ผลกระทบ จาก ‘วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน’ ต่อเศรษฐกิจโลก

Table of Contents
ผลกระทบ จาก ‘วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน’ ต่อเศรษฐกิจโลก

ผลกระทบจาก ‘วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน’ ต่อเศรษฐกิจโลก

สืบเนื่องมาจากความตึงเครียดของวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับช่วงเงินเฟ้อโลกกำลังอยู่ในภาวะขาขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ อีกทั้ง สถานการณ์ตอนนี้ ประธานาธิบดีปูติน ผู้นำจากรัสเซียได้สั่งให้กองกำลังเข้าตรึงพื้นที่บางแห่งในยูเครนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดการลงทุนต่างผันผวน โดยดัชนี Dow Jones ร่วงลงกว่า -500 จุด ด้าน Nasdaq Futures ร่วง -2% และ Bitcoin ร่วงหลุด $37,000 เหรียญ ณ ขณะนั้น สร้างความกังวลแก่นักลงทุนเป็นอย่างมากว่า หากปล่อยให้เหตุการณ์บานปลายต่อไป เศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร

นักวิเคราะห์มองว่า ผลกระทบ จาก วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน อาจเกิดในระยะสั้นตามขอบเขตของสงคราม เช่น รัสเซียบุกยูเครนทั้งประเทศ หรือบุกเฉพาะเมืองหลวง และทางตะวันออก นอกจากนั้น ปัจจัยที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ ความยืดเยื้อ หมายความได้ว่า หากรัสเซียยิ่งบุกพื้นที่ใหญ่ และใช้เวลานาน ผลกระทบก็จะยิ่งเกิดเป็นวงกว้าง


ประเด็นแรก คือ ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

มีการคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันอาจพุ่งทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และหากสหรัฐฯ ตัดสินใจคว่ำบาตรรัสเซีย รัสเซียอาจปิดท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศในยุโรปเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากก๊าซธรรมชาติของรัสเซียคิดเป็น 1 ใน 3 ของก๊าซที่ใช้ทั้งหมดในยุโรป

ประเด็นต่อมา คือ วัตถุดิบที่เป็นโลหะมีค่าจะขาดแคลน

วัตถุดิบที่เป็นโลหะมีค่า ซึ่งเสี่ยงที่จะขาดแคลน เช่น พาราเดียม แพลทินัม อะลูมิเนียม ทองแดง นิเกิล และเหล็ก เนื่องจากมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากรัสเซีย และจะส่งผลให้มีราคาเพิ่มสูงขึ้น

ประเด็นสุดท้าย คือ เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ เป็นผลที่เชื่อมโยงมาจากสองประเด็นแรก การที่ราคาของต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้น และเริ่มเกิดการขาดแคลน จะส่งผลให้การค้าหยุดชะงัก ยิ่งหากเกิดในสถานการณ์ตอนนี้ที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดในรอบหลายปี จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงต่อเศรษฐกิจอย่างทวีคูณ และอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวเป็นขาขึ้นเพื่อสะกัดเงินเฟ้อ สิ่งนี้คงเป็นสิ่งที่นักลงทุนกังวลมากที่สุด เนื่องจากจะทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วน และนักลงทุนส่วนใหญ่จะหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ

อย่างไรก็ตาม หากสงครามครั้งนี้ไม่ยืดเยื้อ อาจส่ง ‘ผลกระทบ’ ต่อเศรษฐกิจโลกแค่ชั่วคราว โดยอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ 4% แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวิกฤตนี้ทำให้ตลาดการเงินอยู่ในภาวะตกใจ และได้เห็นถึงความกังวลของนักลงทุนเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับเราในตอนนี้ คือ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense