ทำเนียบขาว และชาติพันธมิตรตะวันตก รวมถึงฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สหรัฐฯ และแคนาดา แถลงการณ์ร่วมกันในช่วงเย็นของวันเสาร์ (26 ก.พ.) ตามเวลาท้องถิ่นว่า จะดำเนินการตัดธนาคารรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันว่า ธนาคารรัสเซียจะถูกตัดออกจากระบบการเงินสากล และจะส่งผลให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารประเทศอื่น ๆ ในระดับโลกได้ ย้อนกลับไปในปี 2557 หนึ่งประเทศที่เคยถูกตัดออกจากระบบ SWIFT แล้ว นั่นคือ อิหร่าน หลังจากมีการพัฒนาเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์
SWIFT ถูกสร้างขึ้นโดยธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ด้วยเหตุผลว่า ไม่ต้องการให้มีสถาบันเดียวพัฒนาระบบของตนเองและผูกขาด และปัจจุบันเครือข่ายนี้มีธนาคารและสถาบันการเงินมากกว่า 2,000 แห่ง เป็นเจ้าของร่วมกัน อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารกลางแห่งเบลเยียม โดยร่วมมือกับธนาคารกลางรายใหญ่ทั่วโลก รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางอังกฤษ
- วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
- ตลาดคริปโตฯ จะฟื้นตัวท่ามกลางวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน หรือไม่?
- รัสเซียใช้ Bitcoin เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก
- วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- รัสเซียซื้อทองคำมากที่สุดในรอบ 5 ปี ก่อนประกาศบุกยูเครน
- รัสเซียยื่นเงื่อนไขสงบศึกยูเครน
- วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร
- NFT และ Cryptocurrency มีบทบาทต่อวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน อย่างไร?
- ผลกระทบ จาก ‘วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน’ ต่อเศรษฐกิจโลก
การถอดรัสเซียออกจาก SWIFT จะส่งผลเสียต่อบริษัทที่จัดหาและซื้อสินค้าจากรัสเซีย โดยเฉพาะเยอรมนี เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ให้บริการน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของสหภาพยุโรป (EU) และการหาวัสดุทางเลือกอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น การดำเนินการใด ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะชะงักงันจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลทุกประเทศพยายามหลีกเลี่ยง
อย่างไรก็ตาม หลังจากประกาศคว่ำบาตรธนาคารรัสเซียด้วยการขับออกจาก SWIFT แล้ว บริษัทต่าง ๆ ที่รัสเซียเป็นหนี้จะต้องหาวิธีอื่นในการรับเงิน ซึ่งความเสี่ยงจากความวุ่นวายของธนาคารระหว่างประเทศ ทำให้อเล็กซี คูดริน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัสเซีย คาดการณ์ว่า อาจทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียหดตัว 5%
Source : BBC