อขายเอง
▪ ลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาที่รวดเร็ว ช่วยให้ปิดการซื้อขายได้ทัน

▪ อาจไม่ได้กำไรสูงสุด เนื่องจากราคาอาจจะยังมีโอกาสวิ่งขึ้นไปได้อีก เมื่อถึงจุดที่กำหนดไว้

▪ มีโอกาสที่จะไม่ได้กำไรหากราคาไม่ถึงจุดที่กำหนด TP และอาจกลับตัวไปที่ SL การตั้งกำไรสูงอาจไม่ถึงเป้าหมาย แต่หากตั้งจุดใกล้เกินไปอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

Stop Loss (SL)

▪ จำกัดการขาดทุน

▪ ลดโอกาสการล้างพอร์ต
▪ ช่วยให้จัดสรรเงินลงทุนในพอร์ตได้อย่างเหมาะสม
▪ ป้องกันการซื้อขายที่เกิดจากอารมณ์และการตัดสินใจอย่างเร่งรีบ

▪ ราคามีความผันผวนสูง อาจลงไปถึงจุด SL เพียงชั่วครู่แล้วกลับขึ้นไปที่จุดเดิม

▪ การตั้ง SL ใกล้จุดเข้าซื้อมากเกินไปอาจทำให้ถูกตัดขาดทุนได้ง่าย และไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

การตั้งหรือกำหนดจุด TP และ SL เป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรและจัดการความเสี่ยงขาดทุนที่มากเกินกำหนด โดยวิธีการตั้งหรือกำหนดจุดอาจแตกต่างกันไปตามสไตล์ของนักลงทุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในกำไรและการขาดทุนที่สามารถยอมรับได้ โดยพี่โบ้ขอแนะนำวิธีการตั้ง TP และ SL ที่นักลงทุนมักใช้กัน ดังต่อไปนี้ครับ

วิธีตั้งจุด Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) แบบตายตัว

คำนวณจากการเคลื่อนไหวของ Pip

นักลงทุนสามารถตั้ง TP และ SL ด้วยการคำนวณจากการเคลื่อนไหวของ Pip
ตัวอย่างเช่น เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) คู่เงิน GBPUSD ที่ราคา 1.2500 ถ้านักลงทุนต้องการตั้ง SL ห่างจากราคาปัจจุบัน 50 pips
คำนวณการตั้ง SL โดยการเพิ่ม 50 pips ไปที่ราคาเปิด: ราคาปิด SL = 1.2500 + 0.0050 (50 pips) = 1.2550
หากราคาขึ้นไปถึง 1.2550 จะถูกปิดการซื้อขายอัตโนมัติ ซึ่งจำกัดการขาดทุนไว้ที่ 50 pips

คำนวณจากเปอร์เซ็นต์จากเงินทุนในพอร์ต 

นักลงทุนสามารถตั้ง TP และ SL ด้วยการใช้เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนในพอร์ตเป็นการทำกำไรและจำกัดการขาดทุน 
ตัวอย่างเช่น นักลงทุนมีทุนในการเทรด $500 นักลงทุนต้องการกำไรที่ 20% แสดงว่านักลงทุนจะได้รับกำไรในการเทรดครั้งนี้อยู่ที่ $100 ครับ

. . . . . . . . . . . . .

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้แนวรับแนวต้าน

แนวรับและแนวต้าน คือ จุดที่ราคาไปถึงแล้วกลับตัว แต่หากราคาผ่านไปได้แปลว่าแนวโน้มของราคามีการเปลี่ยนแปลง แนวรับและแนวต้านจึงเป็นจุดที่เหมาะสมในการตั้ง TP และ SL ครับ

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้แนวรับแนวต้าน

🔻บทความที่เกี่ยวข้อง: แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? 3 วิธีการหาแบบ Basic แต่ทรงพลัง!

. . . . . . . . . . . . .

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ Indicator

วิธีการตั้งหรือกำหนดจุด TP และ SL สามารถใช้ Indicator ต่าง ๆ ในการช่วยหาจุดเข้าได้ ซึ่ง Indicator หลัก ๆ ที่นิยมใช้กัน คือ Stochastic Oscillator, MACD, RSI, Moving Average (MA) และ Bollinger Bands 

1. Stochastic Oscillator

Stochastic Oscillator (STO) เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้บอกโมเมนตัม โดยการเปรียบเทียบราคาปัจจุบันกับช่วงราคาในระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่ STO จะถูกนำไปใช้บอกช่วงความถูกแพงของราคา ซึ่งสามารถนำมาหาจุดตั้งของ TP และ SL ได้ครับ

หาจุด Take Profit (TP) 
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) ควรตั้งจุด TP เมื่อเส้น Stochastic อยู่ในโซน Overbought (ซื้อมากเกินไป) ระดับ 80 ขึ้นไป เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าราคามีโอกาสที่จะปรับตัวลง
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) ควรตั้งจุด TP เมื่อเส้น Stochastic อยู่ในโซน Oversold (ขายมากเกินไป) ระดับ 20 ลงไป เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าราคามีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้น
หาจุด Stop Loss (SL)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) ควรตั้งจุด SL เมื่อราคาต่ำกว่าแนวรับเล็กน้อยและเส้น Stochastic อยู่ในโซน Oversold (ขายมากเกินไป) โดยที่เทรดเดอร์พิจารณาแล้วว่าราคาไม่มีแนวโน้มจะกลับตัวขึ้น
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position)  ควรตั้งจุด SL เมื่อราคาสูงกว่าแนวต้านเล็กน้อยและเส้น Stochastic อยู่ในโซน Overbought (ซื้อมากเกินไป) โดยที่เทรดเดอร์พิจารณาแล้วว่าราคาไม่มีแนวโน้มจะกลับตัวลง

การตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss ควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ Stochastic Oscillator

🔻บทความที่เกี่ยวข้อง: Stochastic คืออะไร? Oscillator Indicator “ลูกรัก” สายเทรดสั้น

. . . . . . . . . . . . .

2. MACD (Moving Average Convergence Divergence)

MACD คือ ตัวชี้วัดที่แสดงระยะห่างระหว่างเส้น MA 2 เส้น โดยใช้การเคลื่อนที่ของ MACD และ Signal Line เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของราคาครับ

หาจุด Take Profit (TP) 
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) ควรตั้งจุด TP ใกล้แนวต้าน เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) ควรตั้งจุด TP ใกล้แนวรับ เมื่อเส้น MACD ตัดลงต่ำกว่าเส้น Signal
หาจุด Stop Loss (SL)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) ควรตั้งจุด SL ใกล้แนวรับ เมื่อเส้น MACD ตัดลงต่ำกว่าเส้น Signal
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) ควรตั้งจุด SL ใกล้แนวต้าน เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal

การตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss ควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ MACD

🔻บทความที่เกี่ยวข้อง: MACD คืออะไร ? เจาะลึก MACD Indicator สุดยอดนักทำนายแนวโน้ม

. . . . . . . . . . . . .

3. RSI (Relative Strength Index)

เป็นเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิคใช้บอกโมเมนตัม ใช้สำหรับวัดการแกว่งตัวของราคา ซึ่งช่วยระบุถึงการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือการขายมากเกินไป (Oversold) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-100

หาจุด Take Profit (TP) 
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เมื่อ RSI อยู่ในโซน Oversold (<30) เทรดเดอร์ควรตั้ง TP ใกล้แนวต้าน
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เมื่อ RSI อยู่ในโซน Overbought (>70) เทรดเดอร์ควรตั้ง TP ใกล้แนวรับ
หาจุด Stop Loss (SL)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เมื่อ RSI อยู่ในโซน Oversold (<30) เทรดเดอร์ควรตั้ง SL ใกล้แนวรับ
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เมื่อ RSI อยู่ในโซน Overbought (>70) เทรดเดอร์ควรตั้ง SL ใกล้แนวต้าน

การตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss ควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ RSI

🔻บทความที่เกี่ยวข้อง: RSI คืออะไร? ใช้ยังไง? Indicator ประจำบ้านนักเทรด

. . . . . . . . . . . . .

4. Moving Average (MA)

MA คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์ราคา โดยการนำข้อมูลย้อนหลังมาคำนวณค่าเฉลี่ยของราคา ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่มักตั้งเส้น MA 3 เส้น เช่น MA 7, MA 25 และ MA 100

หาจุด Take Profit (TP) 

หากใช้ MA แบบ Cross (เช่น MA 7, MA25, MA100)

  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เมื่อราคาอยู่เหนือเส้น MA ระยะสั้น (MA 7) เทรดเดอร์ควรตั้งจุด TP ที่เส้น MA ระยะยาว (MA 100)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เมื่อราคาต่ำกว่าเส้น MA ระยะสั้น (MA 7) เทรดเดอร์ควรตั้งจุด TP ที่เส้น MA ระยะยาว (MA 100)
หาจุด Stop Loss (SL)

หากใช้ MA แบบ Cross (เช่น MA 7, MA25, MA100)

  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เมื่อราคาอยู่เหนือเส้น MA ระยะสั้น (MA 7) เทรดเดอร์ควรตั้งจุด SL ใต้เส้น MA ระยะสั้น (MA 7)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เมื่อราคาต่ำกว่าเส้น MA ระยะสั้น (MA 7) เทรดเดอร์ควรตั้งจุด SL เหนือเส้น MA ระยะสั้น (MA 7)

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ MA

🔻บทความที่เกี่ยวข้อง: Moving Average (MA) คืออะไร? Indicator พื้นฐานที่ต้องรู้

. . . . . . . . . . . . .

5. Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ความผันผวนของตลาดและแนวโน้มราคา โดยประกอบด้วย 3 เส้นหลัก ได้แก่ Upper Band, Middle Band (SMA) และ Lower Band ซึ่งช่วยแสดงกรอบความผันผวนของตลาดครับ

หาจุด Take Profit (TP)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เมื่อราคาเหนือเส้น Middle Band และมุ่งหน้าไปเส้น Upper Band เทรดเดอร์ควรตั้งจุด TP ใกล้เส้น Upper Band หรือเหนือราคาสูงสุดก่อนหน้า
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เมื่อราคาต่ำกว่าเส้น Middle Band และมุ่งหน้าไปเส้น Lower Band เทรดเดอร์ควรตั้งจุด TP ใกล้เส้น Lower Band หรือ ใต้ราคาต่ำสุดก่อนหน้า
หาจุด Stop Loss (SL)
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เมื่อราคาเหนือเส้น Middle Band และมุ่งหน้าไปเส้น Upper Band เทรดเดอร์ตั้งจุด SL ต่ำกว่าหรือใกล้เส้น Lower Band
  • หากเทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เมื่อราคาต่ำกว่าเส้น Middle Band และมุ่งหน้าไปเส้น Lower Band เทรดเดอร์ตั้งจุด SL สูงกว่าหรือใกล้เส้น Upper Band

การตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss ควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ Bollinger Bands

🔻บทความที่เกี่ยวข้อง: Bollinger Band (BB) คืออะไร ? Indicator ใช้ง่าย แต่ประโยชน์มาก

. . . . . . . . . . . . .

6. การผสมผสาน (Combination)

ในการเทรด สามารถใช้ Indicator หลากหลายตัวร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • Stochastic ร่วมกับ RSI ใช้กรองสัญญาณ Overbought/ Oversold เพื่อลดการเข้าเทรดผิดจังหวะ
  • MACD ร่วมกับ MA ใช้หาจุดตัด (Crossover) เพื่อระบุจุดเข้า/ ออกตลาด
  • Bollinger Bands ร่วมกับ RSI ใช้หาจุดกลับตัว (Reversal) และยืนยันการ Breakout

การตั้งจุด Take profit (TP) และ Stop loss (SL) โดยใช้ Bollinger Bands ร่วมกับ RSI

. . . . . . . . . . . . .

Cut Loss คืออะไร?

การขายสินทรัพย์หลักจากขาดทุน เพื่อป้องกันการขาดทุนที่มากขึ้น

Cut Loss ต่างกับ Stop Loss ต่างกันยังไง?

Stop Loss (SL) คือการขายสินทรัพย์เมื่อกำไรลดลงถึงจุดที่กำหนดไว้ ส่วน Cut Loss คือการขายสินทรัพย์หลังจากขาดทุน เพื่อป้องกันการขาดทุนที่มากขึ้น

Take Profit (TP) กับ Stop Loss (SL) ต่างกันอย่างไร?

Take Profit คือการปิดการลงทุนเพื่อรับผลกำไร ขณะที่ Stop Loss คือการปิดการลงทุนเพื่อหยุดการขาดทุนที่อาจเพิ่มขึ้น

. . . . . . . . . . . . .

Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) คือ คำสั่งที่ช่วยในการป้องกันความเสี่ยงของการลงทุนได้ โดย SL ใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนและ TP ใช้เพื่อช่วยล็อกกำไรก่อนราคาจะลดลง ซึ่งการใช้คำสั่งเหล่านี้ อาจทำให้พลาดโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้น แต่หากไม่ใช้เลยก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการล้างพอร์ตได้ครับ

การใช้คำสั่ง TP และ SL ไม่ได้ช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ทั้งหมดครับ ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาความรู้และเทคนิคในการลงทุนอื่น ๆ มาใช้ร่วมด้วย เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ

*หมายเหตุ: การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น


อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม: สาระน่ารู้

พูดคุยและติดตาม Real Time: Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
Picture of Traderbobo
Traderbobo

นักลงทุนในตลาด Forex และสินทรัพย์ทางการเงินด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย พร้อมแบ่งปันความรู้และกลยุทธ์การเทรด เพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในโลกการเงิน เหมาะสำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และมืออาชีพ

บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense