วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

Table of Contents
วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

ประเด็นร้องแรงที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการลงทุน ตั้งแต่ราคาข้าวสาลี ราคาน้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์ ค่าเงิน รวมไปถึงตลาดหุ้นทั่วโลก คงหนีไม่พ้นในเรื่องของปมความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กำลังตึงเครียดที่สุดในรอบหลายปี เมื่อรัสเซียสั่งสมกำลังทหารกว่า 100,000 นาย ประชิดชายแดนยูเครน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 สถานการณ์นี้สร้างความกังวลไปทั่วโลก โดยเฉพาะมหาอำนาจตะวันตก อย่างสหรัฐฯ ชาติยุโรป และองค์การ NATO ที่กลัวว่า รัสเซียอาจเปิดฉากรุกรานดินแดนยูเครน จนกลายเป็นสงครามระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

หากกล่าวถึงปมความขัดแย้ง คงต้องย้อนกลับไปเมื่อก่อนปี 1991 ซึ่งยูเครนยังถือเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ก่อนจะมีการประกาศเอกราชของตนเอง แต่การกระทำในครั้งนี้ รัสเซียไม่ได้ยอมรับอย่างเต็มใจนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนของยูเครนที่ติดกับตะวันตกของรัสเซีย จึงทำให้เกิดการเซ็นสนธิสัญญาขึ้นมาในปี 2014 โดยมีเยอรมันและฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ แต่ ณ ตอนนั้น ทางรัสเซียได้กล่าวว่า ยูเครนไม่ทำตามเงื่อนไขตามสนธิสัญญา จึงทำให้เกิดการขัดแย้ง และแรงจูงใจในการเข้ายึดยูเครนขึ้นมา

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
พื้นที่สีเหลือ: เป็นของยูเครน
พื้นที่สีชมพู: เป็นของรัสเซีย
ที่มา: Siam.wiki

และอีกประเด็นที่ปฏิเสธไม่ได้ ในทางภูมิศาสตร์ ยูเครนถือว่า เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของรัสเซียที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศแถบยุโรปได้ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบน อากาศ หรือแม้กระทั่งท่อก๊าซ เนื่องจากเป็นบริเวณที่สามารถส่งออกไปยังทะเลดำ หรือ Black Sea ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งหากดูจากแผนที่ด้านล่างจะเห็นว่า ทะเลดำเป็นเส้นทางสำคัญในการส่งออกน้ำมัน เพื่อกระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ เช่น บัลแกเรีย และตุรกี จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ หากรัสเซียต้องการยึดยูเครนกลับมาครอบครองเช่นเดิม

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
ที่มา: Wikipedia

อีกทั้ง ทางเยอรมันได้เลื่อนการอนุมัติท่อก๊าซ Nord Stream2 ซึ่งเป็นโครงการที่ขนส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังเยอรมัน โดยไม่ผ่านพื้นที่ของยูเครน สาเหตุนี้ก็อีกหนึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้รัสเซียเข้ายึดยูเครน เนื่องจากรัสเซียจะได้เป็นเจ้าของท่อก๊าซในยูเครนโดยตรง

นอกจากนั้น บรรยากาศการเมืองในประเทศยูเครนที่กำลังตึงเครียด ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนในการยึดยูเครนครั้งนี้เช่นกัน เนื่องจากความนิยมของรัฐบาลภายใต้การดูแลของเซเลนสกี (ประธานาธิบดียูเครน) ถือว่าตกต่ำสุดขีด ส่งผลให้หากรัสเซียทำการยึดยูเครนเรียบร้อยแล้ว จะสามารถจัดการสถานการณ์ได้ไม่ยาก และที่สำคัญยังส่งเสริมให้ความนิยมของปูติน (ประธานาธิบดีรัสเซีย) สูงขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ครั้งนี้ ส่งผลให้นักลงทุนโยกย้ายเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง ทองคำ และน้ำมัน ทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาสูงสุดในรอบหลายปี อีกทั้ง ยังทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปี (Bond Yield) มีอัตราเร่งตัวขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นเดียวกัน ที่สำคัญปัจจัยเหล่านี้จะดันให้เงินเฟ้อทะยานสูงขึ้นกว่าเดิม และธนาคารกลางหลายประเทศคงต้องปรับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยใหม่ ดังนั้น โลกอาจเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ หากระงับความขัดแย้งนี้ไม่ได้


อ่านบทความเพิ่มเติม: สาระน่ารู้

วิเคราะห์ราคาทองคำรายวัน: วิเคราะห์ราคาทองคำ และ Facebook Page

Social Share
Facebook
Twitter
Picture of Traderbobo
Traderbobo

นักลงทุนในตลาด Forex และสินทรัพย์ทางการเงินด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย พร้อมแบ่งปันความรู้และกลยุทธ์การเทรด เพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในโลกการเงิน เหมาะสำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และมืออาชีพ

บทความน่าสนใจ
Adsense
Table of Contents
บทความน่าสนใจ
Adsense